เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
มหรสพของไทยเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย บางประเภทเคยได้รับความนิยมแต่เก่าก่อน มาปัจจุบันกาลความนิยมนั้นอาจสูญสิ้นไปแล้ว แต่มีมหรสพแขนงหนึ่งที่ครองใจชาวไทยมาหลายสิบปี เป็นมหรสพที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่าย และสามารถรับชมพร้อมกันได้ในช่วงเวลาของครอบครัว มหรสพดังกล่าวคือละครโทรทัศน์ หลายเรื่องที่ทำออกมาดีก็เป็นที่ชื่นชมของผู้ชมทุกคน เฉกเช่นละครเรื่องปลายจวัก จึงชวนให้ค้นหาว่าแล้วในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นฉากหลังของละครเรื่องดังกล่าว มหรสพใดกันที่เป็นที่นิยม
มหรสพรื่นเริงอันเป็นที่นิยมในยุครัชกาลที่ 5 จำแนกได้เป็นหลายประเภท เช่น ละคร ลิเก จำอวด การบรรเลงเพลงดนตรีพื้นบ้าน ตลอดจนภาพยนตร์ ที่ในยุคนั้นก็มีแล้วอันเนื่องจากอิทธิพลตะวันตก ทว่ายังคงเป็นรูปแบบหนังเงียบที่มีนักดนตรีคอยบรรเลงสด อย่างไรก็ตาม มหรสพที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งคือวงดนตรี จึงปรากฏวงดนตรีไทยหลายประเภท อาทิ
มีคำกล่าวหนึ่งที่เราเคยได้ยินกัน นั่นคือคำติเตียนที่ว่า “เต้นกินรำกิน” ว่ากันว่าเป็นอาชีพที่เลื่อนลอย ไม่เจริญ ต่างจากอาชีพข้าราชการ ที่มั่นคงและทุกคนให้การยกย่องอย่างลิบลับ อาจารย์ชนก สาคริก ให้ความเห็นอย่างน่าสนใจว่าในสมัยก่อน หากเป็นวงดนตรี หรือมหรสพที่แสดงภายในวัง มีเจ้านายคอยอุปถัมภ์ เลี้ยงดู และสนับสนุน อย่างไรก็ตามย่อมต้องเป็นการเต้นกินรำกินที่มั่นคงและไม่อดตาย เมื่ออยู่ในวัง มีเจ้านายคอยสนับสนุนจึงได้ฝึกฝนอย่างลึกซึ้ง ต่างจากชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีใครสนับสนุน อาจต้องทำมาหากินอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เมื่อไม่มีเวลาฝึกฝนเต็มที่ ฝีไม้ลายมือย่อมไม่ชำนิชำนาญเท่าคนกลุ่มแรก ดังนั้นอาชีพเต้นกินรำกินจะอยู่รอด หรืออดตายนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่นต่างหาก
เมื่อพูดถึงเจ้านายชั้นสูงกับชาวบ้านร้านตลาด แน่นอนว่ารสนิยมความชอบในมหรสพย่อมแตกต่างกัน กลุ่มเจ้านายจะชื่นชอบดนตรีที่คำร้องประณีต อ่อนหวาน นุ่มนวล ขณะที่ชาวบ้านอาจมีรสนิยมที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา หรือมีความตลกขบขันมากกว่าเจ้านาย วงดนตรีแต่ละชนชั้นจึงแตกต่างกันมาก ตามรสนิยมท้องถิ่นและตามรสนิยมของผู้ควบคุมวง
มหรสพประเภทหนึ่งที่น่าสนใจคือมหรสพสมโภช คือการฉลองที่เกิดขึ้นในวาระสำคัญ จะมีมหรสพมารวมตัวกันทุกชนิด เลือกชมได้หลากหลาย หากเปรียบในปัจจุบันให้เห็นภาพ คงเปรียบได้กับเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่ หรือ Big Mountain หลักใหญ่ใจความของมหรสพสมโภชคือสมโภชเพื่อแสดงความยินดี โดยส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น ฉลองครบรอบสถาปนาราชธานี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น ตรงกันข้ามกัน เมื่อเป็นงานศพ หรือพิธีอวมงคล ท่วงทำนองของมหรสพก็จะเปลี่ยนไป เป็นความเศร้าโศกจากการสูญเสีย แต่จุดร่วมกันของมหรสพทั้งสองประเภทคือการใช้ดนตรี ใช้การแสดงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างอารมณ์ให้กับผู้เสพ หรือผู้ร่วมงาน
