ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

การทำคลอด

ออกอากาศ24 พ.ย. 62

เรื่องเล่าจากละคร

การทำคลอด

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

หากใครได้ชมละครปลายจวัก จะรู้ว่าเหตุการณ์การทำคลอดของคุณช้อยและคุณทองสำลี ถือเป็นปมปัญหาหลักอีกหนึ่งปมของเรื่อง คุณช้อยคลอดแม่อ่อน แล้วเสียชีวิตหลังคลอดได้ไม่นาน ทำให้คุณหลวงพิชัยธานี ซึ่งรักภรรยาหลวงมาก พลอยโทษว่าเป็นความผิดของแม่อ่อน และหันไปทุ่มเทความรักให้เพียงแม่วาดที่เกิดจากคุณทองสำลี เหตุการณ์เสียชีวิตหลังคลอดในสมัยโบราณนั้น อยู่ในความทรงจำของคนไทยเป็นอย่างดี ดังเช่น ตำนานนางนากพระโขนง ที่ตายทั้งกลม จึงชวนให้เกิดคำถามว่าการทำคลอดระหว่างแบบไทยกับแบบฝรั่งนั้นแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

การทำคลอดแบบไทยจะใช้หมอตำแย ทุกที่จะมีหมอตำแยประจำหมู่บ้าน ข้อดีเด่นที่สุดของแพทย์แผนไทยคือการดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของแพทย์แผนไทยในเรื่องสูตินรีแพทย์ ก่อนคลอดจะมีการบำรุงครรภ์ เพื่อเตรียมพร้อมในการคลอดลูก ส่วนหลังคลอดจะมีการอยู่ไฟ ที่หลายคนรู้จักกันดี ให้ยา อยู่ไฟ เข้าอู่ เพื่อให้เลือดลมกลับมาเป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม แม้ลักษณะเด่นของการทำคลอดแผนไทยจะอยู่ที่ก่อนคลอดและหลังคลอด แต่จุดอ่อนกลับเป็นช่วงขณะคลอด ซึ่งการแพทย์แบบตะวันตกมาตรฐานดีกว่า ฉะนั้นแล้ว การที่แม่ของเด็กเสียชีวิตหลังคลอดลูก แทบจะเป็นเรื่องปกติ ไม่ต่างจากการรอดชีวิตเลย สมัยก่อนคนโบราณจึงนิยมมีเมียมาก เพราะการตั้งครรภ์และคลอดลูกนั้น โอกาสที่จะตาย หรือรอดชีวิตแทบจะมีเท่ากัน จึงต้องมีเมียมากเพื่อจะได้เพิ่มโอกาสในการมีลูก

แม้เริ่มมีหมอฝรั่งเข้ามา แต่ในช่วงแรกชาวบ้านก็ยังนิยมหมอตำแยมากกว่า เหตุผลน่าจะมาจากการที่หมอฝรั่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย การให้ผู้ชายทำคลอดยังคงเป็นเรื่องน่าอายสำหรับสตรีผู้กำลังจะคลอดลูก แต่นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา การทำคลอดก็เริ่มนิยมให้หมอฝรั่งมีบทบาทมากขึ้น

การศึกษาเรื่องการทำคลอดแผนไทยและตะวันตก จึงทำให้เห็นความสำคัญของการบูรณาการศาสตร์ทั้งสองพรมแดน เพราะการแพทย์แผนไทยโดดเด่นด้านวิธีการเตรียมพร้อมก่อนคลอด และวิธีการฟื้นฟูหลังคลอด แต่ระหว่างคลอดกลับทำให้แม่เด็กมีอันตรายถึงแก่ชีวิตมานักต่อนัก ด้านการแพทย์ตะวันตก โดดเด่นด้านการทำคลอดอย่างเป็นระบบ การบูรณาการจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทำให้การทำคลอดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โอกาสที่จะต้องสูญเสียแม่เด็กไปก็จะลดน้อยลง

จากการศึกษาเรื่องสมุนไพร สาธารณสุข จนต่อยอดได้เป็นบทความถึง 5 บทความ ทำให้ประจักษ์ถึงคุณค่าของยาสมุนไพรยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมุนไพรไทย ยาไทย หรือยาแขนงใด ๆ ก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นดาบสองคม ไม่มีดีหมดจด ไม่มีเลวร้ายขั้นสุด จึงควรเลือกใช้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้สมุนไพร หรือยาไทย ยังมีลักษณะเด่นที่ประจักษ์ชัด 2 ประการ คือ การเป็นผลผลิตจากธรรมชาติ และเป็นการรักษาโดยมองแบบองค์รวม กล่าวคือ เมื่อรักษาอาการป่วยโรคนั้น ๆ ได้ ยาไทยก็จะช่วยให้สุขภาพหรืออาการอื่น ๆ ดีขึ้นตามมาเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ยาไทยบางชนิด เช่น กัญชา นอกจากช่วยรักษาโรคแล้ว ยังช่วยให้อยากกินข้าว ช่วยให้นอนหลับสบาย เป็นวัฏจักรของการมีสุขภาพดี การมองแบบองค์รวมเช่นนี้ จะทำให้โอกาสการป่วยด้วยโรคเดิม ๆ ลดเหลือน้อยลง นอกจากนี้ตำรับยาไทยมักจะมีตัวยาเป็นรสร้อน กระตุ้นให้มีอารมณ์ทางเพศ มีส่วนช่วยในการสร้างฐานครอบครัวนั่นเอง

ไม่ว่าจะยาไทย หรือยาฝรั่ง ต่างก็มีดี มีเอกลักษณ์เฉพาะ ดังนั้นเมื่อได้เรียนรู้ในหลายศาสตร์ หลายเชื้อชาติแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่จะไม่ทำให้องค์ความรู้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย สิ่งนั้นคือการบูรณาการนั่นเอง


รายการอ้างอิง

ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ศาสตราจารย์. ภก. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.

เรื่องเล่าจากละคร

การทำคลอด

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

หากใครได้ชมละครปลายจวัก จะรู้ว่าเหตุการณ์การทำคลอดของคุณช้อยและคุณทองสำลี ถือเป็นปมปัญหาหลักอีกหนึ่งปมของเรื่อง คุณช้อยคลอดแม่อ่อน แล้วเสียชีวิตหลังคลอดได้ไม่นาน ทำให้คุณหลวงพิชัยธานี ซึ่งรักภรรยาหลวงมาก พลอยโทษว่าเป็นความผิดของแม่อ่อน และหันไปทุ่มเทความรักให้เพียงแม่วาดที่เกิดจากคุณทองสำลี เหตุการณ์เสียชีวิตหลังคลอดในสมัยโบราณนั้น อยู่ในความทรงจำของคนไทยเป็นอย่างดี ดังเช่น ตำนานนางนากพระโขนง ที่ตายทั้งกลม จึงชวนให้เกิดคำถามว่าการทำคลอดระหว่างแบบไทยกับแบบฝรั่งนั้นแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

การทำคลอดแบบไทยจะใช้หมอตำแย ทุกที่จะมีหมอตำแยประจำหมู่บ้าน ข้อดีเด่นที่สุดของแพทย์แผนไทยคือการดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของแพทย์แผนไทยในเรื่องสูตินรีแพทย์ ก่อนคลอดจะมีการบำรุงครรภ์ เพื่อเตรียมพร้อมในการคลอดลูก ส่วนหลังคลอดจะมีการอยู่ไฟ ที่หลายคนรู้จักกันดี ให้ยา อยู่ไฟ เข้าอู่ เพื่อให้เลือดลมกลับมาเป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม แม้ลักษณะเด่นของการทำคลอดแผนไทยจะอยู่ที่ก่อนคลอดและหลังคลอด แต่จุดอ่อนกลับเป็นช่วงขณะคลอด ซึ่งการแพทย์แบบตะวันตกมาตรฐานดีกว่า ฉะนั้นแล้ว การที่แม่ของเด็กเสียชีวิตหลังคลอดลูก แทบจะเป็นเรื่องปกติ ไม่ต่างจากการรอดชีวิตเลย สมัยก่อนคนโบราณจึงนิยมมีเมียมาก เพราะการตั้งครรภ์และคลอดลูกนั้น โอกาสที่จะตาย หรือรอดชีวิตแทบจะมีเท่ากัน จึงต้องมีเมียมากเพื่อจะได้เพิ่มโอกาสในการมีลูก

