กว่า 20 ปีที่แล้ว โครงการประชานิยมอย่างกองทุนหมู่บ้าน ได้ทำให้ชาว ต.รมณีย์ อ.กะปง จ.พังงา กู้ยืมเงินไปใช้ แต่สุดท้ายไม่สามารถหาเงินมาคืนได้ จึงต้องกู้ยืมเงินนอกระบบในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือนมาคืนให้ แต่ปัญหาไม่จบเพียงเท่านั้น เพราะเงินต้นเดิมยังใช้ไม่หมด จำเป็นต้องไปกู้ยืมจากแหล่งอื่นเพื่อนำมาโปะหนี้เก่า พอกพูนไปเรื่อย ๆ กลายเป็นวัฏจักรหนี้ที่ไม่มีวันใช้หมด
เมื่อเห็นสภาพเช่นนี้ ชาวบ้านรมณีย์ส่วนหนึ่งจึงชักชวนกันหาวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ จนกลายมาเป็นสถาบันการเงินชุมชน ต.รมณีย์ ในปัจจุบัน ที่อาศัยการออมเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมให้เกิดการฝากเงินทุกเดือน โดยเปิดทำการธนาคารชุมชนเดือนละ 2 ครั้ง ตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนกับสัจจะออมทรัพย์วันละบาท ที่ดูแลกันตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย รวมถึงกองทุนเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในช่วงสุดท้ายของชีวิต กระทั่งปัจจุบันมีสมาชิกสถาบันฯ 1,000 กว่าคน เงินรวมจากทุกกองทุนกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งสามารถไปซื้อหนี้นอกระบบให้สมาชิกได้ทุกคน มาผ่อนกับสถาบันการเงินชุมชนเพียงร้อยละ 1 ต่อปี หรือถ้าไม่มีจ่ายปีไหนก็พูดคุยกันได้ แต่ต้องมีวินัยการออม มีน้ำจิตน้ำใจ ช่วยเหลืองานในชุมชน และขยันทำมาหากิน
แต่ที่ไปไกลกว่านั้นคือทางกลุ่มนำเงินบางส่วนจากกองทุนมาลงทุนเพื่อให้เกิดผลกำไรและประโยชน์กับคนในชุมชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มอาชีพหลากหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มกล้าไม้ กลุ่มทำขนม กลุ่มทำปุ๋ยหมัก ลงทุนสร้างโรงน้ำดื่ม จำหน่ายน้ำดื่มคุณภาพในราคาถูกกว่าท้องตลาด ซื้อหาปุ๋ยเคมีใส่สวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพาราโดยสมาชิกเชื่อไว้ก่อนได้ และการสร้างตลาดประมูลขี้ยาง ที่ไม่เพียงลดการเสียเปรียบพ่อค้าคนกลางที่ชาวบ้านมักจะโดนโกงราคาในรูแบบต่าง ๆ แต่ยังช่วยให้ชาวบ้านได้ราคายางดีกว่าท้องตลาดจากการประมูลได้ คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านบาทต่อปี
ติดตามชมรายการสะเทือนไทย วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
กว่า 20 ปีที่แล้ว โครงการประชานิยมอย่างกองทุนหมู่บ้าน ได้ทำให้ชาว ต.รมณีย์ อ.กะปง จ.พังงา กู้ยืมเงินไปใช้ แต่สุดท้ายไม่สามารถหาเงินมาคืนได้ จึงต้องกู้ยืมเงินนอกระบบในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือนมาคืนให้ แต่ปัญหาไม่จบเพียงเท่านั้น เพราะเงินต้นเดิมยังใช้ไม่หมด จำเป็นต้องไปกู้ยืมจากแหล่งอื่นเพื่อนำมาโปะหนี้เก่า พอกพูนไปเรื่อย ๆ กลายเป็นวัฏจักรหนี้ที่ไม่มีวันใช้หมด
เมื่อเห็นสภาพเช่นนี้ ชาวบ้านรมณีย์ส่วนหนึ่งจึงชักชวนกันหาวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ จนกลายมาเป็นสถาบันการเงินชุมชน ต.รมณีย์ ในปัจจุบัน ที่อาศัยการออมเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมให้เกิดการฝากเงินทุกเดือน โดยเปิดทำการธนาคารชุมชนเดือนละ 2 ครั้ง ตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนกับสัจจะออมทรัพย์วันละบาท ที่ดูแลกันตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย รวมถึงกองทุนเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในช่วงสุดท้ายของชีวิต กระทั่งปัจจุบันมีสมาชิกสถาบันฯ 1,000 กว่าคน เงินรวมจากทุกกองทุนกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งสามารถไปซื้อหนี้นอกระบบให้สมาชิกได้ทุกคน มาผ่อนกับสถาบันการเงินชุมชนเพียงร้อยละ 1 ต่อปี หรือถ้าไม่มีจ่ายปีไหนก็พูดคุยกันได้ แต่ต้องมีวินัยการออม มีน้ำจิตน้ำใจ ช่วยเหลืองานในชุมชน และขยันทำมาหากิน
แต่ที่ไปไกลกว่านั้นคือทางกลุ่มนำเงินบางส่วนจากกองทุนมาลงทุนเพื่อให้เกิดผลกำไรและประโยชน์กับคนในชุมชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มอาชีพหลากหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มกล้าไม้ กลุ่มทำขนม กลุ่มทำปุ๋ยหมัก ลงทุนสร้างโรงน้ำดื่ม จำหน่ายน้ำดื่มคุณภาพในราคาถูกกว่าท้องตลาด ซื้อหาปุ๋ยเคมีใส่สวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพาราโดยสมาชิกเชื่อไว้ก่อนได้ และการสร้างตลาดประมูลขี้ยาง ที่ไม่เพียงลดการเสียเปรียบพ่อค้าคนกลางที่ชาวบ้านมักจะโดนโกงราคาในรูแบบต่าง ๆ แต่ยังช่วยให้ชาวบ้านได้ราคายางดีกว่าท้องตลาดจากการประมูลได้ คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านบาทต่อปี
ติดตามชมรายการสะเทือนไทย วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live