คุณค่าของมหรสพ คือการสะท้อนสังคมอันละเอียดอ่อน ซับซ้อน และลึกซึ้ง สมดังพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่กล่าวไว้ว่า
มหรสพเป็นการสื่อสารกันระหว่างศิลปินกับผู้ชม ผู้เสพ ศิลปินสะท้อนอารมณ์ส่งต่อไปยังผู้ฟัง ยิ่งผู้ฟังรับอารมณ์นั้นเข้ามาได้มากเท่าไร การสื่อสารระหว่างศิลปินกับผู้ชม ผู้ฟัง ยิ่งสัมฤทธิ์ผลมากขึ้นเท่านั้น เป็นความมหัศจรรย์ เป็นพลานุภาพแห่งการสื่อสาร โดยที่ไม่จำเป็นต้องพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา
ท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ท่ามกลางความนิยมของดนตรีสากล ศิลปินต่างชาติ ตลอดจนแอปพลิเคชันบันเทิงมากมาย อาทิ เน็ตฟลิกซ์ หรือยูทูบ ดูเหมือนว่ามหรสพไทยเดิมอย่างดนตรีไทยจะเริ่มเลือนหายไปเต็มที แต่สิ่งสำคัญที่สุด นักดนตรี หรือผู้อนุรักษ์ดนตรีไทยในปัจจุบัน ต้องไม่มัวมานั่งเศร้าฟูมฟาย หรือเสียใจที่ไม่มีใครให้ความสนใจ ในทางกลับกัน พวกเขาต้องมั่นใจในตนเอง มั่นใจในศักยภาพ มั่นใจในอารมณ์สุนทรีย์ที่จะสื่อสารไปยังผู้ฟัง มั่นใจในพลานุภาพของตน จากนั้นจึงหาหนทางสืบสาน เผยแพร่ให้เข้ากับวัฒนธรรมปัจจุบัน เพราะหากยังดื้อดึง หรือทำตัวเป็นน้ำกับน้ำมัน ทุกสิ่งอย่างที่เรารักและรักษ์ก็จะหายไป การเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้บนเส้นทางที่ไหลบ่าเอ่อล้น นี่ต่างหากจึงจะเรียกว่าผู้อยู่รอด
รายการอ้างอิง
ชนก สาคริก. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาดุริยางคกรรม. สัมภาษณ์. 27 พฤษภาคม 2563.
เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
มหรสพของไทยเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย บางประเภทเคยได้รับความนิยมแต่เก่าก่อน มาปัจจุบันกาลความนิยมนั้นอาจสูญสิ้นไปแล้ว แต่มีมหรสพแขนงหนึ่งที่ครองใจชาวไทยมาหลายสิบปี เป็นมหรสพที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่าย และสามารถรับชมพร้อมกันได้ในช่วงเวลาของครอบครัว มหรสพดังกล่าวคือละครโทรทัศน์ หลายเรื่องที่ทำออกมาดีก็เป็นที่ชื่นชมของผู้ชมทุกคน เฉกเช่นละครเรื่องปลายจวัก จึงชวนให้ค้นหาว่าแล้วในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นฉากหลังของละครเรื่องดังกล่าว มหรสพใดกันที่เป็นที่นิยม
มหรสพรื่นเริงอันเป็นที่นิยมในยุครัชกาลที่ 5 จำแนกได้เป็นหลายประเภท เช่น ละคร ลิเก จำอวด การบรรเลงเพลงดนตรีพื้นบ้าน ตลอดจนภาพยนตร์ ที่ในยุคนั้นก็มีแล้วอันเนื่องจากอิทธิพลตะวันตก ทว่ายังคงเป็นรูปแบบหนังเงียบที่มีนักดนตรีคอยบรรเลงสด อย่างไรก็ตาม มหรสพที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งคือวงดนตรี จึงปรากฏวงดนตรีไทยหลายประเภท อาทิ
มีคำกล่าวหนึ่งที่เราเคยได้ยินกัน นั่นคือคำติเตียนที่ว่า “เต้นกินรำกิน” ว่ากันว่าเป็นอาชีพที่เลื่อนลอย ไม่เจริญ ต่างจากอาชีพข้าราชการ ที่มั่นคงและทุกคนให้การยกย่องอย่างลิบลับ อาจารย์ชนก สาคริก ให้ความเห็นอย่างน่าสนใจว่าในสมัยก่อน หากเป็นวงดนตรี หรือมหรสพที่แสดงภายในวัง มีเจ้านายคอยอุปถัมภ์ เลี้ยงดู และสนับสนุน อย่างไรก็ตามย่อมต้องเป็นการเต้นกินรำกินที่มั่นคงและไม่อดตาย เมื่ออยู่ในวัง มีเจ้านายคอยสนับสนุนจึงได้ฝึกฝนอย่างลึกซึ้ง ต่างจากชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีใครสนับสนุน อาจต้องทำมาหากินอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เมื่อไม่มีเวลาฝึกฝนเต็มที่ ฝีไม้ลายมือย่อมไม่ชำนิชำนาญเท่าคนกลุ่มแรก ดังนั้นอาชีพเต้นกินรำกินจะอยู่รอด หรืออดตายนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่นต่างหาก
