วันดินโลก ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี จากการประชุมขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ครั้งที่ 144 เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของผืนแผ่นดิน ว่าทุกพื้นที่มีคุณค่าอย่างไร ภูมิภาค 3.0 ชวนติดตามความสำคัญของดินและผู้คนทั้ง 3 ภาค ที่บอกเล่าเรื่องราวของดิน
เริ่มต้นที่ภาคเหนือตอนบนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูง ดินมีความลาดชัน ถูกชะล้างได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมในการดูแลดินให้ดี เพื่อดินจะกลับมาดูแลเรา ให้ผลผลิตทางเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ อย่างหมอดินอาสาแห่ง จ.แม่ฮ่องสอน คุณลุงสุธี ยอดดี ได้นำเอาความรู้เรื่องดินมาใช้ในแปลงของตนเอง และขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่น และยังตามรอยในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับดิน ในวันดินโลก 5 ธันวาของทุกปี ที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องดินให้กับประชาชนทั่วประเทศ ติดตามในตอน ทรัพย์จากดิน
ต่อด้วยภาคใต้ที่ จ.ตรัง "เราให้อาหารดิน ดินให้อาหารพืช พืชก็ให้อาหารเรา" เป็นหนึ่งในคำพูดของป้าสุข หรือนางพูนสุข พิทยาสุนทร ซึ่งเป็นหมอดินใน ต.บ้านควน อ.เมือง จ.ตรัง ผู้เปลี่ยนดินทรายที่แห้งแข็ง และมีสภาพดินเปรี้ยว มีธาตุอาหารน้อย ให้เป็นดินที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ สามารถปลูกยางพาราและพืชร่วมยางได้อย่างงอกงาม ด้วยความเข้าใจในดินจนสามารถส่งต่อความรู้ช่วยเหลือคนอื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องดินได้ ติดตามในตอน เปลี่ยนดินขาวเป็นดำที่สวนป้าสุข
ปิดท้ายกันที่ภาคอีสาน ติดตามการเดินทางจากเมืองน้ำดำ จ.กาฬสินธุ์ ถึงเทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร ของคุณมิ่ง รัฐธิติ เจนวิริยะกุล เพื่อหาคำตอบยืนยันถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินอีสาน ที่ไม่ได้ปรับปรุงเติมแต่งแค่หยาดเหงื่อแรงงานเกษตรกร แต่ยังมีความมานะ อุตสาหะ เอาใจใส่ อย่างพ่อทองปาน ที่พัฒนาพลิกฟื้นผืนดินที่แห้งแล้งให้กับมาเขียวชอุ่ม และองค์ความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของศูนย์พัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ติดตามในตอน มรดกดิน
ติดตามได้ในรายการภูมิภาค 3.0 วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม 2561 เวลา 13.00 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live
วันดินโลก ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี จากการประชุมขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ครั้งที่ 144 เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของผืนแผ่นดิน ว่าทุกพื้นที่มีคุณค่าอย่างไร ภูมิภาค 3.0 ชวนติดตามความสำคัญของดินและผู้คนทั้ง 3 ภาค ที่บอกเล่าเรื่องราวของดิน
เริ่มต้นที่ภาคเหนือตอนบนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูง ดินมีความลาดชัน ถูกชะล้างได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมในการดูแลดินให้ดี เพื่อดินจะกลับมาดูแลเรา ให้ผลผลิตทางเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ อย่างหมอดินอาสาแห่ง จ.แม่ฮ่องสอน คุณลุงสุธี ยอดดี ได้นำเอาความรู้เรื่องดินมาใช้ในแปลงของตนเอง และขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่น และยังตามรอยในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับดิน ในวันดินโลก 5 ธันวาของทุกปี ที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องดินให้กับประชาชนทั่วประเทศ ติดตามในตอน ทรัพย์จากดิน
ต่อด้วยภาคใต้ที่ จ.ตรัง "เราให้อาหารดิน ดินให้อาหารพืช พืชก็ให้อาหารเรา" เป็นหนึ่งในคำพูดของป้าสุข หรือนางพูนสุข พิทยาสุนทร ซึ่งเป็นหมอดินใน ต.บ้านควน อ.เมือง จ.ตรัง ผู้เปลี่ยนดินทรายที่แห้งแข็ง และมีสภาพดินเปรี้ยว มีธาตุอาหารน้อย ให้เป็นดินที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ สามารถปลูกยางพาราและพืชร่วมยางได้อย่างงอกงาม ด้วยความเข้าใจในดินจนสามารถส่งต่อความรู้ช่วยเหลือคนอื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องดินได้ ติดตามในตอน เปลี่ยนดินขาวเป็นดำที่สวนป้าสุข
ปิดท้ายกันที่ภาคอีสาน ติดตามการเดินทางจากเมืองน้ำดำ จ.กาฬสินธุ์ ถึงเทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร ของคุณมิ่ง รัฐธิติ เจนวิริยะกุล เพื่อหาคำตอบยืนยันถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินอีสาน ที่ไม่ได้ปรับปรุงเติมแต่งแค่หยาดเหงื่อแรงงานเกษตรกร แต่ยังมีความมานะ อุตสาหะ เอาใจใส่ อย่างพ่อทองปาน ที่พัฒนาพลิกฟื้นผืนดินที่แห้งแล้งให้กับมาเขียวชอุ่ม และองค์ความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของศูนย์พัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ติดตามในตอน มรดกดิน
ติดตามได้ในรายการภูมิภาค 3.0 วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม 2561 เวลา 13.00 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live