เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
คุณหลวงชลธารพฤฒิไกรมีลูกชายเพียงคนเดียวคือพ่อกล้า ดังนั้นจึงตั้งความหวังกับลูกชายคนนี้ไว้มาก ด้านหน้าที่การงาน ด้านพันธกิจแห่งการรับใช้ชาติ เหล่านี้พ่อกล้าไม่ได้ทำให้พ่อผิดหวัง ถ้าจะมีสิ่งที่คุณหลวงไม่พอใจกับลูกคนนี้สักเท่าไรคงเป็นเรื่องคู่ชีวิต ด้วยคนรักของพ่อกล้าคือกัททรีน ลูกสาวครูสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส เป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ที่คนรุ่นเก่ายากที่จะยอมรับได้ แต่เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ในบริบทสมัยนั้นแล้ว ย่อมพบว่าการถ่ายโอนวัฒนธรรมจากตะวันตกสู่ไทยนั้นมิได้เกิดจากแค่ตะวันตกย่างกรายมายังแผ่นดินสยาม แต่พระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศก็เสด็จไปยังแผ่นดินตะวันตกในอีกฝั่งฟ้าหนึ่งเช่นกัน
การศึกษาอารยธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก พบหนึ่งคำศัพท์ที่น่าสนใจคือ “ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม” อันหมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นโลก โดยมักกำหนดกรอบทางพื้นที่เป็นตัวจำแนกประเภทต่าง ๆ กรอบนั้นมีมิติสัมพันธ์ทั้งกว้าง ยาว สูง ลึกของพื้นที่ หรือพื้นโลก การศึกษาทั้งเรื่องเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ อุตสาหกรรม ฯลฯ ของประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงเป็นการศึกษาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในที่นั้น ๆ
ในบทความนี้จึงมุ่งพิจารณาที่การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่ามีความสำคัญต่อการถ่ายโอนวัฒนธรรมตะวันตกสู่ไทยอย่างไร พระองค์ทรงเสด็จประพาสจากไทยสู่ยุโรป และกลับมายังแผ่นดินไทย พระองค์ได้ความรู้ มองเห็น และเข้าใจวัฒนธรรมตะวันตกเหล่านั้น นำทุกสิ่งอย่างมาพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสยามให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพระราชปณิธานหลักของพระองค์ ตลอดการล่องเรือไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง สองข้างทางที่พระองค์มองเห็น จากมหาสมุทรอินเดีย ทะเลแดง อ่าวสุเอซ ทะเลเมดิเตอร์เลเนียน มหาสมุทรแอตแลนติก สู่ประเทศต่าง ๆ ทุกสิ่งที่เห็นล้วนสัมพันธ์กับภูมิศาสตร์วัฒนธรรม และการถ่ายโอนวัฒนธรรมตะวันตกสู่ไทย ก็ถือเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมิใช่แค่ทำให้ชาวไทยได้เรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตก แต่ยังทำให้ประเทศไทยรอดจากประเทศนักล่าอาณานิคม
การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี 2440 จึงมีความสำคัญต่อสยามประเทศ เพราะทำให้วัฒนธรรมตะวันตกมากมาย ถูกถ่ายโอนสู่ไทยและสืบเนื่องให้เห็นมาถึงปัจจุบัน สิ่งที่พระองค์พบเห็นล้วนสำคัญ หลังการเสด็จประพาสยุโรปคราวนั้น ความรู้ ประสบการณ์ที่พระองค์พบจึงเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวไทย ผ่านบ้านเมืองในประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้ก้าวไกลทัดเทียมตะวันตก
การถ่ายโอนวัฒนธรรมด้านการสร้างถนนขนาดใหญ่ก็เกิดขึ้นในรัชสมัยนี้ มีการก่อสร้างถนนราชดำเนินใน กลาง และนอก มีถนนคนเดินทั้งสองข้างทาง พบเห็นต้นไม้เรียงรายตามทางเดินตั้งแต่พระบรมมหาราชวัง สนามหลวง จนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านคลอดผดุงกรุงเกษม ถนนราชดำเนินนอก และสิ้นสุดที่พระที่นั่งอนันตสมาคม มีการค้าขายที่สองข้างทางเหล่านี้ จนกลายเป็นย่านธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 รูปแบบถนนคนเดินเหล่านี้พัฒนามาจากถนนฌ็องเซลิเซ่ ย่านธุรกิจที่มีชื่อเสียงในปารีส ทั้งนี้ ถนนหลายแห่งในยุคนั้นถูกขยายให้ใหญ่ เพื่อสะดวกแก่การนำรถยนต์เข้ามาใช้ รัชกาลที่ 5 ทรงมองการณ์ไกลว่าในอนาคตรถยนต์จะใหญ่ขึ้น ถนนจะสำคัญมากขึ้น ในขณะที่การสัญจรทางน้ำ เรือจะถูกลดความสำคัญลง
