แม้กระทรวงสาธารณสุขจะก่อตั้งมาแล้วนับร้อยปี แต่ปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยยังไม่มีทีท่าว่าจะเบาบางลง มิหนำซ้ำดูเหมือนจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะกับโรคเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อที่เรียกว่า NCDs เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด นั่นเพราะกระบวนการทำงานที่เน้นไปที่การแก้ไขปัญหาที่เรียกว่าการซ่อมแซมสุขภาพ คือ...การรอให้ป่วยแล้วค่อยมารับการรักษา...
เมื่อมองเห็นจุดอ่อนนั้น หมอวัฒน์ (ธีรวัฒน์ แดงกะเปา) ผู้อำนวยการ รพ.สต.บ้านสี่แยกสวนป่า อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช จึงเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานใหม่ ด้วยการเข้าไปสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทำให้ชาวบ้านให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพในทุกมิติ เพื่อป้องกันไม่ให้ความเจ็บป่วยเข้ามากล้ำกรายได้
ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีเฟอร์นิเจอร์(สุขภาพ)ประจำบ้าน เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด เครื่องวัดความดัน หรือแม้แต่ตาชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง ค่าสัญญาณชีพต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยให้ชาวบ้านประเมินสุขภาพตัวเองได้เบื้องต้นว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เข้าขั้นเสี่ยงเกิดโรค หรือว่าต้องได้รับการตรวจรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อบวกรวมกับความรู้ที่ได้รับจากทาง รพ.สต. จะทำให้ชาวบ้านหันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการกิน การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึก รวมถึงอีกหลาย ๆ กิจกรรมที่หมอวัฒน์และทีมงานพยายามรณรงค์ และกระตุ้นให้ชาวบ้านตระหนักว่า “ไม่มีใครจะดูแลเรา ได้ดีเท่ากับตัวเราเอง” กระทั่งหลายปีที่ผ่านมาพบว่า จำนวนผู้ป่วยใหม่ที่จะเกิดโรคเรื้อรังลดลงอย่างเห็นได้ชัด ปริมาณกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคน้อยลง และจำนวนชาวบ้านที่มีสุขภาพร่างกายเป็นปกติเพิ่มมากขึ้น และนั่นก็ทำให้หมอวัฒน์มั่นใจว่าการสร้างเสริมสุขภาพสามารถทำได้ โดยเริ่มที่ตัวเอง
ติดตามชมเรื่องราวของหมอวัฒน์คนนี้ได้ในรายการสะเทือนไทย วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2561 เวลา 18.30 - 19.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แม้กระทรวงสาธารณสุขจะก่อตั้งมาแล้วนับร้อยปี แต่ปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยยังไม่มีทีท่าว่าจะเบาบางลง มิหนำซ้ำดูเหมือนจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะกับโรคเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อที่เรียกว่า NCDs เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด นั่นเพราะกระบวนการทำงานที่เน้นไปที่การแก้ไขปัญหาที่เรียกว่าการซ่อมแซมสุขภาพ คือ...การรอให้ป่วยแล้วค่อยมารับการรักษา...
เมื่อมองเห็นจุดอ่อนนั้น หมอวัฒน์ (ธีรวัฒน์ แดงกะเปา) ผู้อำนวยการ รพ.สต.บ้านสี่แยกสวนป่า อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช จึงเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานใหม่ ด้วยการเข้าไปสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทำให้ชาวบ้านให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพในทุกมิติ เพื่อป้องกันไม่ให้ความเจ็บป่วยเข้ามากล้ำกรายได้
ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีเฟอร์นิเจอร์(สุขภาพ)ประจำบ้าน เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด เครื่องวัดความดัน หรือแม้แต่ตาชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง ค่าสัญญาณชีพต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยให้ชาวบ้านประเมินสุขภาพตัวเองได้เบื้องต้นว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เข้าขั้นเสี่ยงเกิดโรค หรือว่าต้องได้รับการตรวจรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อบวกรวมกับความรู้ที่ได้รับจากทาง รพ.สต. จะทำให้ชาวบ้านหันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการกิน การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึก รวมถึงอีกหลาย ๆ กิจกรรมที่หมอวัฒน์และทีมงานพยายามรณรงค์ และกระตุ้นให้ชาวบ้านตระหนักว่า “ไม่มีใครจะดูแลเรา ได้ดีเท่ากับตัวเราเอง” กระทั่งหลายปีที่ผ่านมาพบว่า จำนวนผู้ป่วยใหม่ที่จะเกิดโรคเรื้อรังลดลงอย่างเห็นได้ชัด ปริมาณกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคน้อยลง และจำนวนชาวบ้านที่มีสุขภาพร่างกายเป็นปกติเพิ่มมากขึ้น และนั่นก็ทำให้หมอวัฒน์มั่นใจว่าการสร้างเสริมสุขภาพสามารถทำได้ โดยเริ่มที่ตัวเอง
ติดตามชมเรื่องราวของหมอวัฒน์คนนี้ได้ในรายการสะเทือนไทย วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2561 เวลา 18.30 - 19.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live