เมื่อพูดถึงเจ้านายชั้นสูงกับชาวบ้านร้านตลาด แน่นอนว่ารสนิยมความชอบในมหรสพย่อมแตกต่างกัน กลุ่มเจ้านายจะชื่นชอบดนตรีที่คำร้องประณีต อ่อนหวาน นุ่มนวล ขณะที่ชาวบ้านอาจมีรสนิยมที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา หรือมีความตลกขบขันมากกว่าเจ้านาย วงดนตรีแต่ละชนชั้นจึงแตกต่างกันมาก ตามรสนิยมท้องถิ่นและตามรสนิยมของผู้ควบคุมวง
มหรสพประเภทหนึ่งที่น่าสนใจคือมหรสพสมโภช คือการฉลองที่เกิดขึ้นในวาระสำคัญ จะมีมหรสพมารวมตัวกันทุกชนิด เลือกชมได้หลากหลาย หากเปรียบในปัจจุบันให้เห็นภาพ คงเปรียบได้กับเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่ หรือ Big Mountain หลักใหญ่ใจความของมหรสพสมโภชคือสมโภชเพื่อแสดงความยินดี โดยส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น ฉลองครบรอบสถาปนาราชธานี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น ตรงกันข้ามกัน เมื่อเป็นงานศพ หรือพิธีอวมงคล ท่วงทำนองของมหรสพก็จะเปลี่ยนไป เป็นความเศร้าโศกจากการสูญเสีย แต่จุดร่วมกันของมหรสพทั้งสองประเภทคือการใช้ดนตรี ใช้การแสดงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างอารมณ์ให้กับผู้เสพ หรือผู้ร่วมงาน
คุณค่าของมหรสพ คือการสะท้อนสังคมอันละเอียดอ่อน ซับซ้อน และลึกซึ้ง สมดังพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่กล่าวไว้ว่า
มหรสพเป็นการสื่อสารกันระหว่างศิลปินกับผู้ชม ผู้เสพ ศิลปินสะท้อนอารมณ์ส่งต่อไปยังผู้ฟัง ยิ่งผู้ฟังรับอารมณ์นั้นเข้ามาได้มากเท่าไร การสื่อสารระหว่างศิลปินกับผู้ชม ผู้ฟัง ยิ่งสัมฤทธิ์ผลมากขึ้นเท่านั้น เป็นความมหัศจรรย์ เป็นพลานุภาพแห่งการสื่อสาร โดยที่ไม่จำเป็นต้องพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา
ท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ท่ามกลางความนิยมของดนตรีสากล ศิลปินต่างชาติ ตลอดจนแอปพลิเคชันบันเทิงมากมาย อาทิ เน็ตฟลิกซ์ หรือยูทูบ ดูเหมือนว่ามหรสพไทยเดิมอย่างดนตรีไทยจะเริ่มเลือนหายไปเต็มที แต่สิ่งสำคัญที่สุด นักดนตรี หรือผู้อนุรักษ์ดนตรีไทยในปัจจุบัน ต้องไม่มัวมานั่งเศร้าฟูมฟาย หรือเสียใจที่ไม่มีใครให้ความสนใจ ในทางกลับกัน พวกเขาต้องมั่นใจในตนเอง มั่นใจในศักยภาพ มั่นใจในอารมณ์สุนทรีย์ที่จะสื่อสารไปยังผู้ฟัง มั่นใจในพลานุภาพของตน จากนั้นจึงหาหนทางสืบสาน เผยแพร่ให้เข้ากับวัฒนธรรมปัจจุบัน เพราะหากยังดื้อดึง หรือทำตัวเป็นน้ำกับน้ำมัน ทุกสิ่งอย่างที่เรารักและรักษ์ก็จะหายไป การเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้บนเส้นทางที่ไหลบ่าเอ่อล้น นี่ต่างหากจึงจะเรียกว่าผู้อยู่รอด
รายการอ้างอิง
ชนก สาคริก. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาดุริยางคกรรม. สัมภาษณ์. 27 พฤษภาคม 2563.