เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
คำกล่าวนี้ยังคงเป็นจริงเสมอ ยิ่งเมื่อได้ชมละครเรื่องปลายจวัก แล้วตื่นตาตื่นใจ เคลิบเคลิ้มไปกับความงามของนักแสดงนำทั้งสอง ผู้รับบทแม่วาดกับแม่อ่อนแล้ว ก็ค้นพบว่ามิได้เกิดจากแค่เพียงความสวยของนักแสดง ฝีมือการแสดงที่เข้าถึงตัวละครแต่เพียงเท่านั้น ทว่าอีกองค์ประกอบสำคัญที่เสริมความงามของนางเอกทั้งสองคนให้มากยิ่งกว่าเดิม คือเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ทั้งคู่สวมใส่นั่นเอง ผ้าทุกผืน ทุกเชื้อชาติล้วนมีเสน่ห์ มีความงามในตัวของมัน ผ้าไทยก็เช่นกัน
เสื้อผ้าคือหนึ่งในสามเครื่องประดับที่สำคัญของไทย อันประกอบด้วย
แต่ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับผ้าไทยชนิดต่าง ๆ ในบทความนี้จะนำพาให้พบกับรูปแบบการแต่งกายโดยทั่วไปของหนุ่มสาวชาวสยามเสียก่อน
เมื่อมองดูการแต่งกายของสตรีไทยในสมัยก่อนนั้น เราเรียกเครื่องแต่งกายของพวกเธอว่า “เครื่องนุ่งห่ม” อันแสดงว่าเกิดจากการประกอบสร้างระหว่างเครื่องนุ่มกับเครื่องห่ม กล่าวคือมีผ้าสองผืนที่ทำหน้าที่ต่างกันนั่นเอง ผ้านุ่งนั้นยาวสองช่วงแขน ตั้งแต่ใต้ซี่โครงจนถึงเหนือเข่า เป็นการนุ่งในลักษณะที่เรียกว่าโจงกระเบน โดยที่มาของชื่อโจงกระเบนนี้มาจากหางแหลมเรียวเหมือนปลากระเบน การนุ่งเช่นนี้ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้สะดวก ทะมัดทะแมง มีการหยิบผ้าอีกผืนมาเหน็บไว้ข้าง ๆ เพื่อป้องการผ้าหลุด หรือที่เรียกว่า “การถกเขมร”
สำหรับเครื่องห่ม หากเป็นคนธรรมดาทั่วไป จะนิยมใช้ผ้าพื้น หรือผ้าฝ้ายทอมือ ใช้นุ่งทั่วไป บ้างหยาบ บ้างละเอียด หากมีฐานะขึ้นมาเสียหน่อยก็จะใช้ผ้าสไบ
โดยมีวิธีการห่มหลายรูปแบบ อาทิ
และหากถามว่าผู้หญิงกลุ่มไหนที่สวมเสื้อผ้าได้สวยงาม สมบูรณ์แบบที่สุด ย่อมต้องมองไปที่กลุ่มนางละคร เพราะพวกเธอเหล่านั้นแต่งกายตามระเบียบแบบแผนมากที่สุด
สำหรับเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าของผู้ชายนั้น ยังสัมพันธ์กับคำว่านุ่งห่มเช่นกัน การนุ่ง เป็นการนุ่งลอยชาย จนเกิดเป็นสำนวนเรียกหนุ่ม ๆ ที่ลีลา พิรี้พิไรว่า “เอ้อระเหยลอยชาย” มักจะมีผ้าพาดไหล่ที่เรียกกันว่า “ผ้ายี่โป้” ผ้าพาดไหล่นี้จะใช้ห่มคล้ายสไบเฉียงเวลาเข้าวัดเข้าวา แต่หากหนุ่ม ๆ เหล่านั้นจะแปลงร่างเป็นนักเลง หรือคิดจะเกี้ยวสาวขึ้นมา เจ้าผ้าผืนนี้ก็จะถูกนำไปใช้พาดไหล่ เดินลอยชายเกี้ยวสาวไปทั่ว
จึงเห็นได้ว่าการแต่งกาย การสวมเสื้อผ้าของหนุ่มสาวชาวไทยสมัยก่อน มีหลักการสำคัญคือการ “นุ่ง” และ “ห่ม” ซึ่งนี้คือข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะได้เรียนรู้ความเป็นมา ตลอดจนความสำคัญของผ้าไทย
รายการอ้างอิง
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขานาฏกรรม. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.
เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
คำกล่าวนี้ยังคงเป็นจริงเสมอ ยิ่งเมื่อได้ชมละครเรื่องปลายจวัก แล้วตื่นตาตื่นใจ เคลิบเคลิ้มไปกับความงามของนักแสดงนำทั้งสอง ผู้รับบทแม่วาดกับแม่อ่อนแล้ว ก็ค้นพบว่ามิได้เกิดจากแค่เพียงความสวยของนักแสดง ฝีมือการแสดงที่เข้าถึงตัวละครแต่เพียงเท่านั้น ทว่าอีกองค์ประกอบสำคัญที่เสริมความงามของนางเอกทั้งสองคนให้มากยิ่งกว่าเดิม คือเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ทั้งคู่สวมใส่นั่นเอง ผ้าทุกผืน ทุกเชื้อชาติล้วนมีเสน่ห์ มีความงามในตัวของมัน ผ้าไทยก็เช่นกัน
เสื้อผ้าคือหนึ่งในสามเครื่องประดับที่สำคัญของไทย อันประกอบด้วย
แต่ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับผ้าไทยชนิดต่าง ๆ ในบทความนี้จะนำพาให้พบกับรูปแบบการแต่งกายโดยทั่วไปของหนุ่มสาวชาวสยามเสียก่อน
เมื่อมองดูการแต่งกายของสตรีไทยในสมัยก่อนนั้น เราเรียกเครื่องแต่งกายของพวกเธอว่า “เครื่องนุ่งห่ม” อันแสดงว่าเกิดจากการประกอบสร้างระหว่างเครื่องนุ่มกับเครื่องห่ม กล่าวคือมีผ้าสองผืนที่ทำหน้าที่ต่างกันนั่นเอง ผ้านุ่งนั้นยาวสองช่วงแขน ตั้งแต่ใต้ซี่โครงจนถึงเหนือเข่า เป็นการนุ่งในลักษณะที่เรียกว่าโจงกระเบน โดยที่มาของชื่อโจงกระเบนนี้มาจากหางแหลมเรียวเหมือนปลากระเบน การนุ่งเช่นนี้ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้สะดวก ทะมัดทะแมง มีการหยิบผ้าอีกผืนมาเหน็บไว้ข้าง ๆ เพื่อป้องการผ้าหลุด หรือที่เรียกว่า “การถกเขมร”
สำหรับเครื่องห่ม หากเป็นคนธรรมดาทั่วไป จะนิยมใช้ผ้าพื้น หรือผ้าฝ้ายทอมือ ใช้นุ่งทั่วไป บ้างหยาบ บ้างละเอียด หากมีฐานะขึ้นมาเสียหน่อยก็จะใช้ผ้าสไบ
โดยมีวิธีการห่มหลายรูปแบบ อาทิ
และหากถามว่าผู้หญิงกลุ่มไหนที่สวมเสื้อผ้าได้สวยงาม สมบูรณ์แบบที่สุด ย่อมต้องมองไปที่กลุ่มนางละคร เพราะพวกเธอเหล่านั้นแต่งกายตามระเบียบแบบแผนมากที่สุด
สำหรับเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าของผู้ชายนั้น ยังสัมพันธ์กับคำว่านุ่งห่มเช่นกัน การนุ่ง เป็นการนุ่งลอยชาย จนเกิดเป็นสำนวนเรียกหนุ่ม ๆ ที่ลีลา พิรี้พิไรว่า “เอ้อระเหยลอยชาย” มักจะมีผ้าพาดไหล่ที่เรียกกันว่า “ผ้ายี่โป้” ผ้าพาดไหล่นี้จะใช้ห่มคล้ายสไบเฉียงเวลาเข้าวัดเข้าวา แต่หากหนุ่ม ๆ เหล่านั้นจะแปลงร่างเป็นนักเลง หรือคิดจะเกี้ยวสาวขึ้นมา เจ้าผ้าผืนนี้ก็จะถูกนำไปใช้พาดไหล่ เดินลอยชายเกี้ยวสาวไปทั่ว
จึงเห็นได้ว่าการแต่งกาย การสวมเสื้อผ้าของหนุ่มสาวชาวไทยสมัยก่อน มีหลักการสำคัญคือการ “นุ่ง” และ “ห่ม” ซึ่งนี้คือข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะได้เรียนรู้ความเป็นมา ตลอดจนความสำคัญของผ้าไทย
รายการอ้างอิง
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขานาฏกรรม. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.