ด้านการคมนาคมก็มีรถไฟถือกำเนิดขึ้นในแผ่นดินสยาม เกิดสถานีรถไฟหัวลำโพง เดินทางไปยังสมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ซึ่งรูปแบบการสร้างรถไฟโดยการเจาะอุโมงค์เช่นนี้ เกิดจากการเสด็จไปยังสวิตเซอร์แลนด์ หรืออิตาลี ที่ทำให้พบการสัญจรไปมาโดยรถไฟอย่างสะดวกราบรื่น
ด้านศิลปะ หรือสถาปัตยกรรม มีการสร้างให้เป็นไปในรูปแบบอิตาลี เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งสร้างจากหินอ่อนที่ซื้อจากประเทศดังกล่าว ตลอดจนการริเริ่มปั้นรูปปั้น หรือพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในสยามประเทศ จากการเห็นรูปปั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงม้าที่พระราชวังแวร์ซาย จึงได้แรงบันดาลใจเป็นพระบรมรูปทรงม้าที่พระที่นั่งอนันตสมาคม โดยผู้ดำเนินการปั้นคือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศิลปินชาวอิตาลีที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในประเทศไทย
การถ่ายโอนวัฒนธรรมตะวันตกสู่ไทย สืบเนื่องจากการเสด็จประพาสคราวนั้น ยังมีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในอีกหลายด้าน ทั้งด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ดังนั้นจึงถือได้ว่าการเสด็จประพาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคุณค่ายิ่งใหญ่มหาศาล จนทำให้สยามประเทศเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์สมัยใหม่ และวัฒนธรรมที่ถ่ายโอนมาจากยุโรปอันถูกพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสังคมไทยก็ยังคงปรากฏเด่นชัดจนถึงปัจจุบัน
รายการอ้างอิง
วิชัย ศรีคำ. ศาสตราจารย์. ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาภูมิศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์. สัมภาษณ์. 12 มีนาคม 2563.
เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
คุณหลวงชลธารพฤฒิไกรมีลูกชายเพียงคนเดียวคือพ่อกล้า ดังนั้นจึงตั้งความหวังกับลูกชายคนนี้ไว้มาก ด้านหน้าที่การงาน ด้านพันธกิจแห่งการรับใช้ชาติ เหล่านี้พ่อกล้าไม่ได้ทำให้พ่อผิดหวัง ถ้าจะมีสิ่งที่คุณหลวงไม่พอใจกับลูกคนนี้สักเท่าไรคงเป็นเรื่องคู่ชีวิต ด้วยคนรักของพ่อกล้าคือกัททรีน ลูกสาวครูสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส เป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ที่คนรุ่นเก่ายากที่จะยอมรับได้ แต่เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ในบริบทสมัยนั้นแล้ว ย่อมพบว่าการถ่ายโอนวัฒนธรรมจากตะวันตกสู่ไทยนั้นมิได้เกิดจากแค่ตะวันตกย่างกรายมายังแผ่นดินสยาม แต่พระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศก็เสด็จไปยังแผ่นดินตะวันตกในอีกฝั่งฟ้าหนึ่งเช่นกัน
การศึกษาอารยธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก พบหนึ่งคำศัพท์ที่น่าสนใจคือ “ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม” อันหมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นโลก โดยมักกำหนดกรอบทางพื้นที่เป็นตัวจำแนกประเภทต่าง ๆ กรอบนั้นมีมิติสัมพันธ์ทั้งกว้าง ยาว สูง ลึกของพื้นที่ หรือพื้นโลก การศึกษาทั้งเรื่องเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ อุตสาหกรรม ฯลฯ ของประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงเป็นการศึกษาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในที่นั้น ๆ
ในบทความนี้จึงมุ่งพิจารณาที่การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่ามีความสำคัญต่อการถ่ายโอนวัฒนธรรมตะวันตกสู่ไทยอย่างไร พระองค์ทรงเสด็จประพาสจากไทยสู่ยุโรป และกลับมายังแผ่นดินไทย พระองค์ได้ความรู้ มองเห็น และเข้าใจวัฒนธรรมตะวันตกเหล่านั้น นำทุกสิ่งอย่างมาพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสยามให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพระราชปณิธานหลักของพระองค์ ตลอดการล่องเรือไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง สองข้างทางที่พระองค์มองเห็น จากมหาสมุทรอินเดีย ทะเลแดง อ่าวสุเอซ ทะเลเมดิเตอร์เลเนียน มหาสมุทรแอตแลนติก สู่ประเทศต่าง ๆ ทุกสิ่งที่เห็นล้วนสัมพันธ์กับภูมิศาสตร์วัฒนธรรม และการถ่ายโอนวัฒนธรรมตะวันตกสู่ไทย ก็ถือเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมิใช่แค่ทำให้ชาวไทยได้เรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตก แต่ยังทำให้ประเทศไทยรอดจากประเทศนักล่าอาณานิคม
การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี 2440 จึงมีความสำคัญต่อสยามประเทศ เพราะทำให้วัฒนธรรมตะวันตกมากมาย ถูกถ่ายโอนสู่ไทยและสืบเนื่องให้เห็นมาถึงปัจจุบัน สิ่งที่พระองค์พบเห็นล้วนสำคัญ หลังการเสด็จประพาสยุโรปคราวนั้น ความรู้ ประสบการณ์ที่พระองค์พบจึงเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวไทย ผ่านบ้านเมืองในประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้ก้าวไกลทัดเทียมตะวันตก
การถ่ายโอนวัฒนธรรมด้านการสร้างถนนขนาดใหญ่ก็เกิดขึ้นในรัชสมัยนี้ มีการก่อสร้างถนนราชดำเนินใน กลาง และนอก มีถนนคนเดินทั้งสองข้างทาง พบเห็นต้นไม้เรียงรายตามทางเดินตั้งแต่พระบรมมหาราชวัง สนามหลวง จนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านคลอดผดุงกรุงเกษม ถนนราชดำเนินนอก และสิ้นสุดที่พระที่นั่งอนันตสมาคม มีการค้าขายที่สองข้างทางเหล่านี้ จนกลายเป็นย่านธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 รูปแบบถนนคนเดินเหล่านี้พัฒนามาจากถนนฌ็องเซลิเซ่ ย่านธุรกิจที่มีชื่อเสียงในปารีส ทั้งนี้ ถนนหลายแห่งในยุคนั้นถูกขยายให้ใหญ่ เพื่อสะดวกแก่การนำรถยนต์เข้ามาใช้ รัชกาลที่ 5 ทรงมองการณ์ไกลว่าในอนาคตรถยนต์จะใหญ่ขึ้น ถนนจะสำคัญมากขึ้น ในขณะที่การสัญจรทางน้ำ เรือจะถูกลดความสำคัญลง
ด้านการคมนาคมก็มีรถไฟถือกำเนิดขึ้นในแผ่นดินสยาม เกิดสถานีรถไฟหัวลำโพง เดินทางไปยังสมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ซึ่งรูปแบบการสร้างรถไฟโดยการเจาะอุโมงค์เช่นนี้ เกิดจากการเสด็จไปยังสวิตเซอร์แลนด์ หรืออิตาลี ที่ทำให้พบการสัญจรไปมาโดยรถไฟอย่างสะดวกราบรื่น
ด้านศิลปะ หรือสถาปัตยกรรม มีการสร้างให้เป็นไปในรูปแบบอิตาลี เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งสร้างจากหินอ่อนที่ซื้อจากประเทศดังกล่าว ตลอดจนการริเริ่มปั้นรูปปั้น หรือพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในสยามประเทศ จากการเห็นรูปปั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงม้าที่พระราชวังแวร์ซาย จึงได้แรงบันดาลใจเป็นพระบรมรูปทรงม้าที่พระที่นั่งอนันตสมาคม โดยผู้ดำเนินการปั้นคือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศิลปินชาวอิตาลีที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในประเทศไทย
การถ่ายโอนวัฒนธรรมตะวันตกสู่ไทย สืบเนื่องจากการเสด็จประพาสคราวนั้น ยังมีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในอีกหลายด้าน ทั้งด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ดังนั้นจึงถือได้ว่าการเสด็จประพาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคุณค่ายิ่งใหญ่มหาศาล จนทำให้สยามประเทศเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์สมัยใหม่ และวัฒนธรรมที่ถ่ายโอนมาจากยุโรปอันถูกพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสังคมไทยก็ยังคงปรากฏเด่นชัดจนถึงปัจจุบัน
รายการอ้างอิง
วิชัย ศรีคำ. ศาสตราจารย์. ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาภูมิศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์. สัมภาษณ์. 12 มีนาคม 2563.