เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
การเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญ แม่อ่อน แม่วาด สองศรีพี่น้องจากปลายจวัก กว่าจะเป็นนางข้าหลวงผู้เอกอุด้านการทำอาหารทั้งคาวหวานได้ ก็ต้องผ่านการเรียนรู้จากคุณกรุ่น ผ่านประสบการณ์นานัปการ คุณเลิศจะเป็นมหาดเล็กหลวง หรือคุณเลิศจะเป็นทหารเรือ ก็ย่อมต้องผ่านการศึกษา การเรียนรู้เฉพาะทางของตนเช่นกัน ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับ และการศึกษาก็ถือเป็นสิ่งสำคัญอันสืบเนื่องมาจากการเลิกไพร่
จากการผ่อนปรนภาระหน้าที่ของไพร่ สู่การพระราชทานสิทธิพลเมืองให้แก่ไพร่ หรือประชาชนทั้งปวง และนำมาซึ่งการเลิกไพร่โดยใช้วิธีเข้าเรียนโรงเรียนทหาร แสดงเห็นถึงกระบวนการเลิกไพร่อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบระเบียบ แน่นอนว่าการเลิกไพร่ครั้งนี้มีคุณูปการ และส่งผลดีต่อพสกนิกรชาวไทยหลายประการด้วยกัน
ประการแรก การเลิกไพร่ทำให้ไพร่กลายเป็นประชาชนอย่างแท้จริง เป็นประชาชนที่มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องส่งส่วย หรือมาทำงานให้กับเจ้าขุนมูลนายโดยไม่ได้ผลตอบแทนใด ๆ
ประการต่อมา การเลิกไพร่ยังทำให้ไพร่ได้รับการศึกษา มีโอกาสในการศึกษามากกว่าเดิม โดยก่อนหน้านี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการเล่าเรียนหนังสือในวังอยู่แล้ว ทว่าเมื่อมีการเลิกทาส การศึกษาจึงได้แผ่กระจายไปยังประชาชนคนธรรมดาด้วย
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนวัดมหรรณพาราม ซึ่งถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ทำให้ไพร่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ ความน่าสนใจอีกประการคือโรงเรียนวัดมหรรณพารามนี้ มิได้มีแค่ประชาชนชายเท่านั้น แต่เริ่มมีผู้หญิงแล้วเช่นกัน การศึกษาจึงมิได้จำกัดแค่ผู้ชายเหมือนแต่เดิม ครั้นเมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีการจัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คราวนี้โอกาสทางการศึกษาจึงยิ่งขยายตัวไกลไปยิ่งขึ้น สู่ไพร่ สู่ประชาชนทั่วไป หากใครที่ไม่มีเงินที่จะเล่าเรียน ก็มีทุนเล่าเรียนหลวงเพื่อให้โอกาสคนเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้การศึกษาจึงเริ่มแพร่หลาย มิได้มีการแบ่งแยกเหยียดหยามอีกต่อไปว่าคนมีการศึกษาต้องเป็นคนรวย เป็นลูกขุนน้ำขุนนาง หรือเป็นชนชั้นศักดินาเท่านั้น
ฉะนั้นแล้ว หลังการเลิกไพร่ ไพร่จึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น สิ่งที่มาแทนที่ภาระหน้าที่ไพร่จึงกลายเป็นการศึกษา เพราะการศึกษาจะทำให้ทุกคนมีความรู้ มีปัญญา รู้จักช่องทางในการทำมาหากิน เลี้ยงชีพตนเองได้ยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนนายร้อยทหาร หรือมหาวิทยาลัย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการให้การศึกษาแก่คน เพราะกระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ การให้ที่ล้ำค่าที่สุดจึงเป็นการให้การศึกษา
