เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
คำกล่าวนี้ยังใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย ยังคงมีหลายคู่ยืนยันให้เห็นว่าคำกล่าวนี้เป็นจริง รวมทั้งคู่ของพ่อกล้ากับแหม่มมาเรียในละครเรื่องปลายจวักก็เช่นกัน ที่แม้แรกเริ่มเดิมทีคุณหลวง ผู้เป็นบิดา จะมิอาจทำใจยอมรับได้กับการที่ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนได้เมียแหม่ม ทว่าสุดท้ายทั้งคู่ก็ฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการไปได้
ความรักระหว่างคนไทยกับคนต่างชาตินั้นมีมานานแล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด ในยุคสยามโบราณมีเพียงไม่กี่ชาติเท่านั้น อาทิ พม่า, ญวน, เขมร, มอญ หรือมลายู ครั้นลุถึงช่วงสมัยอยุธยาที่มีการติดต่อกับชาวต่างชาติฝั่งตะวันตก เริ่มมีชาวฮอลันดา หรือชาวโปรตุเกสเข้ามายังแผ่นดินสยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็มีชาวฝรั่งเศสเข้ามา ครอบคลุมทั้งพ่อค้า ทหาร หรือบาทหลวง จึงเริ่มมีความรักระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติแพร่หลาย โดยทั่วไปมักเป็นหญิงไทยที่ได้สามีต่างชาติ ส่วนหญิงต่างชาติได้สามีไทยนั้นพบเห็นได้น้อย ยิ่งไปกว่านั้น บางคราก็มีกรณีที่ต่างชาติมาเจอกับต่างชาติในแผ่นดินสยาม ดังเช่นฟอลคอนกับมารี กีมาร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั่นเอง
ตั้งแต่ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นที่รู้กันดีว่าเกิดความขัดแย้งกันภายในราชสำนัก จนกระทั่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงไม่ชอบต่างชาติเป็นทุนเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศส จึงได้มีการออกกฎหมายห้ามคนไทยแต่งงานกับชาวต่างชาติ โดยมุ่งเน้นไปที่ฝรั่งเศสเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เราไม่ถือว่าจีน แขก หรืออินเดีย ชาวตะวันออกด้วยกันเหล่านี้เป็นชาวต่างชาติ จึงกล่าวสรุปได้ว่ากฎหมายดังกล่าวมิต้องการให้คนไทยอยู่กินกับฝรั่งเศสเท่านั้น ซึ่งก็ได้มีการยกเลิกในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นรัชกาลที่ 1
แม้กฎหมายดังกล่าวจะถูกยกเลิกในเวลาต่อมา แต่ในทางปฏิบัติ ก็ยังมิค่อยมีใครกล้าแต่งงานกับฝรั่งอยู่ดี ส่วนในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 4 ก็พบเจ้าจอมจากชาติลาว, เขมร, ญวน และมอญ ทว่ากลับไม่พบสตรีจากพม่ามาถวายตัวเป็นเจ้าจอมเลย เพราะยังคงถือว่าพม่าเป็นศัตรูบ้านเมืองนั่นเอง ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีการส่งเจ้านายไปเรียนต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน และรัสเซีย ล้วนแล้วแต่เป็นเจ้านายผู้ชายทั้งสิ้น เมื่อไปพบปะสตรีต่างชาติ บ้างก็มีความรักและได้เลิกราในเวลาต่อมา บ้างก็จริงจัง เสกสมรส และนำตัวกลับมาเมืองไทย
