เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
มนุษย์เราเกิดมาแล้วย่อมต้องพบพานความเจ็บไข้ได้ป่วย ตลอดจนถึงความตาย ปลายจวักก็คือละครที่สะท้อนชีวิตของมนุษย์ ชะตาชีวิตที่ทำให้ตัวละครต้องพบพานทั้งสุขและทุกข์ ผ่านเรื่องราวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากเปรียบเป็นรสอาหารก็คือความครบรส รสชาติแห่งความสุข เกิดจากความรัก ความหวัง ความรื่นรมย์อาจให้รสหวานหอม ขณะที่รสขมขื่นแห่งความทุกข์ที่ระทมที่สุด ย่อมไม่พ้นเรื่องของความเป็นความตาย เพราะตัวละครเหล่านี้เป็นคนธรรมดา หลายตัวละครในปลายจวักจึงต้องพบพานความทุกข์จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การทำละคร การเล่าชีวิตผู้คน จึงไม่สามารถเลี่ยงจะไม่พูดถึงความตาย ไม่สามารถมองข้ามเรื่องการรักษาโรค การยับยั้งมิให้การตายเกิดขึ้นได้
สมุนไพร เป็นเสมือนยาสามัญประจำบ้าน ที่คนไทยแก่กาลก่อนทุกบ้าน ทุกครัวเรือนต้องมี หลักการสำคัญของการเป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพร หรือยาแผนปัจจุบัน คือหาซื้อที่ไหนก็ได้ ซื้อมาดูแลอาการเจ็บป่วยทั่วไปของตนเองได้ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ท้องผูก เป็นต้น สมัยก่อนที่ยาแผนฝรั่งจะเข้ามา อาการเหล่านี้ก็รักษาผ่านสมุนไพรไทย
ความหมายของคำว่า “สมุนไพร” คือ บริวารแห่งป่า ผืนป่าแดนสยามกว้างใหญ่ไพศาล มีพืชพรรณมากมายเป็นบริวาร เปรียบได้กับผู้นำที่มีบริวารมากมาย ทั้งดีและชั่ว สมุนไพรก็มีทั้งให้คุณและให้โทษ จึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์เราที่จะพิจารณาว่าจะเลือกคบหากับบริวารแห่งผืนป่าชนิดใดได้มากน้อยแค่ไหน บริวารแห่งป่าเหล่านี้มีมาก การที่ใครจะศึกษาให้เข้าใจ รู้จัก และใช้เป็นอย่างละเอียดถ่องแท้ เป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งเวลาและปัญญาอย่างยิ่ง ดังเช่น หมอชีวกโกมารภัจจ์ ในสมัยพุทธกาล ที่ไปร่ำเรียนวิชาแพทย์จากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ หมอชีวกฯ จะเรียนจบก็ต่อเมื่อ เดินทั่วทั้งผืนป่า ทั้ง 4 ทิศ แล้วรู้จักพืชทุกชนิดที่อยู่ตรงหน้าได้เป็นอย่างดี สามารถบอกได้อย่างมั่นใจว่าไม่มีพืชชนิดใดที่ใช้ทำยาไม่ได้ ตราบที่รู้จักอย่างถ่องแท้ เมื่อนั้นจึงหมายความว่าท่านจบการศึกษาแล้ว
หากได้ชมละครปลายจวัก ก็จะพบว่าอาหารไทยหลายชนิดล้วนมีส่วนผสมหลักเป็นสมุนไพรไทย เช่น ขมิ้น ขิง ข่า กระชาย ฯลฯ ยากับอาหารจึงแยกจากกันได้ยาก เพราะเมื่อยาเหล่านี้ถูกไปปรุงเป็นอาหารรสล้ำ อาหารจึงไม่เพียงแต่ให้ความอร่อย แต่ยังทำหน้าที่เป็นยาไปโดยปริยาย ในขณะเดียวกัน ความเป็นยารักษากับความเป็นยาพิษก็มีเส้นบางคาบเกี่ยวกันอยู่ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง หากกินมากไป เกินพอดี ก็ย่อมเป็นพิษ