เมื่อศึกษาทั้งเรื่องการเลิกไพร่และการเลิกทาสควบคู่กันแล้ว จึงทำให้เห็นถึงความสำคัญของการ “ประนีประนอม ประสานประโยชน์” เพราะมนุษย์เราส่วนใหญ่ล้วนเคยชินกับวิถีชีวิต สิ่งที่เป็นมาแต่ก่อนเก่า การจะเปลี่ยนแปลงเรื่องยิ่งใหญ่สักเรื่องหนึ่ง ล้วนต้องใช้เวลา หากผลีผลามด่วนทำอะไรอย่างใจร้อน หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผลที่เกิดขึ้นย่อมเป็นไปในทางแย่
สิ่งสำคัญที่ได้จากการศึกษาเรื่องการเลิกไพร่ จึงทำให้ได้รู้ถึงรากเหง้าตนเอง ได้ตระหนักในความเป็นคนไทย ได้เรียนรู้โครงสร้าง หรือระบบทางสังคมในสมัยก่อน ทั้งนี้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปิยนาถ บุนนาค ยังเน้นย้ำว่าทำให้ได้ตระหนักว่าพระมหากษัตริย์ไทยนั้นทรงทำพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อประชาชน โดยอีกหนึ่งพระราชกรณียกิจที่สำคัญคือการเลิกไพร่ แล้วแทนที่ด้วยการให้การศึกษาเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พึ่งพาตนเอง
เมื่อมองภาพสังคมในปัจจุบันแล้วเชื่อมโยงไปยังในอดีต ที่สังคมไทยยังมีชนชั้นไพร่และทาส จึงเห็นได้ว่าสมัยนั้น การแบ่งแยกทางชนชั้นถูกแบ่งเป็นชนชั้นศักดินา หรือชนชั้นขุนน้ำขุนนาง ตลอดจนลูกหลานข้าราชการเหล่านั้น กับชนชั้นไพร่ ชนชั้นทาส คนธรรมดาที่ไม่มีโอกาสได้เล่าเรียน ไม่มีการศึกษา ต้องเป็นเบี้ยล่างผู้มีศักดิ์และมีทรัพย์มากกว่าตนไปทั้งชีวิต
รายการอ้างอิง
ปิยนาถ บุนนาค. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่. สัมภาษณ์. 13 มีนาคม 2563.
เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
การเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญ แม่อ่อน แม่วาด สองศรีพี่น้องจากปลายจวัก กว่าจะเป็นนางข้าหลวงผู้เอกอุด้านการทำอาหารทั้งคาวหวานได้ ก็ต้องผ่านการเรียนรู้จากคุณกรุ่น ผ่านประสบการณ์นานัปการ คุณเลิศจะเป็นมหาดเล็กหลวง หรือคุณเลิศจะเป็นทหารเรือ ก็ย่อมต้องผ่านการศึกษา การเรียนรู้เฉพาะทางของตนเช่นกัน ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับ และการศึกษาก็ถือเป็นสิ่งสำคัญอันสืบเนื่องมาจากการเลิกไพร่
จากการผ่อนปรนภาระหน้าที่ของไพร่ สู่การพระราชทานสิทธิพลเมืองให้แก่ไพร่ หรือประชาชนทั้งปวง และนำมาซึ่งการเลิกไพร่โดยใช้วิธีเข้าเรียนโรงเรียนทหาร แสดงเห็นถึงกระบวนการเลิกไพร่อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบระเบียบ แน่นอนว่าการเลิกไพร่ครั้งนี้มีคุณูปการ และส่งผลดีต่อพสกนิกรชาวไทยหลายประการด้วยกัน
ประการแรก การเลิกไพร่ทำให้ไพร่กลายเป็นประชาชนอย่างแท้จริง เป็นประชาชนที่มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องส่งส่วย หรือมาทำงานให้กับเจ้าขุนมูลนายโดยไม่ได้ผลตอบแทนใด ๆ
ประการต่อมา การเลิกไพร่ยังทำให้ไพร่ได้รับการศึกษา มีโอกาสในการศึกษามากกว่าเดิม โดยก่อนหน้านี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการเล่าเรียนหนังสือในวังอยู่แล้ว ทว่าเมื่อมีการเลิกทาส การศึกษาจึงได้แผ่กระจายไปยังประชาชนคนธรรมดาด้วย