ตัวอย่างความรักระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเจ้านายชั้นสูง ที่ชัดเจนที่สุดคือ สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ไปพบรักกับแหม่มชาวรัสเซีย มีการเสกสมรสโดยไม่ขอพระบรมราชานุญาต ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากเจ้านายจะแต่งงาน ล้วนแล้วแต่ต้องขอพระบรมราชานุญาตทั้งสิ้น ผลปรากฏว่ารัชกาลที่ 5 กริ้วมาก และในเวลาต่อมาล่วงถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ก็เกิดปัญหาหย่าร้างกัน แหม่มแคทเธอรีนได้เดินทางกลับไปยังมาตุภูมิ ส่วนเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถก็ทรงมีชายาชาวไทย กรณีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าชีวิตการสมรสกับชายาฝรั่งมักจะไม่ราบรื่น
ขุนนางต่าง ๆ ในยุคนั้น ก็มีปรากฏให้เห็นว่ามีชีวิตรักกับชาวต่างชาติเช่นกัน ทั้งตลอดรอดฝั่ง ทั้งหย่าร้าง เหตุผลที่ภรรยาแหม่มทนไม่ได้นั้น อนุมานได้ว่าอาจเกิดจากเรื่องสภาพแวดล้อม หรือวัฒนธรรมที่เข้ากันไม่ได้ ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเป็นชีวิตคู่ที่ราบรื่นคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ทรงเรียนแพทย์ที่เยอรมนี ได้ชายาชาวเยอรมัน ซึ่งไม่ได้มีการหย่าร้างแต่อย่างใด ส่วนผู้หญิงไทย หากครองฐานันดรศักดิ์เช่นหม่อมเจ้า เมื่อคิดจะเสกสมรสกับชาวต่างชาติผู้ชาย ก็เสมือนกับการสมรสกับคนธรรมดา จะต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์เสียก่อน
หลังสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา กระทั่งถึงปัจจุบัน คนไทยแต่งงานกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันตก จึงยิ่งไม่ใช่เรื่องผิดแผกใด ๆ สมดังคำกล่าวที่เกริ่นไว้ในตอนต้นอย่างแท้จริงว่า “รักไม่มีเชื้อชาติศาสนา รักไม่มีกำแพงขวางกั้น”
รายการอ้างอิง
วิษณุ เครืองาม, ศาสตราจารย์กิตติคุณ, สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2563.
เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
คำกล่าวนี้ยังใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย ยังคงมีหลายคู่ยืนยันให้เห็นว่าคำกล่าวนี้เป็นจริง รวมทั้งคู่ของพ่อกล้ากับแหม่มมาเรียในละครเรื่องปลายจวักก็เช่นกัน ที่แม้แรกเริ่มเดิมทีคุณหลวง ผู้เป็นบิดา จะมิอาจทำใจยอมรับได้กับการที่ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนได้เมียแหม่ม ทว่าสุดท้ายทั้งคู่ก็ฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการไปได้
ความรักระหว่างคนไทยกับคนต่างชาตินั้นมีมานานแล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด ในยุคสยามโบราณมีเพียงไม่กี่ชาติเท่านั้น อาทิ พม่า, ญวน, เขมร, มอญ หรือมลายู ครั้นลุถึงช่วงสมัยอยุธยาที่มีการติดต่อกับชาวต่างชาติฝั่งตะวันตก เริ่มมีชาวฮอลันดา หรือชาวโปรตุเกสเข้ามายังแผ่นดินสยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็มีชาวฝรั่งเศสเข้ามา ครอบคลุมทั้งพ่อค้า ทหาร หรือบาทหลวง จึงเริ่มมีความรักระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติแพร่หลาย โดยทั่วไปมักเป็นหญิงไทยที่ได้สามีต่างชาติ ส่วนหญิงต่างชาติได้สามีไทยนั้นพบเห็นได้น้อย ยิ่งไปกว่านั้น บางคราก็มีกรณีที่ต่างชาติมาเจอกับต่างชาติในแผ่นดินสยาม ดังเช่นฟอลคอนกับมารี กีมาร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั่นเอง
