เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
นอกเหนือจากการเป็นละครพีเรียด อิงประวัติศาสตร์ ที่บอกเล่าเรื่องราวของอาหารไทยไปพร้อมกับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปลายจวักยังคงเป็นละครรักโรแมนติก ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความรักระหว่างพระนางได้อย่างงดงาม หวานซึ้ง และอิ่มเอมใจไม่แพ้กับรสอาหารในเรื่อง เหตุการณ์สำคัญอีกหนึ่งเหตุการณ์ของละครเรื่องนี้ จึงเป็นงานแต่งงานระหว่างคุณเลิศกับแม่อ่อน ชวนให้เกิดการศึกษาตามมาว่าประเพณีการแต่งงานในสยามประเทศนั้นเป็นอย่างไร
คำว่า “แต่งงาน” นั้นมีคำศัพท์หรูหราดังเดิมอยู่สองคำที่จำแนกประเภทของการแต่งงานไว้
ภายหลังกฎเกณฑ์เรื่องเจ้าสาวอยู่บ้านเจ้าบ่าว หรือเจ้าบ่าวอยู่บ้านเจ้าสาวเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกแล้ว จึงนิยมเรียกเพียงแค่ “งานวิวาห์” หรือ “งานมงคลสมรส” อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมการแต่งงานนั้นย่อมมีรายละเอียดปลีกย่อยที่สลับซับซ้อนอยู่ในทุกประเทศ
สำหรับประเทศไทยนั้น ในสมัยก่อนที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรส การสมรสอย่างเป็นทางการในสมัยก่อนจึงเริ่มต้นที่ผู้ชายมาสู่ขอผู้หญิง การที่ชายหญิงจะเจอกันจึงต้องมีผู้ทำหน้าที่ “พ่อสื่อแม่ชัก” เริ่มจากการแนะนำให้พ่อแม่ฝ่ายชายได้รู้จักพ่อแม่ฝ่ายหญิง พ่อสื่อแม่ชักทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาสองครอบครัว สานสัมพันธ์ นัดเจอกันที่วัด บ้าน หรือตามพิธีรีตองต่าง ๆ อาชีพบริษัทจัดหาคู่จึงมีมาตั้งแต่อดีตแล้ว เพียงแต่มิได้เข้าหาหนุ่มสาวโดยตรง มุ่งเน้นที่ผู้ปกครอง บ่อยครั้งก็เป็นการแต่งงานแบบคลุมถุงชน ที่กว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะได้พบกัน ได้ทำความรู้จักกันอย่างจริงจังก็เป็นช่วงคืนส่งตัวเข้าหอเลย
ตัวอย่างการทำหน้าที่พ่อสื่อแม่ชักมีให้เห็นในวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ดังเหตุการณ์ที่พ่อสื่อแม่ชักมาทูลกับเสด็จในการขอแม่พลอยให้กับคุณเปรม ก็มีการแนะนำให้เสด็จรู้ว่าคุณเปรมนั้นมีเชื้อสาย “เจ้าคุณโชฎึก” ซึ่งเปรียบได้กับเศรษฐีที่รวยเป็นอันดับต้นของประเทศในปัจจุบัน แสดงว่าคุณเปรมนั้นรวยจริง มั่งคั่ง มั่งมีจริง ๆ การแนะนำเหล่านี้ล้วนเป็นกระบวนการ หรือหน้าที่ของพ่อสื่อแม่ชัก
ครั้นเมื่อผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายตกลง ก็มีการนัดพบปะกัน ดูฤกษ์งามยามดีที่จะจัดหาเถ้าแก่มาทาบทามสู่ขอฝ่ายหญิง ดูฤกษ์หมั้น นำสินสอดทองหมั้น ของหมั้นมาให้ โดยนิยมเป็นแหวน ตลอดจนจัดพิธีรดน้ำสังข์ ส่งตัวเข้าหอ ซึ่งฝ่ายชายจะต้องไปนอนเฝ้าเรือนหอเป็นระยะเวลา 7 วัน ดังที่ปรากฏในขุนช้างขุนแผน ก่อนจะแต่งงานกับนางพิม พลายแก้วก็ต้องกระทำเช่นนี้ เพื่อเป็นการทดสอบความมั่นคง ความแน่วแน่ และความจริงใจของผู้ชาย ต่อมาในระยะหลังก็ได้มีการตัดทอนพิธีการเหล่านี้ให้สั้นลง
