ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

การถ่ายรูป บันทึกภาพ

ออกอากาศ29 พ.ย. 62

เรื่องเล่าจากละคร

การถ่ายรูป บันทึกภาพ

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

ปลายจวักเป็นละครอีกเรื่องที่ถ่ายทอดเรื่องราวเป็นภาพได้สวยงามจับใจ งามด้วยเครื่องแต่งกาย งามด้วยฉากสถานที่ งามด้วยอาหารรสล้ำทั้งคาวหวาน จนเกิดคำถามในใจเกี่ยวกับการถ่ายรูป หรือบันทึกภาพขึ้นมา คำถามข้อแรกคือ นอกเหนือจากการทำภาพออกมาให้สวยงามผ่านละครเรื่องนี้ ความสมจริงถูกต้องตามประวัติศาสตร์ย่อมต้องเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ดังนั้นการสืบค้นข้อมูล นอกเหนือจากบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ยังพอมีหลักฐานเป็นภาพหรือไม่ อีกคำถามข้อหนึ่ง คือการบันทึกภาพมีวิวัฒนาการอย่างไร ปัจจุบันจึงสามารถบันทึกได้คมชัดและสวยงามเพียงนี้

พุทธศักราช 2382 วิทยาการถ่ายรูปถือกำเนิดขึ้นให้โลกได้รับรู้ กระทั่ง 6 ปีต่อมา บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ ชาวฝรั่งเศส ได้เดินทางมาพร้อมนำความรู้เรื่องการถ่ายรูปนี้มาเผยแพร่สู่สยามประเทศ โดยบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้นำกล้องไปถ่ายภาพขุนนาง ถ่ายสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ถูกบันทึกอยู่ในหนังสือเล่าเรื่องกรุงสยาม โดยระบบการถ่ายรูปแบบแรกเรียกว่า “กระบวนการดาแกโรไทป์” ซึ่งทำได้ยากยิ่ง ได้ใช้เวลาฝึกฝนในการเรียนรู้และลงมือ ปัจจุบันภาพถ่ายแบบดาแกโรไทป์ในประเทศไทยไม่มีให้เห็นแล้ว

ต่อมาเกิดนวัตกรรมการถ่ายภาพรูปแบบใหม่ที่สะดวกกว่าเดิม คือมีการฉายแสง แช่น้ำยา เป็นเทคนิคฟิล์มกระจกที่ทำให้ได้ภาพขาวดำ โดยบุคคลสำคัญในประเทศไทยที่เรียนรู้การถ่ายรูปในรูปแบบนี้คือหลวงอัคนีนฤมิตร หรือ จิตร จิตราคนี เจ้าของร้านถ่ายรูปแห่งแรกในแผ่นดินสยาม การถ่ายรูปในรูปแบบนี้นิยมเรื่อยมาจนถึงปี 2490 จากนั้นรูปแบบการถ่าย หรือกล้องถ่ายรูปจึงค่อย ๆ พัฒนาให้ใช้งานได้สะดวกและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จนกลายเป็นระบบดิจิทัลในปัจจุบัน

การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในสังคมที่คุ้นชินกับอะไรแบบเดิม เป็นเรื่องต้องใช้เวลา เรื่องการถ่ายรูป หรือกล้องถ่ายรูปก็เช่นกัน ในช่วงแรกย่อมมีความเชื่อว่ากล้องถ่ายรูปคือเครื่องดูดวิญญาณ ภาพที่ถ่ายออกมาจะเป็นภาพคนตาย กระทั่งเจ้านายบางพระองค์ก็ยังกลัวการถ่ายรูป เราจึงไม่เคยได้เห็นรูปของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หรือรูปของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ก็ตามที

วัฒนธรรมใหม่ ๆ จะแพร่หลายในวงกว้าง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับเสาหลัก หรือศูนย์รวมจิตใจประชาชนอย่างพระมหากษัตริย์ คนทั่วไปจึงเริ่มรู้จักและเข้าถึงการถ่ายรูปเมื่อรัชกาลที่ 5 ให้ช่างภาพนำกล้องไปถ่ายภาพตามต่างจังหวัด ล่องเรือไปตามชนบท จากนั้นจึงมีการอัดภาพ จนเกิดเป็นความคุ้นชิน ไม่กลัวการถ่ายรูปอีกต่อไป และมีร้านถ่ายรูปเกิดขึ้นหลายร้านตามมา สืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่ 6 และสืบต่ออย่างยาวนานมาถึงปัจจุบันที่การถ่ายรูปกลายเป็นเรื่องปรกติของชาวไทยและมวลมนุษยชาติ

