เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
เมื่อใช้แว่นของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันแลมองไปยังสภาพสังคมไทยในอดีต ระหว่างการเป็นทาส อยู่ใต้ใบบุญของเจ้านาย แต่ไม่มีสิทธิ์ในชีวิตของตนเองกับการเป็นไพร่ ซึ่งแม้มีสิทธิเสรีภาพ แต่ก็ต้องสละเวลาจำนวนมากไปทำงานให้กับชนชั้นสูงโดยมิได้สิ่งใดตอบแทน ทั้งสองสิ่งนี้ตอบยากเหลือเกินว่าสิ่งไหนแย่กว่ากัน หรือสิ่งไหนดีกว่ากัน เพราะหากเลือกได้ เด็กรุ่นใหม่คงมิปรารถนาทั้งสองทางเลือกนี้ ฉะนั้นแล้วการเลิกไพร่จึงมีความสามารถมากพอกับการเลิกทาส มิได้ย่อหย่อนไปกว่ากันเลย แม้ว่าประวัติศาสตร์การเลิกไพร่จะเป็นที่รู้จักน้อยกว่าการเลิกทาสนักก็ตามที
จากในอดีตที่ไพร่หลวงทำงานหนักมากเกินควร จนประชาชนมิปรารถนาเอาตัวเองเข้ามาในหน้าที่นี้ เสียงคนตัวเล็กตัวน้อยรวมกันย่อมก่อเกิดเป็นเสียงที่ดังยิ่ง พระมหากษัตริย์จึงต้องเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อลดทอนหน้าที่ไพร่หลวง จากนั้นจึงนำไปสู่การเลิกไพร่ ซึ่งกระบวนการเลิกไพร่นั้นเริ่มต้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเริ่มมีการปรับปรุงประเทศเป็นแบบใหม่ มีการพระราชทานสิทธิพลเมือง เริ่มดำเนินการปรับปรุงประเทศตามแนวตะวันตก โดยดำเนินการผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ จากนั้นจึงค่อยบังคับเป็นกฎหมาย ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ประนีประนอม ไม่ผลีผลามจนเกินไป เช่นเดียวกับการเลิกทาส
พระราชทานสิทธิพลเมืองดังกล่าว มีรายละเอียดสำคัญ 3 ประการ คือ
เมื่อพิจารณาหลักใหญ่ใจความทั้งสามประการนี้ จะพบว่าเป็นแนวคิดที่ประยุกต์มาจากทั้งหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงครองสมณเพศมาเป็นเวลานาน ประกอบกับการสนทนาธรรมกับบาทหลวงตะวันตก การนำแนวคิดของจอห์น ล็อก นักปรัชญาชาวตะวันตกมาปรับประยุกต์ จึงเป็นการพระราชทานเพราะต้องการให้ไพร่ได้รับการผ่อนปรนจากระบบศักดินา
ครั้นมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ได้ทำให้ไพร่มีโอกาสในการได้เบี้ย ได้ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการสักเลกให้แก่ไพร่ทั้งปวง ซึ่งนี่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเลิกไพร่เช่นกัน
กระบวนการเลิกไพร่ที่สำคัญคือการจัดตั้งโรงเรียนทหาร (ต่อมาได้พัฒนาเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) จัดการเรียนการสอน การฝึกทหารแบบยุโรป เริ่มต้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไพร่เหล่านั้นที่ได้มาเรียนทหาร ก็ให้ทำหน้าที่ทหารเพียงเท่านั้น มิต้องทำงานอย่างอื่นนอกเหนือจากหน้าที่ เป็นการพยายามทำให้มีทหารในราชอาณาจักรสำนักสยาม
ทหารเริ่มเฟื่องฟูยิ่งขึ้นในสยาม สืบเนื่องจากการสนับสนุนของพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษายังต่างประเทศ พระองค์เจ้าจักรพันธุ์ภูวนาถ ทรงไปเรียนเรื่องการทหารโดยตรง เมื่อกลับมาก็ทรงทำให้โรงเรียนนายร้อยทหารเข้มแข็งมากขึ้น จึงกลายเป็นค่านิยมที่ส่งมาถึงปัจจุบันว่าการเข้าโรงเรียนนายร้อยนั้นมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ก่อเกิดเป็นความภาคภูมิใจในการเป็นรั้วของชาติ
ฉะนั้นแล้วจึงกล่าวได้ว่า การเลิกไพร่นั้นดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการเลิกทาส หลักใหญ่ใจความสำคัญในการเลิกไพร่คือการใช้การเกณฑ์ทหารเป็นเครื่องมือ โดยก่อนจะเกิดการเกณฑ์ทหารดังกล่าว อันทำให้ไพร่หลุดพ้นจากความเป็นไพร่ได้นั้น ก็มีการพระราชทานสิทธิพลเมืองให้แก่ไพร่ทุกคน การศึกษาเรื่องไพร่นี้นอกจากทำให้มองเห็นพลังของประชาชนคนธรรมดา ที่เมื่อมีจำนวนมากก็กลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่และไม่ธรรมดา ยังทำให้เห็นว่าทุกสิ่งอย่างต้องมีการเปลี่ยนผันไปตามกาลเวลาเสมอ เพราะเมื่อใช้แว่นตาของคนปัจจุบันมองในสังคมปัจจุบัน หากผู้มีอำนาจยังนิยมปฏิบัติกับผู้อยู่ใต้อำนาจ หรือลูกจ้างเฉกเช่นไพร่ หรือทาสอยู่ ก็ย่อมสะท้อนถึงอารยะในจิตใจของคนผู้นั้นได้เป็นอย่างดี
รายการอ้างอิง
ปิยนาถ บุนนาค. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่. สัมภาษณ์. 13 มีนาคม 2563.
เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
เมื่อใช้แว่นของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันแลมองไปยังสภาพสังคมไทยในอดีต ระหว่างการเป็นทาส อยู่ใต้ใบบุญของเจ้านาย แต่ไม่มีสิทธิ์ในชีวิตของตนเองกับการเป็นไพร่ ซึ่งแม้มีสิทธิเสรีภาพ แต่ก็ต้องสละเวลาจำนวนมากไปทำงานให้กับชนชั้นสูงโดยมิได้สิ่งใดตอบแทน ทั้งสองสิ่งนี้ตอบยากเหลือเกินว่าสิ่งไหนแย่กว่ากัน หรือสิ่งไหนดีกว่ากัน เพราะหากเลือกได้ เด็กรุ่นใหม่คงมิปรารถนาทั้งสองทางเลือกนี้ ฉะนั้นแล้วการเลิกไพร่จึงมีความสามารถมากพอกับการเลิกทาส มิได้ย่อหย่อนไปกว่ากันเลย แม้ว่าประวัติศาสตร์การเลิกไพร่จะเป็นที่รู้จักน้อยกว่าการเลิกทาสนักก็ตามที
จากในอดีตที่ไพร่หลวงทำงานหนักมากเกินควร จนประชาชนมิปรารถนาเอาตัวเองเข้ามาในหน้าที่นี้ เสียงคนตัวเล็กตัวน้อยรวมกันย่อมก่อเกิดเป็นเสียงที่ดังยิ่ง พระมหากษัตริย์จึงต้องเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อลดทอนหน้าที่ไพร่หลวง จากนั้นจึงนำไปสู่การเลิกไพร่ ซึ่งกระบวนการเลิกไพร่นั้นเริ่มต้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเริ่มมีการปรับปรุงประเทศเป็นแบบใหม่ มีการพระราชทานสิทธิพลเมือง เริ่มดำเนินการปรับปรุงประเทศตามแนวตะวันตก โดยดำเนินการผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ จากนั้นจึงค่อยบังคับเป็นกฎหมาย ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ประนีประนอม ไม่ผลีผลามจนเกินไป เช่นเดียวกับการเลิกทาส
พระราชทานสิทธิพลเมืองดังกล่าว มีรายละเอียดสำคัญ 3 ประการ คือ
เมื่อพิจารณาหลักใหญ่ใจความทั้งสามประการนี้ จะพบว่าเป็นแนวคิดที่ประยุกต์มาจากทั้งหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงครองสมณเพศมาเป็นเวลานาน ประกอบกับการสนทนาธรรมกับบาทหลวงตะวันตก การนำแนวคิดของจอห์น ล็อก นักปรัชญาชาวตะวันตกมาปรับประยุกต์ จึงเป็นการพระราชทานเพราะต้องการให้ไพร่ได้รับการผ่อนปรนจากระบบศักดินา
ครั้นมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ได้ทำให้ไพร่มีโอกาสในการได้เบี้ย ได้ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการสักเลกให้แก่ไพร่ทั้งปวง ซึ่งนี่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเลิกไพร่เช่นกัน
กระบวนการเลิกไพร่ที่สำคัญคือการจัดตั้งโรงเรียนทหาร (ต่อมาได้พัฒนาเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) จัดการเรียนการสอน การฝึกทหารแบบยุโรป เริ่มต้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไพร่เหล่านั้นที่ได้มาเรียนทหาร ก็ให้ทำหน้าที่ทหารเพียงเท่านั้น มิต้องทำงานอย่างอื่นนอกเหนือจากหน้าที่ เป็นการพยายามทำให้มีทหารในราชอาณาจักรสำนักสยาม
ทหารเริ่มเฟื่องฟูยิ่งขึ้นในสยาม สืบเนื่องจากการสนับสนุนของพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษายังต่างประเทศ พระองค์เจ้าจักรพันธุ์ภูวนาถ ทรงไปเรียนเรื่องการทหารโดยตรง เมื่อกลับมาก็ทรงทำให้โรงเรียนนายร้อยทหารเข้มแข็งมากขึ้น จึงกลายเป็นค่านิยมที่ส่งมาถึงปัจจุบันว่าการเข้าโรงเรียนนายร้อยนั้นมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ก่อเกิดเป็นความภาคภูมิใจในการเป็นรั้วของชาติ
ฉะนั้นแล้วจึงกล่าวได้ว่า การเลิกไพร่นั้นดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการเลิกทาส หลักใหญ่ใจความสำคัญในการเลิกไพร่คือการใช้การเกณฑ์ทหารเป็นเครื่องมือ โดยก่อนจะเกิดการเกณฑ์ทหารดังกล่าว อันทำให้ไพร่หลุดพ้นจากความเป็นไพร่ได้นั้น ก็มีการพระราชทานสิทธิพลเมืองให้แก่ไพร่ทุกคน การศึกษาเรื่องไพร่นี้นอกจากทำให้มองเห็นพลังของประชาชนคนธรรมดา ที่เมื่อมีจำนวนมากก็กลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่และไม่ธรรมดา ยังทำให้เห็นว่าทุกสิ่งอย่างต้องมีการเปลี่ยนผันไปตามกาลเวลาเสมอ เพราะเมื่อใช้แว่นตาของคนปัจจุบันมองในสังคมปัจจุบัน หากผู้มีอำนาจยังนิยมปฏิบัติกับผู้อยู่ใต้อำนาจ หรือลูกจ้างเฉกเช่นไพร่ หรือทาสอยู่ ก็ย่อมสะท้อนถึงอารยะในจิตใจของคนผู้นั้นได้เป็นอย่างดี
รายการอ้างอิง
ปิยนาถ บุนนาค. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่. สัมภาษณ์. 13 มีนาคม 2563.