ทั้งนี้ ยังพบการสมรสในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า “สมรสพระราชทาน” ซึ่งเป็นการให้เจ้านายช่วยหลั่งน้ำให้ในพิธีรดน้ำสังข์ ปัจจุบัน งานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสมักนิยมจัดตามโรงแรมต่าง ๆ แต่ในสมัยก่อนจะนิยมจัดที่บ้านเจ้าสาว ขนมที่ใช้ในงานเลี้ยงจะนิยมเป็นขนมที่สื่อถึงการอยู่ครองคู่กัน เช่น ขนมกง ข้าวเหนียวถั่วดำ ปลากริมกับแชงมา การจัดอาหารสำรับเข้าคู่ ทุกสิ่งอย่างเหล่านี้ล้วนมีความหมายตามวัตถุประสงค์การจัดพิธีฉลองมงคลสมรสนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การเสกสมรสของพระบรมวงศานุวงศ์ก็ควรค่าแก่การศึกษา เพราะมิใช่เพียงแค่การเสกสมรสธรรมดา แต่ยังคงส่งผลต่อการสืบสันตติวงศ์ได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้านายผู้สืบสันตติวงศ์ หรือรัชทายาท การสมรสย่อมเป็นเรื่องใหญ่ ต้องได้รับพระบรมราชานุญาต คู่สมรสจะได้รับการยกย่องให้เป็นสะใภ้หลวง บุตรโอรสที่เกิดมาก็จะได้อยู่ในลำดับสันตติวงศ์ ดังนั้น การเสกสมรสของเจ้านายจึงเป็นมากกว่าการเสกสมรส เมื่อต้องคำนึงถึงการสืบสันตติวงศ์ และการจะสืบสันตติวงศ์ได้ย่อมดูที่ลำดับเป็นสำคัญ ดังเห็นได้จากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงไม่มีพระราชโอรส ราชสมบัติจึงตกอยู่กับพระอนุชาอีกสายหนึ่ง นั่นคือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นั่นเอง จึงสรุปได้ว่าลำดับจะถูกเปลี่ยน หรือส่งต่ออีกสายหนึ่งทันที หากรัชทายาทไม่มีโอรส
การศึกษาเรื่องการแต่งงาน จึงนำมาซึ่งการฉายภาพประเพณี วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นสูง เจ้านายต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่มีขนบธรรมเนียมให้ต้องประพฤติปฏิบัติ หรือสืบทอดต่อกันมา การศึกษาประเพณีการแต่งงานจึงย่อมนำพาให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้ด้วยเช่นกัน และเมื่อได้รู้ประวัติศาสตร์แล้ว ย่อมสามารถอธิบายถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง
รายการอ้างอิง
วิษณุ เครืองาม, ศาสตราจารย์กิตติคุณ, สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2563.
เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
นอกเหนือจากการเป็นละครพีเรียด อิงประวัติศาสตร์ ที่บอกเล่าเรื่องราวของอาหารไทยไปพร้อมกับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปลายจวักยังคงเป็นละครรักโรแมนติก ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความรักระหว่างพระนางได้อย่างงดงาม หวานซึ้ง และอิ่มเอมใจไม่แพ้กับรสอาหารในเรื่อง เหตุการณ์สำคัญอีกหนึ่งเหตุการณ์ของละครเรื่องนี้ จึงเป็นงานแต่งงานระหว่างคุณเลิศกับแม่อ่อน ชวนให้เกิดการศึกษาตามมาว่าประเพณีการแต่งงานในสยามประเทศนั้นเป็นอย่างไร
คำว่า “แต่งงาน” นั้นมีคำศัพท์หรูหราดังเดิมอยู่สองคำที่จำแนกประเภทของการแต่งงานไว้
ภายหลังกฎเกณฑ์เรื่องเจ้าสาวอยู่บ้านเจ้าบ่าว หรือเจ้าบ่าวอยู่บ้านเจ้าสาวเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกแล้ว จึงนิยมเรียกเพียงแค่ “งานวิวาห์” หรือ “งานมงคลสมรส” อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมการแต่งงานนั้นย่อมมีรายละเอียดปลีกย่อยที่สลับซับซ้อนอยู่ในทุกประเทศ
สำหรับประเทศไทยนั้น ในสมัยก่อนที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรส การสมรสอย่างเป็นทางการในสมัยก่อนจึงเริ่มต้นที่ผู้ชายมาสู่ขอผู้หญิง การที่ชายหญิงจะเจอกันจึงต้องมีผู้ทำหน้าที่ “พ่อสื่อแม่ชัก” เริ่มจากการแนะนำให้พ่อแม่ฝ่ายชายได้รู้จักพ่อแม่ฝ่ายหญิง พ่อสื่อแม่ชักทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาสองครอบครัว สานสัมพันธ์ นัดเจอกันที่วัด บ้าน หรือตามพิธีรีตองต่าง ๆ อาชีพบริษัทจัดหาคู่จึงมีมาตั้งแต่อดีตแล้ว เพียงแต่มิได้เข้าหาหนุ่มสาวโดยตรง มุ่งเน้นที่ผู้ปกครอง บ่อยครั้งก็เป็นการแต่งงานแบบคลุมถุงชน ที่กว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะได้พบกัน ได้ทำความรู้จักกันอย่างจริงจังก็เป็นช่วงคืนส่งตัวเข้าหอเลย
ตัวอย่างการทำหน้าที่พ่อสื่อแม่ชักมีให้เห็นในวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ดังเหตุการณ์ที่พ่อสื่อแม่ชักมาทูลกับเสด็จในการขอแม่พลอยให้กับคุณเปรม ก็มีการแนะนำให้เสด็จรู้ว่าคุณเปรมนั้นมีเชื้อสาย “เจ้าคุณโชฎึก” ซึ่งเปรียบได้กับเศรษฐีที่รวยเป็นอันดับต้นของประเทศในปัจจุบัน แสดงว่าคุณเปรมนั้นรวยจริง มั่งคั่ง มั่งมีจริง ๆ การแนะนำเหล่านี้ล้วนเป็นกระบวนการ หรือหน้าที่ของพ่อสื่อแม่ชัก
ครั้นเมื่อผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายตกลง ก็มีการนัดพบปะกัน ดูฤกษ์งามยามดีที่จะจัดหาเถ้าแก่มาทาบทามสู่ขอฝ่ายหญิง ดูฤกษ์หมั้น นำสินสอดทองหมั้น ของหมั้นมาให้ โดยนิยมเป็นแหวน ตลอดจนจัดพิธีรดน้ำสังข์ ส่งตัวเข้าหอ ซึ่งฝ่ายชายจะต้องไปนอนเฝ้าเรือนหอเป็นระยะเวลา 7 วัน ดังที่ปรากฏในขุนช้างขุนแผน ก่อนจะแต่งงานกับนางพิม พลายแก้วก็ต้องกระทำเช่นนี้ เพื่อเป็นการทดสอบความมั่นคง ความแน่วแน่ และความจริงใจของผู้ชาย ต่อมาในระยะหลังก็ได้มีการตัดทอนพิธีการเหล่านี้ให้สั้นลง
ทั้งนี้ ยังพบการสมรสในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า “สมรสพระราชทาน” ซึ่งเป็นการให้เจ้านายช่วยหลั่งน้ำให้ในพิธีรดน้ำสังข์ ปัจจุบัน งานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสมักนิยมจัดตามโรงแรมต่าง ๆ แต่ในสมัยก่อนจะนิยมจัดที่บ้านเจ้าสาว ขนมที่ใช้ในงานเลี้ยงจะนิยมเป็นขนมที่สื่อถึงการอยู่ครองคู่กัน เช่น ขนมกง ข้าวเหนียวถั่วดำ ปลากริมกับแชงมา การจัดอาหารสำรับเข้าคู่ ทุกสิ่งอย่างเหล่านี้ล้วนมีความหมายตามวัตถุประสงค์การจัดพิธีฉลองมงคลสมรสนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การเสกสมรสของพระบรมวงศานุวงศ์ก็ควรค่าแก่การศึกษา เพราะมิใช่เพียงแค่การเสกสมรสธรรมดา แต่ยังคงส่งผลต่อการสืบสันตติวงศ์ได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้านายผู้สืบสันตติวงศ์ หรือรัชทายาท การสมรสย่อมเป็นเรื่องใหญ่ ต้องได้รับพระบรมราชานุญาต คู่สมรสจะได้รับการยกย่องให้เป็นสะใภ้หลวง บุตรโอรสที่เกิดมาก็จะได้อยู่ในลำดับสันตติวงศ์ ดังนั้น การเสกสมรสของเจ้านายจึงเป็นมากกว่าการเสกสมรส เมื่อต้องคำนึงถึงการสืบสันตติวงศ์ และการจะสืบสันตติวงศ์ได้ย่อมดูที่ลำดับเป็นสำคัญ ดังเห็นได้จากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงไม่มีพระราชโอรส ราชสมบัติจึงตกอยู่กับพระอนุชาอีกสายหนึ่ง นั่นคือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นั่นเอง จึงสรุปได้ว่าลำดับจะถูกเปลี่ยน หรือส่งต่ออีกสายหนึ่งทันที หากรัชทายาทไม่มีโอรส
การศึกษาเรื่องการแต่งงาน จึงนำมาซึ่งการฉายภาพประเพณี วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นสูง เจ้านายต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่มีขนบธรรมเนียมให้ต้องประพฤติปฏิบัติ หรือสืบทอดต่อกันมา การศึกษาประเพณีการแต่งงานจึงย่อมนำพาให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้ด้วยเช่นกัน และเมื่อได้รู้ประวัติศาสตร์แล้ว ย่อมสามารถอธิบายถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง
รายการอ้างอิง
วิษณุ เครืองาม, ศาสตราจารย์กิตติคุณ, สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2563.