ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อ่าน-เขียนไม่ได้ คนละเรื่องกับนาฎศิลป์?

ออกอากาศ20 ต.ค. 56
สัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการ ถูกกลุ่มคณาจารย์นาฎศิลป์ จากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ออกมาทวงถามถึงเหตุจะตัดรายวิชานาฎศิลป์ออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ท้ายที่สุดต้องอรรถาธิบายยกใหญ่ว่า ไม่ใช่การตัดหลักสูตร แต่เป็นการปรับเปลี่ยนชื่อรายวิชา    เรื่องไม่จบเพียงเท่านั้น เมื่อเหตุผลการปรับหลักสูตร ของ ศธ. โดยคณะกรรมการปฏิรูปหลักสุตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับไปดำเนินการ เพื่อยกระดับคุณภาพหลักสูตร ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ก็ออกมายอมรับชัดเจนว่า คุณภาพการเรียนการสอนตกต่ำจริงๆ โดยเฉพาะทักษะด้านภาษา การอ่าน การคิดวิเคราะห์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ที่มีส่วนสำคัญต่อการเรียนในอนาคต    สำรวจและประเมินการศึกษาแล้ว กลายเป็นว่า เด็กประถมและมัธยมศึกษาส่วนหนึ่ง อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ มีเพิ่มมากขึ้น อะไรคือปัจจัย ที่เป็นอุปสรรค ปัญหา ของนักเรียนไทยวันนี้  บ้างก็ว่า นโยบายของ ศธ. ไม่ชัดเจน มีการเปลี่ยนไปปรับมา แม้แต่รูปแบบการจัดสอบ การประเมินผล รวมทั้งการออกข้อสอบกับบทเรียนก็แตกต่างกัน  ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู สับสน    คำถามสำคัญคือ นโยบายการศึกษาของไทยที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาทั้งการจัดหลักสูตร การเรียนการสอนยุคนี้ ทันต่อโลกการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรือไม่ ตอบสนองทั้งผู้เรียน ผู้สอน และเนื้อหาหรือไม่? ปัญหา อุปสรรคคือส่วนใด อยู่ตรงไหน เหตุใดจึงทำให้การจัดลำดับการศึกษาของไทยอยู่รั้งท้ายในอาเซียน     อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของเด็กไทย ก็ควรจะหยิบยกให้เป็น “วาระปัญหาแห่งชาติ”     เพราะการศึกษาของไทยจะ “ปฏิรูป” ไปทางไหน....       เป็นคำถามที่แตะในส่วนใด ล้วนแต่มี “ปัญหา”     คุณภาพนักเรียนไทยด้อยลง?? อ่านไม่ออก เขียนก็ไม่เป็น ...กลายเป็นเรื่องที่ต้องถกคู่ดีเบต  : ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. และ พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่ เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษานักวิชาการ : ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล   สื่อมวลชนอิสระ  และ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค  นักวิชาการด้านการศึกษา ทีดีอาร์ไอรายการ “เถียงให้รู้เรื่อง” ตอน “อ่าน-เขียนไม่ได้ คนละเรื่องกับนาฎศิลป์?” วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคมนี้ เวลา 12.10 น. ทางไทยพีบีเอสติดตามรายการ “เถียงให้รู้เรื่อง” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.10 – 13.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง  www.thaipbs.or.th/live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
สัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการ ถูกกลุ่มคณาจารย์นาฎศิลป์ จากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ออกมาทวงถามถึงเหตุจะตัดรายวิชานาฎศิลป์ออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ท้ายที่สุดต้องอรรถาธิบายยกใหญ่ว่า ไม่ใช่การตัดหลักสูตร แต่เป็นการปรับเปลี่ยนชื่อรายวิชา    เรื่องไม่จบเพียงเท่านั้น เมื่อเหตุผลการปรับหลักสูตร ของ ศธ. โดยคณะกรรมการปฏิรูปหลักสุตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับไปดำเนินการ เพื่อยกระดับคุณภาพหลักสูตร ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ก็ออกมายอมรับชัดเจนว่า คุณภาพการเรียนการสอนตกต่ำจริงๆ โดยเฉพาะทักษะด้านภาษา การอ่าน การคิดวิเคราะห์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ที่มีส่วนสำคัญต่อการเรียนในอนาคต    สำรวจและประเมินการศึกษาแล้ว กลายเป็นว่า เด็กประถมและมัธยมศึกษาส่วนหนึ่ง อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ มีเพิ่มมากขึ้น อะไรคือปัจจัย ที่เป็นอุปสรรค ปัญหา ของนักเรียนไทยวันนี้  บ้างก็ว่า นโยบายของ ศธ. ไม่ชัดเจน มีการเปลี่ยนไปปรับมา แม้แต่รูปแบบการจัดสอบ การประเมินผล รวมทั้งการออกข้อสอบกับบทเรียนก็แตกต่างกัน  ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู สับสน    คำถามสำคัญคือ นโยบายการศึกษาของไทยที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาทั้งการจัดหลักสูตร การเรียนการสอนยุคนี้ ทันต่อโลกการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรือไม่ ตอบสนองทั้งผู้เรียน ผู้สอน และเนื้อหาหรือไม่? ปัญหา อุปสรรคคือส่วนใด อยู่ตรงไหน เหตุใดจึงทำให้การจัดลำดับการศึกษาของไทยอยู่รั้งท้ายในอาเซียน     อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของเด็กไทย ก็ควรจะหยิบยกให้เป็น “วาระปัญหาแห่งชาติ”     เพราะการศึกษาของไทยจะ “ปฏิรูป” ไปทางไหน....       เป็นคำถามที่แตะในส่วนใด ล้วนแต่มี “ปัญหา”     คุณภาพนักเรียนไทยด้อยลง?? อ่านไม่ออก เขียนก็ไม่เป็น ...กลายเป็นเรื่องที่ต้องถกคู่ดีเบต  : ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. และ พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่ เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษานักวิชาการ : ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล   สื่อมวลชนอิสระ  และ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค  นักวิชาการด้านการศึกษา ทีดีอาร์ไอรายการ “เถียงให้รู้เรื่อง” ตอน “อ่าน-เขียนไม่ได้ คนละเรื่องกับนาฎศิลป์?” วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคมนี้ เวลา 12.10 น. ทางไทยพีบีเอสติดตามรายการ “เถียงให้รู้เรื่อง” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.10 – 13.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง  www.thaipbs.or.th/live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด
ละครบ้านชนะใจ

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย