เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
ฝรั่งมังค่า หรือชาวตะวันตก เข้ามายังสยามประเทศนั้น ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน เช่น เกิดความรักต่างเชื้อชาติ ดังเช่นพ่อกล้าในปลายจวักได้รักกับแหม่มกัททรีน ตลอดจนเรื่องหยูกยา การรักษาโรค แต่เดิมที่เราคุ้นชินกับแพทย์สมุนไทยแผนโบราณ ยาฝรั่งก็เข้ามาในแผ่นดินสยาม เปลี่ยนแปลงวิถีการรักษาโรคที่เป็นแบบเดิมมาเนิ่นนาน ทว่าสิ่งนี้คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญ ขึ้นชื่อว่าเป็นวิทยาการรักษาโรคแล้ว ไม่ควรเลยที่จะปิดใจ หรือมองข้ามความสำคัญนั้นไป
ยาฝรั่งเข้ามาในแผ่นดินสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีฝรั่งเข้ามาทั้งรูปแบบข้าราชการ ทูต หรือ มิชชันนารี เป็นต้น การแพทย์แผนฝรั่งเลยพลอยเข้ามาด้วย ซึ่งระยะแรกนั้นอยู่เพียงในรั้วในวัง สมเด็จพระนารายณ์ทรงไว้วางใจหมอฝรั่งสองคน คือ เมสีหมอฝรั่งและพระแพทย์โอสถฝรั่ง แม้ว่าสมัยนั้น พระองค์จะทรงให้ความสำคัญกับแพทย์แผนไทยถึงขั้นมีการโปรดให้รวบรวมเป็นตำราพระโอสถพระนารายณ์ แต่พระองค์ก็ทรงเห็นความสำคัญของแพทย์แผนฝรั่งเช่นกัน
ทว่าเมื่อสิ้นสุดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ล่วงเข้าราชวงศ์บ้านพลูหลวงในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา และสมเด็จพระเจ้าเสือ ความนิยมในการแพทย์แผนฝรั่งก็เหลือน้อยลงจนแทบจะสูญหายไป สืบเนื่องมาจากการที่พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์นี้ชิงชังชาติตะวันตกอยู่เป็นทุนเดิม แพทย์แผนฝรั่งจึงกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในแผ่นดินรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 มีสงคราม รัชกาลที่ 2 คือยุคทองแห่งวรรณคดี สมุนไพรฝรั่งก็เริ่มรุ่งเรือง มิชชันนารีเข้ามาบูรณาการระหว่างยาไทยกับยาฝรั่ง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยังรุ่งเรืองไม่ได้มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ไม่โปรดยาฝรั่ง ทำอย่างไรก็ไม่เสวย แม้ว่าหมอหลวงจะพยายามให้เสวยแล้วก็ตามที ในที่สุดพระองค์ก็สวรรคตด้วยไข้มาลาเรีย หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยาฝรั่งจึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยบุคคลสำคัญด้านสาธารณสุข หรือสมุนไพรในสมัยนั้นคือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ที่เขียนตำราพูดถึงยาฝรั่งไว้มากมาย
ในระยะหลังนั้น ยาฝรั่งสำเร็จรูปเริ่มมีราคาแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น จะหาซื้อยาฝรั่ง ยังหาได้ยากยิ่ง ถึงหาได้ก็มีราคาแพงเกินกว่าคนธรรมดาจะจ่ายได้ คนที่มีกำลังซื้อยาฝรั่งจึงมีเพียงเศรษฐีเท่านั้น จึงเริ่มมีการบูรณาการยาฝรั่งในตำรับยาไทย เช่น ใช้ยาดำมาทำเป็นยาถ่าย จนเกิดเป็นสำนวนว่า “แทรกเหมือนเป็นยาดำ” แปลว่า ทำให้หายป่วย หรือการนำมหาหิงคุ์จากเปอร์เซียมาใช้ทาท้องให้เด็กทารกแรกเกิด เป็นต้น
จึงเห็นได้ว่าบทความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาตินั้น เมื่อมีการถ่ายโอนวัฒนธรรมจากที่หนึ่งสู่อีกที่หนึ่ง ย่อมไม่มีการแบ่งเป็นฝักฝ่ายอย่างชัดเจน ไม่มีคำว่านั่นคือวิถีของฉัน นี่คือวิถีของเธอ เพราะสุดท้ายแล้วมันคือการบูรณาการ การปรับประยุกต์เพื่อให้นำมาซึ่งสิ่งที่ดีกว่าเดิม ดังเช่นสมุนไพรไทย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการมียาฝรั่งเข้ามาบูรณาการ หรือการมาพบกันระหว่างสมุนไพรไทยกับยาฝรั่งนี้ ย่อมก่อเกิดเป็นข้อดีอย่างมหาศาล กระบวนการรักษาโรคก็มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แม้แต่อายุสักหนึ่งชีวิตได้จากการบูรณาการดังกล่าว ก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงพลังแห่งสัมพันธไมตรีทางสาธารณสุขนี้อย่างมหาศาล
รายการอ้างอิง
ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ศาสตราจารย์. ภก. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.
เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
ฝรั่งมังค่า หรือชาวตะวันตก เข้ามายังสยามประเทศนั้น ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน เช่น เกิดความรักต่างเชื้อชาติ ดังเช่นพ่อกล้าในปลายจวักได้รักกับแหม่มกัททรีน ตลอดจนเรื่องหยูกยา การรักษาโรค แต่เดิมที่เราคุ้นชินกับแพทย์สมุนไทยแผนโบราณ ยาฝรั่งก็เข้ามาในแผ่นดินสยาม เปลี่ยนแปลงวิถีการรักษาโรคที่เป็นแบบเดิมมาเนิ่นนาน ทว่าสิ่งนี้คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญ ขึ้นชื่อว่าเป็นวิทยาการรักษาโรคแล้ว ไม่ควรเลยที่จะปิดใจ หรือมองข้ามความสำคัญนั้นไป
ยาฝรั่งเข้ามาในแผ่นดินสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีฝรั่งเข้ามาทั้งรูปแบบข้าราชการ ทูต หรือ มิชชันนารี เป็นต้น การแพทย์แผนฝรั่งเลยพลอยเข้ามาด้วย ซึ่งระยะแรกนั้นอยู่เพียงในรั้วในวัง สมเด็จพระนารายณ์ทรงไว้วางใจหมอฝรั่งสองคน คือ เมสีหมอฝรั่งและพระแพทย์โอสถฝรั่ง แม้ว่าสมัยนั้น พระองค์จะทรงให้ความสำคัญกับแพทย์แผนไทยถึงขั้นมีการโปรดให้รวบรวมเป็นตำราพระโอสถพระนารายณ์ แต่พระองค์ก็ทรงเห็นความสำคัญของแพทย์แผนฝรั่งเช่นกัน
ทว่าเมื่อสิ้นสุดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ล่วงเข้าราชวงศ์บ้านพลูหลวงในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา และสมเด็จพระเจ้าเสือ ความนิยมในการแพทย์แผนฝรั่งก็เหลือน้อยลงจนแทบจะสูญหายไป สืบเนื่องมาจากการที่พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์นี้ชิงชังชาติตะวันตกอยู่เป็นทุนเดิม แพทย์แผนฝรั่งจึงกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในแผ่นดินรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 มีสงคราม รัชกาลที่ 2 คือยุคทองแห่งวรรณคดี สมุนไพรฝรั่งก็เริ่มรุ่งเรือง มิชชันนารีเข้ามาบูรณาการระหว่างยาไทยกับยาฝรั่ง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยังรุ่งเรืองไม่ได้มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ไม่โปรดยาฝรั่ง ทำอย่างไรก็ไม่เสวย แม้ว่าหมอหลวงจะพยายามให้เสวยแล้วก็ตามที ในที่สุดพระองค์ก็สวรรคตด้วยไข้มาลาเรีย หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยาฝรั่งจึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยบุคคลสำคัญด้านสาธารณสุข หรือสมุนไพรในสมัยนั้นคือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ที่เขียนตำราพูดถึงยาฝรั่งไว้มากมาย
ในระยะหลังนั้น ยาฝรั่งสำเร็จรูปเริ่มมีราคาแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น จะหาซื้อยาฝรั่ง ยังหาได้ยากยิ่ง ถึงหาได้ก็มีราคาแพงเกินกว่าคนธรรมดาจะจ่ายได้ คนที่มีกำลังซื้อยาฝรั่งจึงมีเพียงเศรษฐีเท่านั้น จึงเริ่มมีการบูรณาการยาฝรั่งในตำรับยาไทย เช่น ใช้ยาดำมาทำเป็นยาถ่าย จนเกิดเป็นสำนวนว่า “แทรกเหมือนเป็นยาดำ” แปลว่า ทำให้หายป่วย หรือการนำมหาหิงคุ์จากเปอร์เซียมาใช้ทาท้องให้เด็กทารกแรกเกิด เป็นต้น
จึงเห็นได้ว่าบทความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาตินั้น เมื่อมีการถ่ายโอนวัฒนธรรมจากที่หนึ่งสู่อีกที่หนึ่ง ย่อมไม่มีการแบ่งเป็นฝักฝ่ายอย่างชัดเจน ไม่มีคำว่านั่นคือวิถีของฉัน นี่คือวิถีของเธอ เพราะสุดท้ายแล้วมันคือการบูรณาการ การปรับประยุกต์เพื่อให้นำมาซึ่งสิ่งที่ดีกว่าเดิม ดังเช่นสมุนไพรไทย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการมียาฝรั่งเข้ามาบูรณาการ หรือการมาพบกันระหว่างสมุนไพรไทยกับยาฝรั่งนี้ ย่อมก่อเกิดเป็นข้อดีอย่างมหาศาล กระบวนการรักษาโรคก็มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แม้แต่อายุสักหนึ่งชีวิตได้จากการบูรณาการดังกล่าว ก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงพลังแห่งสัมพันธไมตรีทางสาธารณสุขนี้อย่างมหาศาล
รายการอ้างอิง
ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ศาสตราจารย์. ภก. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.