เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
การดูละครย้อนยุคดี ๆ สักเรื่อง สามารถต่อยอดเป็นองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้มหาศาล ดังเช่นละครเรื่องปลายจวัก เพียงแค่ทรงผมของตัวละครก็เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ชมที่สนใจไปค้นคว้าความรู้เรื่องแฟชั่นเพิ่มเติมได้ เพราะหากพิจารณาทรงผมของสาวชาววังในเรื่อง ซึ่งฉากหลังเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สาวแรกรุ่นอย่างแม่อ่อน แม่วาด หรือแม่ปราง ไว้ผมยาวสละสลวย ขณะที่สตรีสูงอายุอย่างคุณกรุ่นยังคงม้วนผมให้สั้น เป็นที่น่าสนใจศึกษาว่าทรงผมสตรีในสมัยก่อนนั้นเป็นอย่างไร
เมื่อวิเคราะห์โดยมุ่งเน้นที่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่าทรงผมสตรีสืบเนื่องต่อจากสมัยอยุธยาตอนปลาย ผู้หญิงมักไว้ผมยาวตรง ประบ่า ข้างบนตัดเกรียนประมาณ 1 องคุลี โดยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในช่วงที่มีสงคราม สตรีมักเป็นอันตราย จึงต้องตัดผมสั้นทรงผู้ชาย ที่ประบ่าลงมาก็ต้องตัดออกเสียหมด แต่ตรงบริเวณจอนหูยังคงเก็บไว้สำหรับทัดดอกไม้
สำหรับสตรีสูงศักดิ์ก็ยังคงสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน มีการใส่น้ำมันเก็บผมให้เรียบ ครั้นมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็เริ่มไว้ผมมากขึ้น เล็มสั้นแต่ก็เพราะโกนจนเกรียน กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเริ่มไว้ผมยาวถึงต้นคอ ทรงดอกกระทุ่ม เหมือนดังคุณกรุ่นในปลายจวักนั่นเอง โดยเจ้านายผู้หญิงสายสกุลเจ้าดารารัศมีก็จะไว้ผมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีการตั้งกระบังขึ้นไป คล้ายสตรีญี่ปุ่นโบราณ จากนั้นปลายสมัยรัชกาลที่ 5 สตรีทั้งหลายก็นิยมปล่อยผมยาว ดังเช่นสามสาวข้าหลวงในปลายจวัก เมื่อมาถึงรัชกาลที่ 6 เจ้านายสตรีก็เริ่มทรงคาดศีรษะตามวัฒนธรรมตะวันตกที่เอ่อไหลมาถึงสยามประเทศ
พัฒนาการทรงผมสตรีจากที่ไว้ผมสั้น จึงมาสู่ผมยาวประบ่า มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ยังคงเป็นการฟื้นฟูจากอยุธยาทั้งหมด ครั้นปลายรัชกาลที่ 3 ลุเข้ารัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นเวลา 27 ปี มีพระสหายเป็นฝรั่งมังค่า เป็นบาทหลวง จึงเริ่มมีการเรียนรู้อารยธรรมฝรั่ง ชาวตะวันตกเข้ามาเมืองไทยพร้อมกับความศิวิไลซ์ จึงเริ่มมีการรับวัฒนธรรมแบบแผนฝรั่งมาปรับใช้ พระสนม หรือเจ้าจอม จึงเริ่มเรียนรู้ที่จะทดลองแต่งตัว หรือไว้ทรงผมเช่นแหม่ม อย่างไรก็ตาม ลักษณะนิสัยของคนไทยนั้น แม้จะรับวัฒนธรรมต่างชาติมาก็ยังคงปรับเปลี่ยน ประยุกต์เป็นรูปแบบตามใจฉัน ถือเป็นการค่อย ๆ คลี่คลายทางวัฒนธรรมนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในการเลือกไว้ทรงผมต่าง ๆ นั้น ยังคงขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ ด้วยความที่ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน หญิงไทยส่วนใหญ่จึงนิยมตัดผมให้สั้น เพื่อความสะดวกสบาย ในสมัยนี้ก็มีให้เห็นมากมาย สำหรับสาว ๆ ที่เลือกไว้ผมซอยสั้น เพื่อความสวยเท่ ทั้งยังไม่ต้องหัวเสียกับเหงื่อไคลที่หลั่งไหลออกมาตลอด
สิ่งสำคัญในการได้ศึกษาทรงผมของสุภาพสตรีแต่ละยุค แต่สมัย นอกจากได้เรียนรู้วัฒนธรรม ทรงผมเหล่านี้ยังช่วยให้เราได้มองเห็นความงามของสตรีเหล่านั้น เพราะความงามบนโลกนี้มิได้มีกฎตายตัว มิได้มีเกณฑ์กำหนดว่าแบบใดเรียกว่างาม แบบใดเรียกว่าไม่งาม ดังนั้น แม้ว่าจะผมสั้น หรือผมยาว จึงต่างล้วนมีความงามเป็นของตัวเอง จะบอกว่าผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เป็นผู้ตาม บางครั้งก็อาจไม่จริงเสมอไป เพราะความงามของผู้หญิงจากภายในที่ส่งต่อมายังภายนอกนี้เอง อาจทำให้ผู้ชายทั้งหลายยินยอมมอบใจให้เธอ สมดังบทเพลงท่อนหนึ่งในปลายจวักที่ว่า...
รายการอ้างอิง
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขานาฏกรรม. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.
เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
การดูละครย้อนยุคดี ๆ สักเรื่อง สามารถต่อยอดเป็นองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้มหาศาล ดังเช่นละครเรื่องปลายจวัก เพียงแค่ทรงผมของตัวละครก็เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ชมที่สนใจไปค้นคว้าความรู้เรื่องแฟชั่นเพิ่มเติมได้ เพราะหากพิจารณาทรงผมของสาวชาววังในเรื่อง ซึ่งฉากหลังเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สาวแรกรุ่นอย่างแม่อ่อน แม่วาด หรือแม่ปราง ไว้ผมยาวสละสลวย ขณะที่สตรีสูงอายุอย่างคุณกรุ่นยังคงม้วนผมให้สั้น เป็นที่น่าสนใจศึกษาว่าทรงผมสตรีในสมัยก่อนนั้นเป็นอย่างไร
เมื่อวิเคราะห์โดยมุ่งเน้นที่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่าทรงผมสตรีสืบเนื่องต่อจากสมัยอยุธยาตอนปลาย ผู้หญิงมักไว้ผมยาวตรง ประบ่า ข้างบนตัดเกรียนประมาณ 1 องคุลี โดยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในช่วงที่มีสงคราม สตรีมักเป็นอันตราย จึงต้องตัดผมสั้นทรงผู้ชาย ที่ประบ่าลงมาก็ต้องตัดออกเสียหมด แต่ตรงบริเวณจอนหูยังคงเก็บไว้สำหรับทัดดอกไม้
สำหรับสตรีสูงศักดิ์ก็ยังคงสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน มีการใส่น้ำมันเก็บผมให้เรียบ ครั้นมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็เริ่มไว้ผมมากขึ้น เล็มสั้นแต่ก็เพราะโกนจนเกรียน กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเริ่มไว้ผมยาวถึงต้นคอ ทรงดอกกระทุ่ม เหมือนดังคุณกรุ่นในปลายจวักนั่นเอง โดยเจ้านายผู้หญิงสายสกุลเจ้าดารารัศมีก็จะไว้ผมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีการตั้งกระบังขึ้นไป คล้ายสตรีญี่ปุ่นโบราณ จากนั้นปลายสมัยรัชกาลที่ 5 สตรีทั้งหลายก็นิยมปล่อยผมยาว ดังเช่นสามสาวข้าหลวงในปลายจวัก เมื่อมาถึงรัชกาลที่ 6 เจ้านายสตรีก็เริ่มทรงคาดศีรษะตามวัฒนธรรมตะวันตกที่เอ่อไหลมาถึงสยามประเทศ
พัฒนาการทรงผมสตรีจากที่ไว้ผมสั้น จึงมาสู่ผมยาวประบ่า มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ยังคงเป็นการฟื้นฟูจากอยุธยาทั้งหมด ครั้นปลายรัชกาลที่ 3 ลุเข้ารัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นเวลา 27 ปี มีพระสหายเป็นฝรั่งมังค่า เป็นบาทหลวง จึงเริ่มมีการเรียนรู้อารยธรรมฝรั่ง ชาวตะวันตกเข้ามาเมืองไทยพร้อมกับความศิวิไลซ์ จึงเริ่มมีการรับวัฒนธรรมแบบแผนฝรั่งมาปรับใช้ พระสนม หรือเจ้าจอม จึงเริ่มเรียนรู้ที่จะทดลองแต่งตัว หรือไว้ทรงผมเช่นแหม่ม อย่างไรก็ตาม ลักษณะนิสัยของคนไทยนั้น แม้จะรับวัฒนธรรมต่างชาติมาก็ยังคงปรับเปลี่ยน ประยุกต์เป็นรูปแบบตามใจฉัน ถือเป็นการค่อย ๆ คลี่คลายทางวัฒนธรรมนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในการเลือกไว้ทรงผมต่าง ๆ นั้น ยังคงขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ ด้วยความที่ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน หญิงไทยส่วนใหญ่จึงนิยมตัดผมให้สั้น เพื่อความสะดวกสบาย ในสมัยนี้ก็มีให้เห็นมากมาย สำหรับสาว ๆ ที่เลือกไว้ผมซอยสั้น เพื่อความสวยเท่ ทั้งยังไม่ต้องหัวเสียกับเหงื่อไคลที่หลั่งไหลออกมาตลอด
สิ่งสำคัญในการได้ศึกษาทรงผมของสุภาพสตรีแต่ละยุค แต่สมัย นอกจากได้เรียนรู้วัฒนธรรม ทรงผมเหล่านี้ยังช่วยให้เราได้มองเห็นความงามของสตรีเหล่านั้น เพราะความงามบนโลกนี้มิได้มีกฎตายตัว มิได้มีเกณฑ์กำหนดว่าแบบใดเรียกว่างาม แบบใดเรียกว่าไม่งาม ดังนั้น แม้ว่าจะผมสั้น หรือผมยาว จึงต่างล้วนมีความงามเป็นของตัวเอง จะบอกว่าผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เป็นผู้ตาม บางครั้งก็อาจไม่จริงเสมอไป เพราะความงามของผู้หญิงจากภายในที่ส่งต่อมายังภายนอกนี้เอง อาจทำให้ผู้ชายทั้งหลายยินยอมมอบใจให้เธอ สมดังบทเพลงท่อนหนึ่งในปลายจวักที่ว่า...
รายการอ้างอิง
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. ศาสตราจารย์. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขานาฏกรรม. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.