ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เสรีภาพสื่อกับผลกระทบต่อสังคม?

ออกอากาศ1 ม.ค. 55
ติดตามประเด็น “เสรีภาพสื่อกับผลกระทบต่อสังคม?” อาทิตย์ที่ 4 สิงหาคมนี้  เวลา 12.10-13.00 น.กสทช. ได้ผ่านร่างประกาศ กสทช. เรื่อง "หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงแะกิจการโทรทัศน์ พ.ศ...." ซึ่งหลายฝ่ายมีความกังวลว่าร่างฉบับดังกล่าวจะให้อำนาจในการจำกัดสิทธิเสรภาพของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศ  ในขณะที่กรรมการบางท่านก็มีความเห็นต่างที่เห็นว่าอง๕กรสื่อสารมวลชนน่าจะมีเพียงหลักเกณฑ์เพื่อจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อควบคุมกันเองได้ ประเด็นในการถกเถียง1. หน้าที่ ของกสทช.ต่อสังคมไทยคืออะไร การที่ กสทช.บอกว่า การควบคุมดูแลเนื้อหาสื่อเป็น “การบริหารควบคุมความเหมาะสมในสังคม” ถือว่าเหมาะสมหรือไม่ ใครควรจะเป็ นคนกาหนดแก ํ ่สังคมว่า อะไร "เหมาะสม" อะไร "ไม่เหมาะสม"2. ใครควรมีหน้าที่ควบคุมดูแลจริยธรรมและคุณธรรมของสื่อมวลชนในประเทศไทย สื่อควรมีการควบคุมดูแลตนเอง (Self-regulation) หรือควบคุมดูแลโดยรัฐ (State-regulation) และแนวทางใดจะส่งผลดี/ผลเสียต่อการปฎิรูปสื่อในประเทศไทย3. คุณคิดอย่างไรกับปรากฏการณ์เซ็นเซอร์ตัวเอง (Self-censorship) ของสื่อมวลชนไทย ไม่ว่าจะเป็ นละครข่าวและรายการสัมภาษณ์ที่เราได้ทราบข่าวกันมา4. การปฏิรูปสื่อควรเป็ นหน้าที่หลักของใครในสังคมไทย ควรมีกระบวนการ ทางออกและข้อเสนอแนะอย่างไรให้สื่อได้ทําหน้าที่เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ มีความเป็ นธรรม มีอิสระและมีความเป็นประชาธิปไตย5. จริง ๆ แล้วในระยะยาว กสทช. ควรได้รับการปฏิรูปหรือไม่ และอย่างไร เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวเข้าใจถึงกระแสและความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ควรมีการดําเนินการปฎิรูปองค์กรดังกล่าว อย่างไร ผู้ร่วมถกเถียง: คุณสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ผู้กำกับภาพยนต์เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die) และ คุณฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อติดตามรายการ “เถียงให้รู้เรื่อง” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.10 – 13.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง  www.thaipbs.or.th/live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ติดตามประเด็น “เสรีภาพสื่อกับผลกระทบต่อสังคม?” อาทิตย์ที่ 4 สิงหาคมนี้  เวลา 12.10-13.00 น.กสทช. ได้ผ่านร่างประกาศ กสทช. เรื่อง "หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงแะกิจการโทรทัศน์ พ.ศ...." ซึ่งหลายฝ่ายมีความกังวลว่าร่างฉบับดังกล่าวจะให้อำนาจในการจำกัดสิทธิเสรภาพของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศ  ในขณะที่กรรมการบางท่านก็มีความเห็นต่างที่เห็นว่าอง๕กรสื่อสารมวลชนน่าจะมีเพียงหลักเกณฑ์เพื่อจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อควบคุมกันเองได้ ประเด็นในการถกเถียง1. หน้าที่ ของกสทช.ต่อสังคมไทยคืออะไร การที่ กสทช.บอกว่า การควบคุมดูแลเนื้อหาสื่อเป็น “การบริหารควบคุมความเหมาะสมในสังคม” ถือว่าเหมาะสมหรือไม่ ใครควรจะเป็ นคนกาหนดแก ํ ่สังคมว่า อะไร "เหมาะสม" อะไร "ไม่เหมาะสม"2. ใครควรมีหน้าที่ควบคุมดูแลจริยธรรมและคุณธรรมของสื่อมวลชนในประเทศไทย สื่อควรมีการควบคุมดูแลตนเอง (Self-regulation) หรือควบคุมดูแลโดยรัฐ (State-regulation) และแนวทางใดจะส่งผลดี/ผลเสียต่อการปฎิรูปสื่อในประเทศไทย3. คุณคิดอย่างไรกับปรากฏการณ์เซ็นเซอร์ตัวเอง (Self-censorship) ของสื่อมวลชนไทย ไม่ว่าจะเป็ นละครข่าวและรายการสัมภาษณ์ที่เราได้ทราบข่าวกันมา4. การปฏิรูปสื่อควรเป็ นหน้าที่หลักของใครในสังคมไทย ควรมีกระบวนการ ทางออกและข้อเสนอแนะอย่างไรให้สื่อได้ทําหน้าที่เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ มีความเป็ นธรรม มีอิสระและมีความเป็นประชาธิปไตย5. จริง ๆ แล้วในระยะยาว กสทช. ควรได้รับการปฏิรูปหรือไม่ และอย่างไร เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวเข้าใจถึงกระแสและความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ควรมีการดําเนินการปฎิรูปองค์กรดังกล่าว อย่างไร ผู้ร่วมถกเถียง: คุณสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ผู้กำกับภาพยนต์เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die) และ คุณฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อติดตามรายการ “เถียงให้รู้เรื่อง” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.10 – 13.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง  www.thaipbs.or.th/live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย