ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทรงผมผู้ชาย

ออกอากาศ25 พ.ย. 62

เรื่องเล่าจากละคร

ทรงผมผู้ชาย

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

บทความก่อนหน้านี้ เป็นการบอกเล่าพัฒนาการของทรงผมสตรี โดยมุ่งเน้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 อันมีจุดเริ่มต้นจากความต่างกันในทรงผมระหว่างสาวชาววังสองรุ่นจากเรื่องปลายจวัก ครั้นจะพิจารณาอีกมุมหนึ่ง คือทรงผมของสุภาพบุรุษ โดยมีจุดเริ่มต้นจากละครปลายจวักเช่นกัน อาจดูเป็นเรื่องยากและไม่น่าสนใจ เพราะทรงผมตัวละครชายในเรื่องล้วนแล้วแต่ใกล้เคียงกัน ซึ่งเมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์แล้ว พบว่ามีรายละเอียด หรือพัฒนาการน้อยกว่าผู้หญิงเช่นกัน

ทรงผมผู้ชายในสยามประเทศ ในราชสำนัก หรือในภาคกลางนั้น หากจะหาแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน ถูกต้อง และตรงตามประวัติศาสตร์ที่สุด ย่อมดูได้จากพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ไว้ผมทรงเดียวกัน คือ Flat Top ทรงผมลานบิน หรือทรงมหาดไทย ที่เป็นการตัดผมธรรมดาทั่วไป อันเปรียบได้กับทรงผมของเด็กมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือทรงของนักเรียนชั้นที่เรียน ร.ด. ในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงทรงผมผู้ชายนั้น มีจุดเริ่มต้นจากสมัยรัชกาลที่ 4 ว่ากันว่าพระองค์ทรงทอดพระเนตรทรงผมผู้ที่มาหมอบกราบแล้วรู้สึกว่าทรงผมนั้นน่ารำคาญ กระทั่งลุเข้าถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้ชายส่วนใหญ่เลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมยาวขึ้นแล้วตัดอย่างฝรั่งโดยมีทั้งหวีแสกและหวีเสย ดังที่เรียกว่า "ลองทรง" นั่นเอง

พัฒนาการทรงผมผู้ชายเปลี่ยนแปลงไปอย่างน้อยนิด เมื่อเทียบกับทรงผมสตรีแล้วยิ่งเหมือนว่าไม่เปลี่ยนอะไรมากนัก อาจสืบเนื่องมาจากธรรมชาติที่ต่างกันระหว่างชายหญิง ผู้หญิงสามารถไว้ผมยาวได้โดยง่าย จะไว้ยาวได้มากแค่ไหนก็ได้ จึงสามารถออกแบบทรงผมให้เป็นไปทั้งซอยสั้นไปจนผมยาวสลวย ในขณะที่ผู้ชายก็ไว้ผมสั้นเป็นปกติอยู่แล้ว การจะไว้ผมยาวได้อย่างผู้หญิงเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลา ด้วยธรรมชาติอันต่างกันนี้ จึงมิใช่เรื่องแปลกเลยที่พัฒนาการทรงผมสุภาพบุรุษจะมีเรื่องราวให้เล่าขานน้อยกว่าสุภาพสตรี

พอได้มาศึกษาจริง ๆ จึงเข้าใจความรู้สึกตนเองตอนชมละครเรื่องปลายจวักแล้ว ว่าเหตุใดจึงรู้สึกสงสัยในทรงผมของตัวละครหญิงในเรื่อง แต่กลับไม่มีความสงสัยนี้ปรากฏในตัวละครชาย เรียกได้ว่าหากมองข้ามทรงผมคุณกรุ่น แม่อ่อน แม่วาดไป ก็คงไม่มีทางมามองทรงผมของคุณเลิศ คุณกล้า อย่างไม่ต้องสงสัย


รายการอ้างอิง

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขานาฏกรรม. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.

เรื่องเล่าจากละคร

ทรงผมผู้ชาย

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

บทความก่อนหน้านี้ เป็นการบอกเล่าพัฒนาการของทรงผมสตรี โดยมุ่งเน้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 อันมีจุดเริ่มต้นจากความต่างกันในทรงผมระหว่างสาวชาววังสองรุ่นจากเรื่องปลายจวัก ครั้นจะพิจารณาอีกมุมหนึ่ง คือทรงผมของสุภาพบุรุษ โดยมีจุดเริ่มต้นจากละครปลายจวักเช่นกัน อาจดูเป็นเรื่องยากและไม่น่าสนใจ เพราะทรงผมตัวละครชายในเรื่องล้วนแล้วแต่ใกล้เคียงกัน ซึ่งเมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์แล้ว พบว่ามีรายละเอียด หรือพัฒนาการน้อยกว่าผู้หญิงเช่นกัน

ทรงผมผู้ชายในสยามประเทศ ในราชสำนัก หรือในภาคกลางนั้น หากจะหาแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน ถูกต้อง และตรงตามประวัติศาสตร์ที่สุด ย่อมดูได้จากพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ไว้ผมทรงเดียวกัน คือ Flat Top ทรงผมลานบิน หรือทรงมหาดไทย ที่เป็นการตัดผมธรรมดาทั่วไป อันเปรียบได้กับทรงผมของเด็กมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือทรงของนักเรียนชั้นที่เรียน ร.ด. ในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงทรงผมผู้ชายนั้น มีจุดเริ่มต้นจากสมัยรัชกาลที่ 4 ว่ากันว่าพระองค์ทรงทอดพระเนตรทรงผมผู้ที่มาหมอบกราบแล้วรู้สึกว่าทรงผมนั้นน่ารำคาญ กระทั่งลุเข้าถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้ชายส่วนใหญ่เลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมยาวขึ้นแล้วตัดอย่างฝรั่งโดยมีทั้งหวีแสกและหวีเสย ดังที่เรียกว่า "ลองทรง" นั่นเอง

พัฒนาการทรงผมผู้ชายเปลี่ยนแปลงไปอย่างน้อยนิด เมื่อเทียบกับทรงผมสตรีแล้วยิ่งเหมือนว่าไม่เปลี่ยนอะไรมากนัก อาจสืบเนื่องมาจากธรรมชาติที่ต่างกันระหว่างชายหญิง ผู้หญิงสามารถไว้ผมยาวได้โดยง่าย จะไว้ยาวได้มากแค่ไหนก็ได้ จึงสามารถออกแบบทรงผมให้เป็นไปทั้งซอยสั้นไปจนผมยาวสลวย ในขณะที่ผู้ชายก็ไว้ผมสั้นเป็นปกติอยู่แล้ว การจะไว้ผมยาวได้อย่างผู้หญิงเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลา ด้วยธรรมชาติอันต่างกันนี้ จึงมิใช่เรื่องแปลกเลยที่พัฒนาการทรงผมสุภาพบุรุษจะมีเรื่องราวให้เล่าขานน้อยกว่าสุภาพสตรี

พอได้มาศึกษาจริง ๆ จึงเข้าใจความรู้สึกตนเองตอนชมละครเรื่องปลายจวักแล้ว ว่าเหตุใดจึงรู้สึกสงสัยในทรงผมของตัวละครหญิงในเรื่อง แต่กลับไม่มีความสงสัยนี้ปรากฏในตัวละครชาย เรียกได้ว่าหากมองข้ามทรงผมคุณกรุ่น แม่อ่อน แม่วาดไป ก็คงไม่มีทางมามองทรงผมของคุณเลิศ คุณกล้า อย่างไม่ต้องสงสัย


รายการอ้างอิง

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขานาฏกรรม. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย