เรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนกลางของแอ่งโคราช หรืออีสานตอนกลาง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 2.1 ล้านไร่ เป็นบริเวณที่ผู้คนต่างรู้จักกันในชื่อว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้" ข้อมูลทางธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน จากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก จนกลายเป็นแอ่งน้ำจืดขนาดใหญ่ ก่อนจะกลายเป็นผืนแผ่นดินแยกแตกระแหง ที่ยังมีเกลือและดินเค็มเป็นหลักฐานที่เชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ณ พื้นที่แห่งนี้ ได้ขุดค้นพบความเชื่อมโยงของผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์มากมาย แหล่งโบราณคดีที่ถูกยกให้เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมทุ่งกุลาคือที่บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ถ้าพูดถึงลักษณะเด่นของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ที่นี่ได้พบหลักฐานที่หนาแน่น ทั้งพิธีกรรมการฝังศพ มีลักษณะการฝังศพครั้งแรก ทั้งแบบนอนหงายเหยียดยาว และแบบฝังศพในภาชนะดินเผา โดยพบทุกเพศ ทุกวัย และพบการฝังศพครั้งที่สอง ทั้งแบบเก็บกระดูกมาวางรวมกัน และแบบเก็บมาใส่ในภาชนะดินเผา โดยภาชนะดินเผาที่ใช้ในการฝังศพที่นี่มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีลักษณะคล้ายแคปซูล ที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ใครเห็นเครื่องปั้นดินเผาลักษณะนี้ รู้ได้ทันทีว่านี่คือโบราณวัตถุสำคัญแห่งทุ่งกุลาร้องไห้
นอกจากภาชนะรูปแคปซูลที่นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบและกำหนดอายุได้ประมาณ 1,700 ปี แต่เมื่อขุดค้นลึกลงไปถึงช่วงเวลาเมื่อประมาณ 3,200 ปี พบภาชนะดินเผาอีกรูปแบบหนึ่งจำนวนมาก เป็นภาชนะรูปทรงคล้ายผลส้ม ซึ่งเป็นภาชนะที่ใช้ในการฝังศพอีกรูปแบบหนึ่ง และนักโบราณคดียังขุดค้นพบวัตถุโบราณอีกมากมาย ในดินแดนทุ่งกุลายังมั่งคั่งไปด้วยเกลือและเหล็ก ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมีค่ามหาศาลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งเกลือที่ใหญ่และมีคุณภาพที่สุดในดินแดนนี้ การขุดค้นพบเรื่องราวในอดีตยังสามารถเชื่อมโยงมาสู่วิถีความเป็นอยู่ของผู้คนในปัจจุบัน ซึ่งที่นี่ยังคงเป็นแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญของประเทศ และเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของโลก
ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนกลางของแอ่งโคราช หรืออีสานตอนกลาง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 2.1 ล้านไร่ เป็นบริเวณที่ผู้คนต่างรู้จักกันในชื่อว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้" ข้อมูลทางธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน จากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก จนกลายเป็นแอ่งน้ำจืดขนาดใหญ่ ก่อนจะกลายเป็นผืนแผ่นดินแยกแตกระแหง ที่ยังมีเกลือและดินเค็มเป็นหลักฐานที่เชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ณ พื้นที่แห่งนี้ ได้ขุดค้นพบความเชื่อมโยงของผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์มากมาย แหล่งโบราณคดีที่ถูกยกให้เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมทุ่งกุลาคือที่บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ถ้าพูดถึงลักษณะเด่นของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ที่นี่ได้พบหลักฐานที่หนาแน่น ทั้งพิธีกรรมการฝังศพ มีลักษณะการฝังศพครั้งแรก ทั้งแบบนอนหงายเหยียดยาว และแบบฝังศพในภาชนะดินเผา โดยพบทุกเพศ ทุกวัย และพบการฝังศพครั้งที่สอง ทั้งแบบเก็บกระดูกมาวางรวมกัน และแบบเก็บมาใส่ในภาชนะดินเผา โดยภาชนะดินเผาที่ใช้ในการฝังศพที่นี่มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีลักษณะคล้ายแคปซูล ที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ใครเห็นเครื่องปั้นดินเผาลักษณะนี้ รู้ได้ทันทีว่านี่คือโบราณวัตถุสำคัญแห่งทุ่งกุลาร้องไห้
นอกจากภาชนะรูปแคปซูลที่นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบและกำหนดอายุได้ประมาณ 1,700 ปี แต่เมื่อขุดค้นลึกลงไปถึงช่วงเวลาเมื่อประมาณ 3,200 ปี พบภาชนะดินเผาอีกรูปแบบหนึ่งจำนวนมาก เป็นภาชนะรูปทรงคล้ายผลส้ม ซึ่งเป็นภาชนะที่ใช้ในการฝังศพอีกรูปแบบหนึ่ง และนักโบราณคดียังขุดค้นพบวัตถุโบราณอีกมากมาย ในดินแดนทุ่งกุลายังมั่งคั่งไปด้วยเกลือและเหล็ก ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมีค่ามหาศาลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งเกลือที่ใหญ่และมีคุณภาพที่สุดในดินแดนนี้ การขุดค้นพบเรื่องราวในอดีตยังสามารถเชื่อมโยงมาสู่วิถีความเป็นอยู่ของผู้คนในปัจจุบัน ซึ่งที่นี่ยังคงเป็นแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญของประเทศ และเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของโลก
ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live