ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ภูมิภาค 3.0 จะพาย้อนไปดูความทรงจำ ความประทับใจของราษฎรที่ครั้งหนึ่งเคยเข้าเฝ้ารับเสด็จ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชซึ่งทำให้พวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
กว่า 11 ครั้ง 38 สถานที่ ซึ่งพระองค์ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรชาวจังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านนาแวง ต.นาแวง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ที่แม้จะอยู่ห่างไกลริมฝั่งแม่น้ำโขงติดชายแดนไทย-ลาว ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ ในการพัฒนาแหล่งน้ำชลประทานทำให้ชาวบ้านสามารถทำนาได้ถึงปีละ 2 ครั้ง และจากความทรงจำครั้งนั้น พวกเขากำลังรวบรวมเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งต่อไปยังลูกหลานในชุมชน กับอยู่ดีมีแฮง ตอน ตามรอยเสด็จ ณ อุบลราชธานี
ส่วนที่บ้านยาเด๊ะ ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น ทำให้ในอดีตประสบปัญหาในการทำการเกษตร บางเดือนไม่สามารถกรีดยางได้ เนื่องจากมีฝนตกชุก ชาวบ้านจึงพยายามทำอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ โดยภายหลังจากมีโครงการพระราชดำริ โครงการพัฒนาพื้นที่ในเขตชลประทานแบบบูรณาการ และมีการทำนาขั้นบันได นั่นทำให้ชาวบ้านสามารถปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ติดตามเรื่องนี้ใน แลต๊ะแลใต้ ตอน รวงข้าวของพ่อ
และติดตามจุดเริ่มต้น "ธนาคารข้าวแห่งแรก" ที่บ้านป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งได้รับทุนก่อตั้งจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อทรงแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร ซึ่งในอดีตต้องไปกู้ยืมข้าวจากหมู่บ้านอื่นเพื่อมาบริโภคในครัวเรือน แต่หลังจากมีธนาคารข้าวแล้วพวกเขาก็สามารถบริหารจัดการในชุมชนได้ และพร้อมส่งต่อ แบ่งปันแนวคิดนี้ไปยังชุมชนใกล้เคียงที่บ้านฮากไม้ใต้ ใน The north องศาเหนือ ตอน ธนาคารข้าวของพ่อ
และอีกหลายเรื่องราวในรายการภูมิภาค 3.0 พบกันวันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.00 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ภูมิภาค 3.0 จะพาย้อนไปดูความทรงจำ ความประทับใจของราษฎรที่ครั้งหนึ่งเคยเข้าเฝ้ารับเสด็จ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชซึ่งทำให้พวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
กว่า 11 ครั้ง 38 สถานที่ ซึ่งพระองค์ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรชาวจังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านนาแวง ต.นาแวง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ที่แม้จะอยู่ห่างไกลริมฝั่งแม่น้ำโขงติดชายแดนไทย-ลาว ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ ในการพัฒนาแหล่งน้ำชลประทานทำให้ชาวบ้านสามารถทำนาได้ถึงปีละ 2 ครั้ง และจากความทรงจำครั้งนั้น พวกเขากำลังรวบรวมเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งต่อไปยังลูกหลานในชุมชน กับอยู่ดีมีแฮง ตอน ตามรอยเสด็จ ณ อุบลราชธานี
ส่วนที่บ้านยาเด๊ะ ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น ทำให้ในอดีตประสบปัญหาในการทำการเกษตร บางเดือนไม่สามารถกรีดยางได้ เนื่องจากมีฝนตกชุก ชาวบ้านจึงพยายามทำอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ โดยภายหลังจากมีโครงการพระราชดำริ โครงการพัฒนาพื้นที่ในเขตชลประทานแบบบูรณาการ และมีการทำนาขั้นบันได นั่นทำให้ชาวบ้านสามารถปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ติดตามเรื่องนี้ใน แลต๊ะแลใต้ ตอน รวงข้าวของพ่อ
และติดตามจุดเริ่มต้น "ธนาคารข้าวแห่งแรก" ที่บ้านป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งได้รับทุนก่อตั้งจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อทรงแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร ซึ่งในอดีตต้องไปกู้ยืมข้าวจากหมู่บ้านอื่นเพื่อมาบริโภคในครัวเรือน แต่หลังจากมีธนาคารข้าวแล้วพวกเขาก็สามารถบริหารจัดการในชุมชนได้ และพร้อมส่งต่อ แบ่งปันแนวคิดนี้ไปยังชุมชนใกล้เคียงที่บ้านฮากไม้ใต้ ใน The north องศาเหนือ ตอน ธนาคารข้าวของพ่อ
และอีกหลายเรื่องราวในรายการภูมิภาค 3.0 พบกันวันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.00 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live