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนวัดมหรรณพาราม ซึ่งถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ทำให้ไพร่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ ความน่าสนใจอีกประการคือโรงเรียนวัดมหรรณพารามนี้ มิได้มีแค่ประชาชนชายเท่านั้น แต่เริ่มมีผู้หญิงแล้วเช่นกัน การศึกษาจึงมิได้จำกัดแค่ผู้ชายเหมือนแต่เดิม ครั้นเมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีการจัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คราวนี้โอกาสทางการศึกษาจึงยิ่งขยายตัวไกลไปยิ่งขึ้น สู่ไพร่ สู่ประชาชนทั่วไป หากใครที่ไม่มีเงินที่จะเล่าเรียน ก็มีทุนเล่าเรียนหลวงเพื่อให้โอกาสคนเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้การศึกษาจึงเริ่มแพร่หลาย มิได้มีการแบ่งแยกเหยียดหยามอีกต่อไปว่าคนมีการศึกษาต้องเป็นคนรวย เป็นลูกขุนน้ำขุนนาง หรือเป็นชนชั้นศักดินาเท่านั้น
ฉะนั้นแล้ว หลังการเลิกไพร่ ไพร่จึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น สิ่งที่มาแทนที่ภาระหน้าที่ไพร่จึงกลายเป็นการศึกษา เพราะการศึกษาจะทำให้ทุกคนมีความรู้ มีปัญญา รู้จักช่องทางในการทำมาหากิน เลี้ยงชีพตนเองได้ยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนนายร้อยทหาร หรือมหาวิทยาลัย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการให้การศึกษาแก่คน เพราะกระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ การให้ที่ล้ำค่าที่สุดจึงเป็นการให้การศึกษา
เมื่อศึกษาทั้งเรื่องการเลิกไพร่และการเลิกทาสควบคู่กันแล้ว จึงทำให้เห็นถึงความสำคัญของการ “ประนีประนอม ประสานประโยชน์” เพราะมนุษย์เราส่วนใหญ่ล้วนเคยชินกับวิถีชีวิต สิ่งที่เป็นมาแต่ก่อนเก่า การจะเปลี่ยนแปลงเรื่องยิ่งใหญ่สักเรื่องหนึ่ง ล้วนต้องใช้เวลา หากผลีผลามด่วนทำอะไรอย่างใจร้อน หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผลที่เกิดขึ้นย่อมเป็นไปในทางแย่
สิ่งสำคัญที่ได้จากการศึกษาเรื่องการเลิกไพร่ จึงทำให้ได้รู้ถึงรากเหง้าตนเอง ได้ตระหนักในความเป็นคนไทย ได้เรียนรู้โครงสร้าง หรือระบบทางสังคมในสมัยก่อน ทั้งนี้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปิยนาถ บุนนาค ยังเน้นย้ำว่าทำให้ได้ตระหนักว่าพระมหากษัตริย์ไทยนั้นทรงทำพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อประชาชน โดยอีกหนึ่งพระราชกรณียกิจที่สำคัญคือการเลิกไพร่ แล้วแทนที่ด้วยการให้การศึกษาเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พึ่งพาตนเอง
เมื่อมองภาพสังคมในปัจจุบันแล้วเชื่อมโยงไปยังในอดีต ที่สังคมไทยยังมีชนชั้นไพร่และทาส จึงเห็นได้ว่าสมัยนั้น การแบ่งแยกทางชนชั้นถูกแบ่งเป็นชนชั้นศักดินา หรือชนชั้นขุนน้ำขุนนาง ตลอดจนลูกหลานข้าราชการเหล่านั้น กับชนชั้นไพร่ ชนชั้นทาส คนธรรมดาที่ไม่มีโอกาสได้เล่าเรียน ไม่มีการศึกษา ต้องเป็นเบี้ยล่างผู้มีศักดิ์และมีทรัพย์มากกว่าตนไปทั้งชีวิต
รายการอ้างอิง
ปิยนาถ บุนนาค. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่. สัมภาษณ์. 13 มีนาคม 2563.