สมุนไพรจึงเป็นเสมือนดาบสองคม ทั้งบำบัดรักษาและทำให้เกิดพิษเป็นทวีได้ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง และรู้จักกับสมุนไพรชนิดนั้นให้ดีที่สุด ตัวอย่างที่ชัดเจนคือกัญชา ในอดีต เรารู้จักกัญชาจากการเป็นอาหาร เป็นยามาก่อน มักใช้ในยาแผนไทย ทำให้เจริญอาหาร ทำให้กินข้าวได้มาก เนื้อหนังมังสาก็พลอยอุดมสมบูรณ์ ช่วยให้หลับสบาย แก้ปวด ซึ่งไม่ใช่แค่ในไทย แต่ในต่างประเทศก็นิยมเอากัญชาไปใช้ ทว่าหลายคนนำกัญชาไปใช้ในปริมาณเกินพอดี จนกลายเป็นยาเสพติด ในระยะหลังมานี้กัญชาจึงมีสถานะในความทรงจำของคนส่วนใหญ่ว่าเป็นยาเสพติดเท่านั้น หากนำมาใช้เป็นยา ย่อมถูกหลายคนคัดค้าน ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นทุกอย่างต่างล้วนเป็นดาบสองคมทั้งสิ้น
การศึกษาเรื่องยาสมุนไพร กับเรื่องของความเป็นความตาย มีจุดร่วมกันคือเรื่องของความพอดี อะไรที่สุดโต่งเกินไป เกินความพอดี ย่อมส่งผลร้ายต่อตนเองและคนรอบข้าง หากรับสมุนไพรเข้าสู่ร่างกายอย่างผิดวิธี หรือมากเกินไป จากการเป็นยารักษาก็จะกลายเป็นพิษ เช่นเดียวกันกับความตาย หากพบพานการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักแล้ว ยังฝังใจกับความเสียใจนั้นอย่างสุดโต่ง ดังเช่นคุณหลวงพิชัยธานีที่ฝังใจในการสูญเสียคุณช้อย จนพลอยเกลียดลูกสาวคือแม่อ่อน หากชีวิตนี้ยังตัดความสุดโต่งนั้นไปไม่ได้ ยังอยู่กับความเสียใจท่วมท้นจนเกินพอดี ทั้งชีวิตนี้ย่อมยากที่จะพบพานกับสิ่งที่เรียกว่าความสุข
รายการอ้างอิง
ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ศาสตราจารย์. ภก. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.
เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย
มนุษย์เราเกิดมาแล้วย่อมต้องพบพานความเจ็บไข้ได้ป่วย ตลอดจนถึงความตาย ปลายจวักก็คือละครที่สะท้อนชีวิตของมนุษย์ ชะตาชีวิตที่ทำให้ตัวละครต้องพบพานทั้งสุขและทุกข์ ผ่านเรื่องราวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากเปรียบเป็นรสอาหารก็คือความครบรส รสชาติแห่งความสุข เกิดจากความรัก ความหวัง ความรื่นรมย์อาจให้รสหวานหอม ขณะที่รสขมขื่นแห่งความทุกข์ที่ระทมที่สุด ย่อมไม่พ้นเรื่องของความเป็นความตาย เพราะตัวละครเหล่านี้เป็นคนธรรมดา หลายตัวละครในปลายจวักจึงต้องพบพานความทุกข์จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การทำละคร การเล่าชีวิตผู้คน จึงไม่สามารถเลี่ยงจะไม่พูดถึงความตาย ไม่สามารถมองข้ามเรื่องการรักษาโรค การยับยั้งมิให้การตายเกิดขึ้นได้
สมุนไพร เป็นเสมือนยาสามัญประจำบ้าน ที่คนไทยแก่กาลก่อนทุกบ้าน ทุกครัวเรือนต้องมี หลักการสำคัญของการเป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพร หรือยาแผนปัจจุบัน คือหาซื้อที่ไหนก็ได้ ซื้อมาดูแลอาการเจ็บป่วยทั่วไปของตนเองได้ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ท้องผูก เป็นต้น สมัยก่อนที่ยาแผนฝรั่งจะเข้ามา อาการเหล่านี้ก็รักษาผ่านสมุนไพรไทย
ความหมายของคำว่า “สมุนไพร” คือ บริวารแห่งป่า ผืนป่าแดนสยามกว้างใหญ่ไพศาล มีพืชพรรณมากมายเป็นบริวาร เปรียบได้กับผู้นำที่มีบริวารมากมาย ทั้งดีและชั่ว สมุนไพรก็มีทั้งให้คุณและให้โทษ จึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์เราที่จะพิจารณาว่าจะเลือกคบหากับบริวารแห่งผืนป่าชนิดใดได้มากน้อยแค่ไหน บริวารแห่งป่าเหล่านี้มีมาก การที่ใครจะศึกษาให้เข้าใจ รู้จัก และใช้เป็นอย่างละเอียดถ่องแท้ เป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งเวลาและปัญญาอย่างยิ่ง ดังเช่น หมอชีวกโกมารภัจจ์ ในสมัยพุทธกาล ที่ไปร่ำเรียนวิชาแพทย์จากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ หมอชีวกฯ จะเรียนจบก็ต่อเมื่อ เดินทั่วทั้งผืนป่า ทั้ง 4 ทิศ แล้วรู้จักพืชทุกชนิดที่อยู่ตรงหน้าได้เป็นอย่างดี สามารถบอกได้อย่างมั่นใจว่าไม่มีพืชชนิดใดที่ใช้ทำยาไม่ได้ ตราบที่รู้จักอย่างถ่องแท้ เมื่อนั้นจึงหมายความว่าท่านจบการศึกษาแล้ว
หากได้ชมละครปลายจวัก ก็จะพบว่าอาหารไทยหลายชนิดล้วนมีส่วนผสมหลักเป็นสมุนไพรไทย เช่น ขมิ้น ขิง ข่า กระชาย ฯลฯ ยากับอาหารจึงแยกจากกันได้ยาก เพราะเมื่อยาเหล่านี้ถูกไปปรุงเป็นอาหารรสล้ำ อาหารจึงไม่เพียงแต่ให้ความอร่อย แต่ยังทำหน้าที่เป็นยาไปโดยปริยาย ในขณะเดียวกัน ความเป็นยารักษากับความเป็นยาพิษก็มีเส้นบางคาบเกี่ยวกันอยู่ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง หากกินมากไป เกินพอดี ก็ย่อมเป็นพิษ
สมุนไพรจึงเป็นเสมือนดาบสองคม ทั้งบำบัดรักษาและทำให้เกิดพิษเป็นทวีได้ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง และรู้จักกับสมุนไพรชนิดนั้นให้ดีที่สุด ตัวอย่างที่ชัดเจนคือกัญชา ในอดีต เรารู้จักกัญชาจากการเป็นอาหาร เป็นยามาก่อน มักใช้ในยาแผนไทย ทำให้เจริญอาหาร ทำให้กินข้าวได้มาก เนื้อหนังมังสาก็พลอยอุดมสมบูรณ์ ช่วยให้หลับสบาย แก้ปวด ซึ่งไม่ใช่แค่ในไทย แต่ในต่างประเทศก็นิยมเอากัญชาไปใช้ ทว่าหลายคนนำกัญชาไปใช้ในปริมาณเกินพอดี จนกลายเป็นยาเสพติด ในระยะหลังมานี้กัญชาจึงมีสถานะในความทรงจำของคนส่วนใหญ่ว่าเป็นยาเสพติดเท่านั้น หากนำมาใช้เป็นยา ย่อมถูกหลายคนคัดค้าน ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นทุกอย่างต่างล้วนเป็นดาบสองคมทั้งสิ้น
การศึกษาเรื่องยาสมุนไพร กับเรื่องของความเป็นความตาย มีจุดร่วมกันคือเรื่องของความพอดี อะไรที่สุดโต่งเกินไป เกินความพอดี ย่อมส่งผลร้ายต่อตนเองและคนรอบข้าง หากรับสมุนไพรเข้าสู่ร่างกายอย่างผิดวิธี หรือมากเกินไป จากการเป็นยารักษาก็จะกลายเป็นพิษ เช่นเดียวกันกับความตาย หากพบพานการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักแล้ว ยังฝังใจกับความเสียใจนั้นอย่างสุดโต่ง ดังเช่นคุณหลวงพิชัยธานีที่ฝังใจในการสูญเสียคุณช้อย จนพลอยเกลียดลูกสาวคือแม่อ่อน หากชีวิตนี้ยังตัดความสุดโต่งนั้นไปไม่ได้ ยังอยู่กับความเสียใจท่วมท้นจนเกินพอดี ทั้งชีวิตนี้ย่อมยากที่จะพบพานกับสิ่งที่เรียกว่าความสุข
รายการอ้างอิง
ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ศาสตราจารย์. ภก. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์. สัมภาษณ์. 29 มิถุนายน 2563.