แม้เริ่มมีหมอฝรั่งเข้ามา แต่ในช่วงแรกชาวบ้านก็ยังนิยมหมอตำแยมากกว่า เหตุผลน่าจะมาจากการที่หมอฝรั่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย การให้ผู้ชายทำคลอดยังคงเป็นเรื่องน่าอายสำหรับสตรีผู้กำลังจะคลอดลูก แต่นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา การทำคลอดก็เริ่มนิยมให้หมอฝรั่งมีบทบาทมากขึ้น

การศึกษาเรื่องการทำคลอดแผนไทยและตะวันตก จึงทำให้เห็นความสำคัญของการบูรณาการศาสตร์ทั้งสองพรมแดน เพราะการแพทย์แผนไทยโดดเด่นด้านวิธีการเตรียมพร้อมก่อนคลอด และวิธีการฟื้นฟูหลังคลอด แต่ระหว่างคลอดกลับทำให้แม่เด็กมีอันตรายถึงแก่ชีวิตมานักต่อนัก ด้านการแพทย์ตะวันตก โดดเด่นด้านการทำคลอดอย่างเป็นระบบ การบูรณาการจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทำให้การทำคลอดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โอกาสที่จะต้องสูญเสียแม่เด็กไปก็จะลดน้อยลง

จากการศึกษาเรื่องสมุนไพร สาธารณสุข จนต่อยอดได้เป็นบทความถึง 5 บทความ ทำให้ประจักษ์ถึงคุณค่าของยาสมุนไพรยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมุนไพรไทย ยาไทย หรือยาแขนงใด ๆ ก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นดาบสองคม ไม่มีดีหมดจด ไม่มีเลวร้ายขั้นสุด จึงควรเลือกใช้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้สมุนไพร หรือยาไทย ยังมีลักษณะเด่นที่ประจักษ์ชัด 2 ประการ คือ การเป็นผลผลิตจากธรรมชาติ และเป็นการรักษาโดยมองแบบองค์รวม กล่าวคือ เมื่อรักษาอาการป่วยโรคนั้น ๆ ได้ ยาไทยก็จะช่วยให้สุขภาพหรืออาการอื่น ๆ ดีขึ้นตามมาเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ยาไทยบางชนิด เช่น กัญชา นอกจากช่วยรักษาโรคแล้ว ยังช่วยให้อยากกินข้าว ช่วยให้นอนหลับสบาย เป็นวัฏจักรของการมีสุขภาพดี การมองแบบองค์รวมเช่นนี้ จะทำให้โอกาสการป่วยด้วยโรคเดิม ๆ ลดเหลือน้อยลง นอกจากนี้ตำรับยาไทยมักจะมีตัวยาเป็นรสร้อน กระตุ้นให้มีอารมณ์ทางเพศ มีส่วนช่วยในการสร้างฐานครอบครัวนั่นเอง

ไม่ว่าจะยาไทย หรือยาฝรั่ง ต่างก็มีดี มีเอกลักษณ์เฉพาะ ดังนั้นเมื่อได้เรียนรู้ในหลายศาสตร์ หลายเชื้อชาติแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่จะไม่ทำให้องค์ความรู้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย สิ่งนั้นคือการบูรณาการนั่นเอง


รายการอ้างอิง

ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ศาสตราจารย์. ภก. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย