เรื่องราวชีวิต คนทำงานโรยตัว เช็ดกระจก ทาสีบนตึกสูง กลางกรุงเทพมหานคร ที่หนีความจน จากต่างจังหวัด มาเสี่ยงชีวิตแลกเงิน ด้วยความหวังสร้างครอบครัวให้ดีขึ้น
นพดล ไกรศรี คน จ.ร้อยเอ็ด พลัดถิ่นมาสู่การเป็นคนจนในเมืองใหญ่ ด้วยเรียนจบแค่ ม.6 มีทางเลือกไม่มากนัก ต้องมาขายแรงงานที่ตลาดกีบหมู หรือซอยกีบหมู เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ และซุกหัวนอน เพิงสังกะสีเก่า ๆ ราคาถูก ยึดอาชีพโรยตัว ที่แม้จะเสี่ยงตายแต่เป็นอาชีพที่ได้ค่าแรงสูง วันละ 1,000 – 1,500 บาท เพื่อจะทำให้ครอบครัวมีอยู่มีกินได้เร็วขึ้น ซึ่งเดชา รอดราคี ที่ทำงานเช็ดกระจกบนตก 21 ชั้น ย่านประตูน้ำ ก็เป็นหนึ่งคนที่มีหวังความฝันจากอาชีพนี้ และจากการทำงานมากว่า 9 ปี วันนี้ความฝันของเดชา ใกล้ความจริง มีเงินเก็บมากพอ ที่จะได้กลับบ้าน
นี่คือเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตของคนจน ในเมือง ที่จำนวนไม่น้อยเป็นคนจนที่บ้านเกิดและพลัดถิ่นมาหาโอกาสที่ดีกว่า ในเมืองหลวง ร่วมสำรวจสำรวจความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย หลังการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ติดตามได้ในรายการ สามัญชนคนไทย วันพุธที่ 19 เมษายน เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เรื่องราวชีวิต คนทำงานโรยตัว เช็ดกระจก ทาสีบนตึกสูง กลางกรุงเทพมหานคร ที่หนีความจน จากต่างจังหวัด มาเสี่ยงชีวิตแลกเงิน ด้วยความหวังสร้างครอบครัวให้ดีขึ้น
นพดล ไกรศรี คน จ.ร้อยเอ็ด พลัดถิ่นมาสู่การเป็นคนจนในเมืองใหญ่ ด้วยเรียนจบแค่ ม.6 มีทางเลือกไม่มากนัก ต้องมาขายแรงงานที่ตลาดกีบหมู หรือซอยกีบหมู เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ และซุกหัวนอน เพิงสังกะสีเก่า ๆ ราคาถูก ยึดอาชีพโรยตัว ที่แม้จะเสี่ยงตายแต่เป็นอาชีพที่ได้ค่าแรงสูง วันละ 1,000 – 1,500 บาท เพื่อจะทำให้ครอบครัวมีอยู่มีกินได้เร็วขึ้น ซึ่งเดชา รอดราคี ที่ทำงานเช็ดกระจกบนตก 21 ชั้น ย่านประตูน้ำ ก็เป็นหนึ่งคนที่มีหวังความฝันจากอาชีพนี้ และจากการทำงานมากว่า 9 ปี วันนี้ความฝันของเดชา ใกล้ความจริง มีเงินเก็บมากพอ ที่จะได้กลับบ้าน
นี่คือเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตของคนจน ในเมือง ที่จำนวนไม่น้อยเป็นคนจนที่บ้านเกิดและพลัดถิ่นมาหาโอกาสที่ดีกว่า ในเมืองหลวง ร่วมสำรวจสำรวจความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย หลังการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ติดตามได้ในรายการ สามัญชนคนไทย วันพุธที่ 19 เมษายน เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live