เมืองอู่ฮั่นของจีนเริ่มฟื้นตัว หลังล็อกดาวน์เมื่อเดือน ม.ค. - เม.ย. 63 และไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 นาน 8 เดือน
องค์การอนามัยโลก ส่งทีมสอบสวนโรคเข้าไปในจีน เพื่อหาต้นตอการระบาดของโควิด-19
ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เอส S และ L มีจุดเริ่มต้นจากจีน สายพันธุ์ L แพร่ระบาดได้ดีในยุโรป และแตกออกเป็นสายพันธุ์ G และ V สายพันธุ์ G แพร่กระจายได้ง่ายจึงระบาดไปทั่วโลก เกิดเป็นสายพันธุ์ลูกอย่าง GR และ GH
ล็อกดาวน์ จ.สมุทรสาคร หลังจากตลาดกลางกุ้งกลายเป็นจุดแพร่ระบาด พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 คนแรกในรอบกว่า 250 วัน ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งไม่หยุด
นายอนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ระบุไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ GH ที่กำลังแพร่ระบาดในไทย แพร่กระจายง่าย แต่ไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น คาดว่ามีที่มาจากอินเดีย บังกลาเทศ และเมียนมา
ชาวโรฮิงญา 7 คน จาก 18 คน ที่ถูกจับ ม.ค. 64 ที่ กทม.ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมดมาจากรัฐยะไข่ เมียนมา ลอบเข้าไทยทาง อ.แม่สอด จ.ตาก เพื่อไปทำงานที่มาเลเซีย โดยจ่ายค่านายหน้าคนละ 6,000 บาท
การลักลอบเข้าไทย เกิดขึ้นในช่วงที่มีด่านความมั่นคงสกัดการระบาดโควิด-19 นายศิววงศ์ สุขทวี ที่ปรึกษาเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ มองว่าขบวนการลักลอบนำคนเข้าเมือง มีเจ้าหน้าที่รัฐบางคนเกี่ยวข้อง
แหล่งท่องเที่ยวภาคตะวันออกซบเซา หลังบ่อนการพนัน จ.ระยอง เป็นจุดเริ่มต้นการระบาดโควิด-19
2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อ จ.ชลบุรี เกี่ยวข้องกับบ่อนพนันภาคตะวันออก แต่สถิติคดีการพนันจาก สตช. ไม่พบการแจ้งคดีและการจับคดีการพนันตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นมาทั้ง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ส่วน จ.ชลบุรี พบดำเนินคดีเฉลี่ย 2 คดีต่อปี
ไทยจัดหาวัคซีนโควิด-19 จาก AstraZeneka และ Sinovac ไม่นับกรณีเข้าร่วมโครงการจัดหาวัคซีนขององค์การอนามัยโลก อย่าง COVAX และการพัฒนาวัคซีนในประเทศ
ปลายเดือน ก.พ. 64 ไทยจะได้วัคซีนล็อตแรกจาก Sinovac 200,000 โดส, มี.ค. 800,000 โดส และ เม.ย. 1 ล้านโดส
วัคซีนล็อตแรกจาก Sinovac 200,000 โดส ให้บุคลากรทางการแพทย์และ สธ.ด่านหน้า อสม. จนท.ภาคสนามควบคุมโรค จ.สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อที่มีภาวะแทรกซ้อนสูง และกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ
ไทยจัดซื้อวัคซีนล่วงหน้ากับ AstraZeneka 61 ล้านโดส มี บจ.สยามไบโอไซเอนซ์ เป็นผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและผลิตวัคซีน คาดว่าเดือน พ.ค. - มิ.ย. ได้ล็อตแรก 26 ล้านโดส ฉีดให้กลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ
กระทรวงสาธารณสุข คาดว่าภายในปี 64 ประชากรกว่า 33 ล้านคน หรือร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด จะได้รับวัคซีนโควิด-19
ติดตามชมในรายการเปิดปม วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2564 เวลา 21.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เมืองอู่ฮั่นของจีนเริ่มฟื้นตัว หลังล็อกดาวน์เมื่อเดือน ม.ค. - เม.ย. 63 และไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 นาน 8 เดือน
องค์การอนามัยโลก ส่งทีมสอบสวนโรคเข้าไปในจีน เพื่อหาต้นตอการระบาดของโควิด-19
ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เอส S และ L มีจุดเริ่มต้นจากจีน สายพันธุ์ L แพร่ระบาดได้ดีในยุโรป และแตกออกเป็นสายพันธุ์ G และ V สายพันธุ์ G แพร่กระจายได้ง่ายจึงระบาดไปทั่วโลก เกิดเป็นสายพันธุ์ลูกอย่าง GR และ GH
ล็อกดาวน์ จ.สมุทรสาคร หลังจากตลาดกลางกุ้งกลายเป็นจุดแพร่ระบาด พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 คนแรกในรอบกว่า 250 วัน ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งไม่หยุด
นายอนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ระบุไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ GH ที่กำลังแพร่ระบาดในไทย แพร่กระจายง่าย แต่ไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น คาดว่ามีที่มาจากอินเดีย บังกลาเทศ และเมียนมา
ชาวโรฮิงญา 7 คน จาก 18 คน ที่ถูกจับ ม.ค. 64 ที่ กทม.ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมดมาจากรัฐยะไข่ เมียนมา ลอบเข้าไทยทาง อ.แม่สอด จ.ตาก เพื่อไปทำงานที่มาเลเซีย โดยจ่ายค่านายหน้าคนละ 6,000 บาท
การลักลอบเข้าไทย เกิดขึ้นในช่วงที่มีด่านความมั่นคงสกัดการระบาดโควิด-19 นายศิววงศ์ สุขทวี ที่ปรึกษาเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ มองว่าขบวนการลักลอบนำคนเข้าเมือง มีเจ้าหน้าที่รัฐบางคนเกี่ยวข้อง
แหล่งท่องเที่ยวภาคตะวันออกซบเซา หลังบ่อนการพนัน จ.ระยอง เป็นจุดเริ่มต้นการระบาดโควิด-19
2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อ จ.ชลบุรี เกี่ยวข้องกับบ่อนพนันภาคตะวันออก แต่สถิติคดีการพนันจาก สตช. ไม่พบการแจ้งคดีและการจับคดีการพนันตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นมาทั้ง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ส่วน จ.ชลบุรี พบดำเนินคดีเฉลี่ย 2 คดีต่อปี
ไทยจัดหาวัคซีนโควิด-19 จาก AstraZeneka และ Sinovac ไม่นับกรณีเข้าร่วมโครงการจัดหาวัคซีนขององค์การอนามัยโลก อย่าง COVAX และการพัฒนาวัคซีนในประเทศ
ปลายเดือน ก.พ. 64 ไทยจะได้วัคซีนล็อตแรกจาก Sinovac 200,000 โดส, มี.ค. 800,000 โดส และ เม.ย. 1 ล้านโดส
วัคซีนล็อตแรกจาก Sinovac 200,000 โดส ให้บุคลากรทางการแพทย์และ สธ.ด่านหน้า อสม. จนท.ภาคสนามควบคุมโรค จ.สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อที่มีภาวะแทรกซ้อนสูง และกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ
ไทยจัดซื้อวัคซีนล่วงหน้ากับ AstraZeneka 61 ล้านโดส มี บจ.สยามไบโอไซเอนซ์ เป็นผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและผลิตวัคซีน คาดว่าเดือน พ.ค. - มิ.ย. ได้ล็อตแรก 26 ล้านโดส ฉีดให้กลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ
กระทรวงสาธารณสุข คาดว่าภายในปี 64 ประชากรกว่า 33 ล้านคน หรือร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด จะได้รับวัคซีนโควิด-19
ติดตามชมในรายการเปิดปม วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2564 เวลา 21.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live