ที่บ้านคำสร้างไชย ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี มีพื้นที่ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "คำเสือหล่ม" หมายถึงพื้นดินที่เสือเดินไปแล้ว "ติดหล่ม" เพราะเป็นพื้นที่ชุมน้ำ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ มี "น้ำซับน้ำซึม" และเป็นแหล่งที่อยู่ของ "ปลากัด" ชั้นยอด
เด็กๆ ที่คำสร้างไชย มักจะออกตามล่าหาปลากัดชั้นยอดของตัวเองเป็นประจำ ยามออกหาก็หาเป็นกลุ่ม หาได้ก็เก็บใส่หม้อข้าวหม้อแกง เชี่ยวชาญจนได้ชื่อว่าเป็น "นักล่าปลากัดแห่งคำเสือหล่ม" ติดตามเรื่องราวของพี่น้องคำสร้างไชย ในอยู่ดีมีแฮง ตอน นักสู้คำเสือหล่ม
โรงเรียนเล็กๆ ที่ไม่เคยประกาศตัวว่าเป็นโรงเรียนทางเลือก ร่วมพูดคุยกับคุณครู และไปดูนักเรียนที่ได้ฝึกทำอาหารกับคุณครู ณ โรงเรียนสุขเกษมวิทยา สิ่งที่ปรากฎมาตลอดเกือบ 20 ปี ณ ที่แห่งนี้ นั่นคือความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างผู้ปกครอง นักเรียน คุณครู และชุมชนที่ร่วมกันพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้มาตลอดเวลา ในแลต๊ะแลใต้ ตอน โรงเรียนนอกกรอบ ที่ปาดังเบซาร์
จุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มเกษตรกร ชาวไร่อ้อยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ปรับวิธีการทำไร่อ้อยให้สอดรับกับนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ หวังเพื่อให้คนในพื้นที่ มีอำนาจการต่อรองด้านราคาและอื่นๆ มากขึ้น ชาวไร่อ้อย ภาคเหนือตอนล่าง จะต้องปรับตัว และปรับวิธีคิดกันอย่างไร กับนโยบายเกษตรแปลงใหญ่นี้ เพื่อให้มีความมั่นคงทางรายได้ที่ยั่งยืนจริงๆ ให้กับคนในพื้นที่ ชวนติดตามและคิดต่อด้วยกัน กับ The North องศาเหนือ ตอน อ้อยแปลงใหญ่
ติดตามชมรายการภูมิภาค 3.0 ในวันอาทิตย์ที่ 26 มี.ค. 60 เวลา 13.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ที่บ้านคำสร้างไชย ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี มีพื้นที่ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "คำเสือหล่ม" หมายถึงพื้นดินที่เสือเดินไปแล้ว "ติดหล่ม" เพราะเป็นพื้นที่ชุมน้ำ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ มี "น้ำซับน้ำซึม" และเป็นแหล่งที่อยู่ของ "ปลากัด" ชั้นยอด
เด็กๆ ที่คำสร้างไชย มักจะออกตามล่าหาปลากัดชั้นยอดของตัวเองเป็นประจำ ยามออกหาก็หาเป็นกลุ่ม หาได้ก็เก็บใส่หม้อข้าวหม้อแกง เชี่ยวชาญจนได้ชื่อว่าเป็น "นักล่าปลากัดแห่งคำเสือหล่ม" ติดตามเรื่องราวของพี่น้องคำสร้างไชย ในอยู่ดีมีแฮง ตอน นักสู้คำเสือหล่ม
โรงเรียนเล็กๆ ที่ไม่เคยประกาศตัวว่าเป็นโรงเรียนทางเลือก ร่วมพูดคุยกับคุณครู และไปดูนักเรียนที่ได้ฝึกทำอาหารกับคุณครู ณ โรงเรียนสุขเกษมวิทยา สิ่งที่ปรากฎมาตลอดเกือบ 20 ปี ณ ที่แห่งนี้ นั่นคือความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างผู้ปกครอง นักเรียน คุณครู และชุมชนที่ร่วมกันพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้มาตลอดเวลา ในแลต๊ะแลใต้ ตอน โรงเรียนนอกกรอบ ที่ปาดังเบซาร์
จุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มเกษตรกร ชาวไร่อ้อยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ปรับวิธีการทำไร่อ้อยให้สอดรับกับนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ หวังเพื่อให้คนในพื้นที่ มีอำนาจการต่อรองด้านราคาและอื่นๆ มากขึ้น ชาวไร่อ้อย ภาคเหนือตอนล่าง จะต้องปรับตัว และปรับวิธีคิดกันอย่างไร กับนโยบายเกษตรแปลงใหญ่นี้ เพื่อให้มีความมั่นคงทางรายได้ที่ยั่งยืนจริงๆ ให้กับคนในพื้นที่ ชวนติดตามและคิดต่อด้วยกัน กับ The North องศาเหนือ ตอน อ้อยแปลงใหญ่
ติดตามชมรายการภูมิภาค 3.0 ในวันอาทิตย์ที่ 26 มี.ค. 60 เวลา 13.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live