ตั้งแต่ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นที่รู้กันดีว่าเกิดความขัดแย้งกันภายในราชสำนัก จนกระทั่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงไม่ชอบต่างชาติเป็นทุนเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศส จึงได้มีการออกกฎหมายห้ามคนไทยแต่งงานกับชาวต่างชาติ โดยมุ่งเน้นไปที่ฝรั่งเศสเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เราไม่ถือว่าจีน แขก หรืออินเดีย ชาวตะวันออกด้วยกันเหล่านี้เป็นชาวต่างชาติ จึงกล่าวสรุปได้ว่ากฎหมายดังกล่าวมิต้องการให้คนไทยอยู่กินกับฝรั่งเศสเท่านั้น ซึ่งก็ได้มีการยกเลิกในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นรัชกาลที่ 1
แม้กฎหมายดังกล่าวจะถูกยกเลิกในเวลาต่อมา แต่ในทางปฏิบัติ ก็ยังมิค่อยมีใครกล้าแต่งงานกับฝรั่งอยู่ดี ส่วนในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 4 ก็พบเจ้าจอมจากชาติลาว, เขมร, ญวน และมอญ ทว่ากลับไม่พบสตรีจากพม่ามาถวายตัวเป็นเจ้าจอมเลย เพราะยังคงถือว่าพม่าเป็นศัตรูบ้านเมืองนั่นเอง ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีการส่งเจ้านายไปเรียนต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน และรัสเซีย ล้วนแล้วแต่เป็นเจ้านายผู้ชายทั้งสิ้น เมื่อไปพบปะสตรีต่างชาติ บ้างก็มีความรักและได้เลิกราในเวลาต่อมา บ้างก็จริงจัง เสกสมรส และนำตัวกลับมาเมืองไทย
ตัวอย่างความรักระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเจ้านายชั้นสูง ที่ชัดเจนที่สุดคือ สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ไปพบรักกับแหม่มชาวรัสเซีย มีการเสกสมรสโดยไม่ขอพระบรมราชานุญาต ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากเจ้านายจะแต่งงาน ล้วนแล้วแต่ต้องขอพระบรมราชานุญาตทั้งสิ้น ผลปรากฏว่ารัชกาลที่ 5 กริ้วมาก และในเวลาต่อมาล่วงถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ก็เกิดปัญหาหย่าร้างกัน แหม่มแคทเธอรีนได้เดินทางกลับไปยังมาตุภูมิ ส่วนเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถก็ทรงมีชายาชาวไทย กรณีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าชีวิตการสมรสกับชายาฝรั่งมักจะไม่ราบรื่น
ขุนนางต่าง ๆ ในยุคนั้น ก็มีปรากฏให้เห็นว่ามีชีวิตรักกับชาวต่างชาติเช่นกัน ทั้งตลอดรอดฝั่ง ทั้งหย่าร้าง เหตุผลที่ภรรยาแหม่มทนไม่ได้นั้น อนุมานได้ว่าอาจเกิดจากเรื่องสภาพแวดล้อม หรือวัฒนธรรมที่เข้ากันไม่ได้ ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเป็นชีวิตคู่ที่ราบรื่นคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ทรงเรียนแพทย์ที่เยอรมนี ได้ชายาชาวเยอรมัน ซึ่งไม่ได้มีการหย่าร้างแต่อย่างใด ส่วนผู้หญิงไทย หากครองฐานันดรศักดิ์เช่นหม่อมเจ้า เมื่อคิดจะเสกสมรสกับชาวต่างชาติผู้ชาย ก็เสมือนกับการสมรสกับคนธรรมดา จะต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์เสียก่อน
หลังสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา กระทั่งถึงปัจจุบัน คนไทยแต่งงานกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันตก จึงยิ่งไม่ใช่เรื่องผิดแผกใด ๆ สมดังคำกล่าวที่เกริ่นไว้ในตอนต้นอย่างแท้จริงว่า “รักไม่มีเชื้อชาติศาสนา รักไม่มีกำแพงขวางกั้น”
รายการอ้างอิง
วิษณุ เครืองาม, ศาสตราจารย์กิตติคุณ, สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2563.