การถ่ายภาพเคลื่อนไหว แม้จะสั้น หรือยาว เราเรียกกันว่า “วิดีโอ” แต่หากมีเนื้อหายาวมาก มีเรื่องราว มีการดำเนินเรื่อง จึงกลายเป็น “ภาพยนตร์” แท้จริงแล้วการถ่ายภาพยนตร์มีในสยามประเทศตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจได้ถ่ายภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ในงานวัดเบญจมบพิตร จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการจัดทำภาพยนตร์เรื่องแรกของไทยคือ “นางสาวสุวรรณ” เกิดโรงถ่ายภาพยนตร์ที่มีความพร้อมที่สุดในยุคนั้น พร้อมสรรพด้วยการอัดเสียง หรือเทคนิคต่าง ๆ ในการทำภาพยนตร์ โรงถ่ายดังกล่าวคือโรงภาพยนตร์ศรีกรุงของพี่น้องสกุลวสุวัตนั่นเอง เกิดความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาเรื่อย ๆ การชมภาพยนตร์กลายเป็นความบันเทิงรูปแบบใหม่ของชาวไทย จากนั้นการถ่ายภาพเคลื่อนไหวจึงได้พัฒนาเรื่อยมา จนปัจจุบันกลายเป็นกล้องทางโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ตโฟนที่ถ่ายได้สะดวก

เพียงภาพถ่ายหนึ่งใบก็มีคุณค่ามากมายที่ใครหลายคนอาจคาดไม่ถึง ภาพถ่ายทำหน้าที่เสมือนดวงตามนุษย์ ต่างตรงที่ดวงตาของมนุษย์เรานั้นเห็นทุกสิ่งมากมายที่พัดผ่านเข้ามา ยากที่จะจดจำได้ทั้งหมด ภาพถ่ายจึงเป็นทั้งดวงตา เป็นทั้งเครื่องมือที่ช่วยเราบันทึกความทรงจำเหล่านั้นเก็บไว้ แม้จำเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่หากได้มองภาพถ่าย ย่อมสามารถช่วยรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ดังนั้นแม้ภาพหนึ่งภาพ มองภายนอกอาจจะพบว่ามันไม่มีเสียง แต่เมื่อพบว่ามันกักเก็บความทรงจำไว้มากมาย เมื่อเราได้รำลึกความหลังมากมายจากภาพเหล่านั้น เราจะพบว่าภาพหนึ่งใบกำลังสื่อสารกับเราด้วยข้อความนานัปการ


รายการอ้างอิง

เอนก นาวิกมูล. นักเขียนอิสระและกรรมการบ้านพิพิธภัณฑ์. สัมภาษณ์. 15 มีนาคม 2563.

เรื่องเล่าจากละคร

การถ่ายรูป บันทึกภาพ

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

ปลายจวักเป็นละครอีกเรื่องที่ถ่ายทอดเรื่องราวเป็นภาพได้สวยงามจับใจ งามด้วยเครื่องแต่งกาย งามด้วยฉากสถานที่ งามด้วยอาหารรสล้ำทั้งคาวหวาน จนเกิดคำถามในใจเกี่ยวกับการถ่ายรูป หรือบันทึกภาพขึ้นมา คำถามข้อแรกคือ นอกเหนือจากการทำภาพออกมาให้สวยงามผ่านละครเรื่องนี้ ความสมจริงถูกต้องตามประวัติศาสตร์ย่อมต้องเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ดังนั้นการสืบค้นข้อมูล นอกเหนือจากบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ยังพอมีหลักฐานเป็นภาพหรือไม่ อีกคำถามข้อหนึ่ง คือการบันทึกภาพมีวิวัฒนาการอย่างไร ปัจจุบันจึงสามารถบันทึกได้คมชัดและสวยงามเพียงนี้

พุทธศักราช 2382 วิทยาการถ่ายรูปถือกำเนิดขึ้นให้โลกได้รับรู้ กระทั่ง 6 ปีต่อมา บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ ชาวฝรั่งเศส ได้เดินทางมาพร้อมนำความรู้เรื่องการถ่ายรูปนี้มาเผยแพร่สู่สยามประเทศ โดยบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้นำกล้องไปถ่ายภาพขุนนาง ถ่ายสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ถูกบันทึกอยู่ในหนังสือเล่าเรื่องกรุงสยาม โดยระบบการถ่ายรูปแบบแรกเรียกว่า “กระบวนการดาแกโรไทป์” ซึ่งทำได้ยากยิ่ง ได้ใช้เวลาฝึกฝนในการเรียนรู้และลงมือ ปัจจุบันภาพถ่ายแบบดาแกโรไทป์ในประเทศไทยไม่มีให้เห็นแล้ว

