"อ. นสพ. ดร.ธนพล หนองบัว" หรือ "อาจารย์เสือ" คือชื่อที่นักศึกษาเรียกกัน แต่สำหรับชาวบ้านจะเรียก "หมอเสือ" เป็นหมอรักษาสัตว์ใหญ่อย่างวัวกับควาย ซึ่งนอกจากจะมีงานสอนหนังสือเป็นงานหลักแล้ว ช่วงเวลาว่างเว้นจากการเรียนการสอน อาจารย์เสือมักจะพานิสิต นักศึกษาลงพื้นที่ไปดูแลรักษาสุขภาพวัวควายช่วยชาวบ้าน เช่น สัตว์ป่วย, มีลูกยาก, ผสมพันธุ์สัตว์ รวมถึงการให้องค์ความรู้เรื่องการดูแลรักษาสัตว์อย่างถูกวิธี ในพื้นที่มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ โดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ สำหรับคนที่ไม่มีเงิน หรือมีเงินน้อย
แต่สำหรับฟาร์มวัวควายขนาดกลางและขนาดใหญ่ จะเลือกเก็บเงินเต็มจำนวน สำหรับคนที่มีกำลังจ่าย ซึ่งอาจารย์เสือเองมีแนวทางการทำงานว่า “เก็บเงินคนรวย เพื่อมาช่วยเหลือคนจน” เพราะว่าวัวควายเหล่านี้ถือว่าเป็นเงินเก็บก้อนสุดท้ายของชาวบ้าน เนื่องจากรายได้จากการทำไร่ ทำนา แทบจะไม่เหลือกำไรเลย และหากสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ป่วย หรือตายไป เหมือนความหวังของชาวบ้านนั้นตายตามกันไปด้วย
ดังนั้น อาจารย์เสือต้องสร้างความสมดุลจากงานของตัวเองให้เกิดขึ้น เพื่อมีแรงในการเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้านให้ได้ ทั้งในบทบาทอาจารย์สอนหนังสือ, เจ้าของคลินิกรักษาสัตว์ และงานอาสา มาดูกันว่าภารกิจงานสัตวแพทย์อาสานี้เกิดขึ้นต่อเนื่องมาได้อย่างไร ? อะไรบ้างที่เป็นเรื่องท้าทายที่เกิดขึ้นระหว่างทางของการเป็นหมออาสา ?
ติดตามชมรายการสะเทือนไทย วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"อ. นสพ. ดร.ธนพล หนองบัว" หรือ "อาจารย์เสือ" คือชื่อที่นักศึกษาเรียกกัน แต่สำหรับชาวบ้านจะเรียก "หมอเสือ" เป็นหมอรักษาสัตว์ใหญ่อย่างวัวกับควาย ซึ่งนอกจากจะมีงานสอนหนังสือเป็นงานหลักแล้ว ช่วงเวลาว่างเว้นจากการเรียนการสอน อาจารย์เสือมักจะพานิสิต นักศึกษาลงพื้นที่ไปดูแลรักษาสุขภาพวัวควายช่วยชาวบ้าน เช่น สัตว์ป่วย, มีลูกยาก, ผสมพันธุ์สัตว์ รวมถึงการให้องค์ความรู้เรื่องการดูแลรักษาสัตว์อย่างถูกวิธี ในพื้นที่มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ โดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ สำหรับคนที่ไม่มีเงิน หรือมีเงินน้อย
แต่สำหรับฟาร์มวัวควายขนาดกลางและขนาดใหญ่ จะเลือกเก็บเงินเต็มจำนวน สำหรับคนที่มีกำลังจ่าย ซึ่งอาจารย์เสือเองมีแนวทางการทำงานว่า “เก็บเงินคนรวย เพื่อมาช่วยเหลือคนจน” เพราะว่าวัวควายเหล่านี้ถือว่าเป็นเงินเก็บก้อนสุดท้ายของชาวบ้าน เนื่องจากรายได้จากการทำไร่ ทำนา แทบจะไม่เหลือกำไรเลย และหากสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ป่วย หรือตายไป เหมือนความหวังของชาวบ้านนั้นตายตามกันไปด้วย
ดังนั้น อาจารย์เสือต้องสร้างความสมดุลจากงานของตัวเองให้เกิดขึ้น เพื่อมีแรงในการเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้านให้ได้ ทั้งในบทบาทอาจารย์สอนหนังสือ, เจ้าของคลินิกรักษาสัตว์ และงานอาสา มาดูกันว่าภารกิจงานสัตวแพทย์อาสานี้เกิดขึ้นต่อเนื่องมาได้อย่างไร ? อะไรบ้างที่เป็นเรื่องท้าทายที่เกิดขึ้นระหว่างทางของการเป็นหมออาสา ?
ติดตามชมรายการสะเทือนไทย วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live