ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จากหมอไทย (พระแพทย์) สู่หมอฝรั่ง (มิชชันนารี)

ออกอากาศ24 พ.ย. 62

เรื่องเล่าจากละคร

จากหมอไทย (พระแพทย์)

สู่หมอฝรั่ง (มิชชันนารี)

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

การรับราชการในวังหลวงมีหลายตำแหน่งหน้าที่ด้วยกัน หนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญก็คือพระแพทย์ หรือหมอหลวง ผู้คอยรักษาอาการป่วยของเจ้านาย ตลอดจนพระมหากษัตริย์อย่างใกล้ชิด ครั้นเมื่อเห็นพัฒนาการของการแพทย์แผนฝรั่ง การมาของมิชชันนารี จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าเมื่อมิชชันนารีมามากมายเช่นนี้ พระแพทย์จะถูกลดบทบาทลงหรือไม่ มีความขัดแย้งมากน้อยแค่ไหน หรืออยู่ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสันติ จนกลายเป็นเนื้อหาในบทความนี้

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจนว่ามีมิชชันนารีเข้ามาเป็นจำนวนมาก ในรัชสมัยสมเด็จพระนรารายณ์มหาราช ครั้นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 2 จนถึงรัชกาลที่ 5 ก็ยิ่งมาเยอะเป็นทวี ส่วนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มาในลักษณะของมูลนิธิ มีบทบาทในการช่วยให้แพทย์แผนไทยพัฒนา

หมอไทย หรือพระแพทย์ มีหน้าที่ดูแลรักษาเจ้านาย หรือพระเจ้าแผ่นดิน แบ่งย่อยเป็นหลายกลุ่ม เช่น กรมหมอนวด กรมหมอยา ในระยะหลังเมื่อมีหมอฝรั่งกับหมอจีนเข้ามา อิทธิพลการแพทย์ต่างชาติจึงเริ่มเฟื่องฟู แต่อย่างไรก็ตาม การแพทย์แผนไทยยังคงมีอิทธิพลมาก มีเจ้านายหลายพระองค์ที่เรียนหมอ เช่น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท หรือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

สำหรับคำถามเรื่องความขัดแย้งระหว่างพระแพทย์กับมิชชันนารี ไม่ได้มีหลักฐานบันทึกเรื่องความขัดแย้งอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัยของเจ้านายแต่ละพระองค์ว่าจะเชื่อ วางใจ หรือโปรดการแพทย์แขนงใดมากกว่ากัน

ทั้งนี้ ยังมีบันทึกชัดเจนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเตือนว่าหมอฝรั่งจะเข้ามาสยามประเทศเป็นจำนวนมาก อนาคตการแพทย์แผนไทยอาจสูญหาย ขอให้คงรักษาไว้ ปัจจุบันจึงมีการสถาปนากรมการแพทย์แผนไทย ทุกวันนี้แพทย์แผนไทยจึงมิได้สูญหาย หลายสถาบันมีการเปิดสอนเพื่อสืบทอดภูมิปัญญา และมากกว่าการสืบทอด คือการที่แพทย์แผนไทยยังคงอยู่ให้ศึกษามาถึงปัจจุบัน นั้นสื่อถึงศักยภาพของการแพทย์แผนไทยที่ไม่ได้มีน้อยไปกว่าการแพทย์ฝรั่งเลย


รายการอ้างอิง

ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ศาสตราจารย์. ภก. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.

เรื่องเล่าจากละคร

จากหมอไทย (พระแพทย์)

สู่หมอฝรั่ง (มิชชันนารี)

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

การรับราชการในวังหลวงมีหลายตำแหน่งหน้าที่ด้วยกัน หนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญก็คือพระแพทย์ หรือหมอหลวง ผู้คอยรักษาอาการป่วยของเจ้านาย ตลอดจนพระมหากษัตริย์อย่างใกล้ชิด ครั้นเมื่อเห็นพัฒนาการของการแพทย์แผนฝรั่ง การมาของมิชชันนารี จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าเมื่อมิชชันนารีมามากมายเช่นนี้ พระแพทย์จะถูกลดบทบาทลงหรือไม่ มีความขัดแย้งมากน้อยแค่ไหน หรืออยู่ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสันติ จนกลายเป็นเนื้อหาในบทความนี้

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจนว่ามีมิชชันนารีเข้ามาเป็นจำนวนมาก ในรัชสมัยสมเด็จพระนรารายณ์มหาราช ครั้นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 2 จนถึงรัชกาลที่ 5 ก็ยิ่งมาเยอะเป็นทวี ส่วนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มาในลักษณะของมูลนิธิ มีบทบาทในการช่วยให้แพทย์แผนไทยพัฒนา

หมอไทย หรือพระแพทย์ มีหน้าที่ดูแลรักษาเจ้านาย หรือพระเจ้าแผ่นดิน แบ่งย่อยเป็นหลายกลุ่ม เช่น กรมหมอนวด กรมหมอยา ในระยะหลังเมื่อมีหมอฝรั่งกับหมอจีนเข้ามา อิทธิพลการแพทย์ต่างชาติจึงเริ่มเฟื่องฟู แต่อย่างไรก็ตาม การแพทย์แผนไทยยังคงมีอิทธิพลมาก มีเจ้านายหลายพระองค์ที่เรียนหมอ เช่น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท หรือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

สำหรับคำถามเรื่องความขัดแย้งระหว่างพระแพทย์กับมิชชันนารี ไม่ได้มีหลักฐานบันทึกเรื่องความขัดแย้งอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัยของเจ้านายแต่ละพระองค์ว่าจะเชื่อ วางใจ หรือโปรดการแพทย์แขนงใดมากกว่ากัน

ทั้งนี้ ยังมีบันทึกชัดเจนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเตือนว่าหมอฝรั่งจะเข้ามาสยามประเทศเป็นจำนวนมาก อนาคตการแพทย์แผนไทยอาจสูญหาย ขอให้คงรักษาไว้ ปัจจุบันจึงมีการสถาปนากรมการแพทย์แผนไทย ทุกวันนี้แพทย์แผนไทยจึงมิได้สูญหาย หลายสถาบันมีการเปิดสอนเพื่อสืบทอดภูมิปัญญา และมากกว่าการสืบทอด คือการที่แพทย์แผนไทยยังคงอยู่ให้ศึกษามาถึงปัจจุบัน นั้นสื่อถึงศักยภาพของการแพทย์แผนไทยที่ไม่ได้มีน้อยไปกว่าการแพทย์ฝรั่งเลย


รายการอ้างอิง

ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ศาสตราจารย์. ภก. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด
ละครบ้านชนะใจ

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย