ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ข้าว" เป็นอาหารที่เราหลายคนขาดไม่ได้ รวมถึงเป็นอาชีพที่ยังอยู่คู่กับสังคมไทย ภูมิภาค 3.0 สัปดาห์นี้ ชวนติดตามเรื่องของข้าวจากทุกภูมิภาค ว่าแต่ละพื้นที่มีความสำคัญอย่างไร
ภาคอีสาน พาไปดูข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ทุ่งกุลาแห่งนี้เป็นที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศไทย แล้วยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งทุ่งกุลาร้องไห้นี้ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ก็คือ มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, สุรินท,ร์ ศรีสะเกษ, และยโสธร แต่ในปัจจุบันนี้สถานการณ์ของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาจะหอมหวานเหมือนเคยหรือเปล่า ชวนติดตามเรื่องราวไปด้วยกัน
ภาคใต้ พาไปดูพื้นที่นาผืนสุดท้าย ที่บ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกาะ มีพื้นที่ราบ ล้อมรอบด้วยน้ำเค็ม อาศัยเพียงน้ำฝนเท่านั้นในการทำนา ทำให้ข้าวสังข์หยด หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า "ข้าวสังข์หยดฟ้าประทาน" มีความพิเศษกว่าที่อื่น ๆ รวมไปถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผืนนาต่าง ๆ มากมาย แล้วชาวบ้านจะช่วยกันดูแล และรักษาพื้นที่นาบนเกาะนี้ร่วมกันได้อย่างไร ชวนชมไปด้วยกัน
ภาคเหนือ พาไปที่ทุ่งลอ แอ่งกระทะรอยต่อระหว่าง จังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกข้าวแหล่งใหญ่ของภาคเหนือ เปรียบเสมือนอู่ข้าว อู่น้ำ แหล่งสำคัญของคนในพื้นที่ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของการทำนาในช่วงที่ผ่านมา สู่เชิงพาณิชย์ที่ใช้สารเคมีมากขึ้น แต่ก็มีการเกิดกลุ่มข้าวอินทรีย์หลายแห่ง ที่พยายามรักษาวิถีเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างกลุ่มข้าวหอมนกยูง ที่มีสมาชิกกว่า 50 ราย มีการปลูกพืชที่หลากหลาย ปรับปรุงดูแลดิน ช่วยให้กุ้ง, หอย, ปู, ปลา จากผืนนา เป็นอาหารในครัวเรือน แต่การรักษาพื้นที่อินทรีย์ท่ามกลางการรุกคืบของเกษตรเคมี และการสืบทอดของคนรุ่นใหม่ก็ยังเป็นโจทย์ท้าทายที่ชวนมาคิด
ติดตามได้ในรายการภูมิภาค 3.0 วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2562 เวลา 13.00 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ข้าว" เป็นอาหารที่เราหลายคนขาดไม่ได้ รวมถึงเป็นอาชีพที่ยังอยู่คู่กับสังคมไทย ภูมิภาค 3.0 สัปดาห์นี้ ชวนติดตามเรื่องของข้าวจากทุกภูมิภาค ว่าแต่ละพื้นที่มีความสำคัญอย่างไร
ภาคอีสาน พาไปดูข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ทุ่งกุลาแห่งนี้เป็นที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศไทย แล้วยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งทุ่งกุลาร้องไห้นี้ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ก็คือ มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, สุรินท,ร์ ศรีสะเกษ, และยโสธร แต่ในปัจจุบันนี้สถานการณ์ของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาจะหอมหวานเหมือนเคยหรือเปล่า ชวนติดตามเรื่องราวไปด้วยกัน
ภาคใต้ พาไปดูพื้นที่นาผืนสุดท้าย ที่บ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกาะ มีพื้นที่ราบ ล้อมรอบด้วยน้ำเค็ม อาศัยเพียงน้ำฝนเท่านั้นในการทำนา ทำให้ข้าวสังข์หยด หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า "ข้าวสังข์หยดฟ้าประทาน" มีความพิเศษกว่าที่อื่น ๆ รวมไปถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผืนนาต่าง ๆ มากมาย แล้วชาวบ้านจะช่วยกันดูแล และรักษาพื้นที่นาบนเกาะนี้ร่วมกันได้อย่างไร ชวนชมไปด้วยกัน
ภาคเหนือ พาไปที่ทุ่งลอ แอ่งกระทะรอยต่อระหว่าง จังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกข้าวแหล่งใหญ่ของภาคเหนือ เปรียบเสมือนอู่ข้าว อู่น้ำ แหล่งสำคัญของคนในพื้นที่ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของการทำนาในช่วงที่ผ่านมา สู่เชิงพาณิชย์ที่ใช้สารเคมีมากขึ้น แต่ก็มีการเกิดกลุ่มข้าวอินทรีย์หลายแห่ง ที่พยายามรักษาวิถีเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างกลุ่มข้าวหอมนกยูง ที่มีสมาชิกกว่า 50 ราย มีการปลูกพืชที่หลากหลาย ปรับปรุงดูแลดิน ช่วยให้กุ้ง, หอย, ปู, ปลา จากผืนนา เป็นอาหารในครัวเรือน แต่การรักษาพื้นที่อินทรีย์ท่ามกลางการรุกคืบของเกษตรเคมี และการสืบทอดของคนรุ่นใหม่ก็ยังเป็นโจทย์ท้าทายที่ชวนมาคิด
ติดตามได้ในรายการภูมิภาค 3.0 วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2562 เวลา 13.00 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live