ต่อมาเกิดนวัตกรรมการถ่ายภาพรูปแบบใหม่ที่สะดวกกว่าเดิม คือมีการฉายแสง แช่น้ำยา เป็นเทคนิคฟิล์มกระจกที่ทำให้ได้ภาพขาวดำ โดยบุคคลสำคัญในประเทศไทยที่เรียนรู้การถ่ายรูปในรูปแบบนี้คือหลวงอัคนีนฤมิตร หรือ จิตร จิตราคนี เจ้าของร้านถ่ายรูปแห่งแรกในแผ่นดินสยาม การถ่ายรูปในรูปแบบนี้นิยมเรื่อยมาจนถึงปี 2490 จากนั้นรูปแบบการถ่าย หรือกล้องถ่ายรูปจึงค่อย ๆ พัฒนาให้ใช้งานได้สะดวกและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จนกลายเป็นระบบดิจิทัลในปัจจุบัน

การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในสังคมที่คุ้นชินกับอะไรแบบเดิม เป็นเรื่องต้องใช้เวลา เรื่องการถ่ายรูป หรือกล้องถ่ายรูปก็เช่นกัน ในช่วงแรกย่อมมีความเชื่อว่ากล้องถ่ายรูปคือเครื่องดูดวิญญาณ ภาพที่ถ่ายออกมาจะเป็นภาพคนตาย กระทั่งเจ้านายบางพระองค์ก็ยังกลัวการถ่ายรูป เราจึงไม่เคยได้เห็นรูปของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หรือรูปของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ก็ตามที

วัฒนธรรมใหม่ ๆ จะแพร่หลายในวงกว้าง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับเสาหลัก หรือศูนย์รวมจิตใจประชาชนอย่างพระมหากษัตริย์ คนทั่วไปจึงเริ่มรู้จักและเข้าถึงการถ่ายรูปเมื่อรัชกาลที่ 5 ให้ช่างภาพนำกล้องไปถ่ายภาพตามต่างจังหวัด ล่องเรือไปตามชนบท จากนั้นจึงมีการอัดภาพ จนเกิดเป็นความคุ้นชิน ไม่กลัวการถ่ายรูปอีกต่อไป และมีร้านถ่ายรูปเกิดขึ้นหลายร้านตามมา สืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่ 6 และสืบต่ออย่างยาวนานมาถึงปัจจุบันที่การถ่ายรูปกลายเป็นเรื่องปรกติของชาวไทยและมวลมนุษยชาติ

การถ่ายภาพเคลื่อนไหว แม้จะสั้น หรือยาว เราเรียกกันว่า “วิดีโอ” แต่หากมีเนื้อหายาวมาก มีเรื่องราว มีการดำเนินเรื่อง จึงกลายเป็น “ภาพยนตร์” แท้จริงแล้วการถ่ายภาพยนตร์มีในสยามประเทศตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจได้ถ่ายภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ในงานวัดเบญจมบพิตร จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการจัดทำภาพยนตร์เรื่องแรกของไทยคือ “นางสาวสุวรรณ” เกิดโรงถ่ายภาพยนตร์ที่มีความพร้อมที่สุดในยุคนั้น พร้อมสรรพด้วยการอัดเสียง หรือเทคนิคต่าง ๆ ในการทำภาพยนตร์ โรงถ่ายดังกล่าวคือโรงภาพยนตร์ศรีกรุงของพี่น้องสกุลวสุวัตนั่นเอง เกิดความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาเรื่อย ๆ การชมภาพยนตร์กลายเป็นความบันเทิงรูปแบบใหม่ของชาวไทย จากนั้นการถ่ายภาพเคลื่อนไหวจึงได้พัฒนาเรื่อยมา จนปัจจุบันกลายเป็นกล้องทางโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ตโฟนที่ถ่ายได้สะดวก

เพียงภาพถ่ายหนึ่งใบก็มีคุณค่ามากมายที่ใครหลายคนอาจคาดไม่ถึง ภาพถ่ายทำหน้าที่เสมือนดวงตามนุษย์ ต่างตรงที่ดวงตาของมนุษย์เรานั้นเห็นทุกสิ่งมากมายที่พัดผ่านเข้ามา ยากที่จะจดจำได้ทั้งหมด ภาพถ่ายจึงเป็นทั้งดวงตา เป็นทั้งเครื่องมือที่ช่วยเราบันทึกความทรงจำเหล่านั้นเก็บไว้ แม้จำเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่หากได้มองภาพถ่าย ย่อมสามารถช่วยรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ดังนั้นแม้ภาพหนึ่งภาพ มองภายนอกอาจจะพบว่ามันไม่มีเสียง แต่เมื่อพบว่ามันกักเก็บความทรงจำไว้มากมาย เมื่อเราได้รำลึกความหลังมากมายจากภาพเหล่านั้น เราจะพบว่าภาพหนึ่งใบกำลังสื่อสารกับเราด้วยข้อความนานัปการ


รายการอ้างอิง

เอนก นาวิกมูล. นักเขียนอิสระและกรรมการบ้านพิพิธภัณฑ์. สัมภาษณ์. 15 มีนาคม 2563.

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด
ละครบ้านชนะใจ

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย