ติดตามปัญหาความขาดแคลนทรายและหินที่ใช้ในการก่อสร้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่แม้จังหวัดจะจัดโซนนิ่งให้ดูดทรายในแม่น้ำปายและอนุญาตให้เจ้าของท่าทรายทั้ง 12 แห่ง ขุดตักทรายขึ้นมาขายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อความต้องการทรายและหินเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ผู้ประกอบการบางรายจึงลักลอบขุดตักทรายด้วยเครื่องจักรหนักจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
"การขออนุญาตให้ตักทรายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ 4 กระทรวง
กระทรวงมหาดไทย กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทำประชาคมหมู่บ้านก่อนยื่นเอกสารขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่พิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น พื้นที่ที่ขออนุญาต้องอยู่ในเขตโซนนิ่งของจังหวัด , ห่างจากสะพาน , สถานที่ราชการ , โบราณสถาน รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่า 500 เมตร
กระทรวงคมนาคม โดยเจ้าท่าจังหวัดจะพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในคุ้งน้ำหรือไม่ รวมถึงการตักทรายต้องไม่เปลี่ยนทิศทางน้ำและไม่กีดขวางการเดินเรือ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะพิจารณาว่าพื้นที่ขุดตักทรายต้องไม่ส่งผลกระทบต่อป่าไม้และสิ่งแวดล้อม หากการขุดตักทรายเกิดขึ้นในพื้นที่ป่า ผู้ประกอบการต้องเช่าที่ดินในเขตป่าไม้เพื่อวางกองทรายในอัตราปีละ 5 บาทต่อแปลง
ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรม จะพิจารณาเรื่องการอนุญาตให้ใช้เครื่องจักร เช่น รถขุดดิน , รถแทรกเตอร์ , สายพานลำเลียง และ เครื่องร่อนหินกรวดเฉพาะในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์เท่านั้น ส่วนในแม่น้ำปาย ผู้ประกอบการต้องขุดหรือตักทรายด้วยแรงงานคนเท่านั้น "
จากการลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดปมพบคะว่า มีโครงการก่อสร้างผุดขึ้นหลายแห่ง ทั้งโครงการก่อสร้างบ้านเรือนขนาดเล็ก โครงการก่อสร้างอาคารพานิชขนาดกลาง และโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เช่นอาคารเรียน ซึ่งทกโครงการล้วนแต่ใช้ทรายเป็นวัตถุดิบ
แต่การตักทรายได้วันละประมาณ 150 - 200 ลูกบาศก์เมตร นั้นเพียงพอสำหรับการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กเท่านั้น แต่หากจะให้เพียงพอสำหรับโครงการขนาดใหญ่ ต้องตักทรายให้ได้รวม 200 – 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดังนั้น ทุกวันนี้ เมื่อมีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้น ปริมาณทรายที่ได้ในแต่ละวันจึงไม่เพียงพอ ทำให้หลายโครงการได้รับผลกระทบ
ความขาดแคลนทราย รวมถึง ข้อกำหนดที่ต้องใช้วิธีการตักทรายเท่านั้น อาจเป็นสาเหตุให้มีบางคนเห็นช่องทางสร้างผลกำไรจากการลักลอบขุดทรายโดยใช้เครื่องจักรกลหนัก วันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบท่าทรายแห่งหนึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังจากมีผู้ร้องเรียนว่า มีการลักลอบขุดทรายโดยใช้เครื่องจักรกลหนักโดยไม่ได้รับอนุญาต และ รุกล้ำที่สาธารณะ
การจัดโซนนิ่งให้ตักทรายจากแม่น้ำปาย เป็นมาตรการที่ทางจังหวัดนำมาใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านรวมถึงผู้ประกอบการที่ขาดแคลนทรายและหินใช้ในงานก่อสร้าง แต่ดูเหมือนทรายที่ตักได้จากแม่น้ำปายจะยังไม่เพียงพอต่อการเติบโตของจังหวัด ล่าสุด ผู้ประกอบการทั้ง 12 รายได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ทางจังหวัดพิจารณาให้พวกเขาสามารถใช้เครื่องดูดทรายได้ แต่ข้อเรียกร้องนี้ถูกทักท้วงโดยกลุ่มนักอนุรักษ์ที่กังวลว่า จะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำปายและสภาพแวดล้อมโดยรวมของจังหวัด
ข้อมูลจากเครือข่ายการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระบุว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปายในอำเภอปาย และ แม่น้ำยวม อำเภอแม่สะเรียง หลังจากมีการลักลอบใช้เครื่องจักรดูดทรายอาจเป็นกรณีศึกษาสำหรับ คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ดูดทรายประจำจังหวัด ที่จะนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้ผู้ประกอบการทั้ง 12 ราย ใช้เครื่องจักรดูดทรายในแม่น้ำปาย ตามที่ร้องขอหรือไม่
ติดตามชมรายการเปิดปม ตอน รุกคืบเอาทราย วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายนนี้ เวลา 20.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ติดตามปัญหาความขาดแคลนทรายและหินที่ใช้ในการก่อสร้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่แม้จังหวัดจะจัดโซนนิ่งให้ดูดทรายในแม่น้ำปายและอนุญาตให้เจ้าของท่าทรายทั้ง 12 แห่ง ขุดตักทรายขึ้นมาขายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อความต้องการทรายและหินเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ผู้ประกอบการบางรายจึงลักลอบขุดตักทรายด้วยเครื่องจักรหนักจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
"การขออนุญาตให้ตักทรายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ 4 กระทรวง
กระทรวงมหาดไทย กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทำประชาคมหมู่บ้านก่อนยื่นเอกสารขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่พิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น พื้นที่ที่ขออนุญาต้องอยู่ในเขตโซนนิ่งของจังหวัด , ห่างจากสะพาน , สถานที่ราชการ , โบราณสถาน รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่า 500 เมตร
กระทรวงคมนาคม โดยเจ้าท่าจังหวัดจะพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในคุ้งน้ำหรือไม่ รวมถึงการตักทรายต้องไม่เปลี่ยนทิศทางน้ำและไม่กีดขวางการเดินเรือ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะพิจารณาว่าพื้นที่ขุดตักทรายต้องไม่ส่งผลกระทบต่อป่าไม้และสิ่งแวดล้อม หากการขุดตักทรายเกิดขึ้นในพื้นที่ป่า ผู้ประกอบการต้องเช่าที่ดินในเขตป่าไม้เพื่อวางกองทรายในอัตราปีละ 5 บาทต่อแปลง
ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรม จะพิจารณาเรื่องการอนุญาตให้ใช้เครื่องจักร เช่น รถขุดดิน , รถแทรกเตอร์ , สายพานลำเลียง และ เครื่องร่อนหินกรวดเฉพาะในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์เท่านั้น ส่วนในแม่น้ำปาย ผู้ประกอบการต้องขุดหรือตักทรายด้วยแรงงานคนเท่านั้น "
จากการลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดปมพบคะว่า มีโครงการก่อสร้างผุดขึ้นหลายแห่ง ทั้งโครงการก่อสร้างบ้านเรือนขนาดเล็ก โครงการก่อสร้างอาคารพานิชขนาดกลาง และโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เช่นอาคารเรียน ซึ่งทกโครงการล้วนแต่ใช้ทรายเป็นวัตถุดิบ
แต่การตักทรายได้วันละประมาณ 150 - 200 ลูกบาศก์เมตร นั้นเพียงพอสำหรับการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กเท่านั้น แต่หากจะให้เพียงพอสำหรับโครงการขนาดใหญ่ ต้องตักทรายให้ได้รวม 200 – 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดังนั้น ทุกวันนี้ เมื่อมีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้น ปริมาณทรายที่ได้ในแต่ละวันจึงไม่เพียงพอ ทำให้หลายโครงการได้รับผลกระทบ
ความขาดแคลนทราย รวมถึง ข้อกำหนดที่ต้องใช้วิธีการตักทรายเท่านั้น อาจเป็นสาเหตุให้มีบางคนเห็นช่องทางสร้างผลกำไรจากการลักลอบขุดทรายโดยใช้เครื่องจักรกลหนัก วันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบท่าทรายแห่งหนึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังจากมีผู้ร้องเรียนว่า มีการลักลอบขุดทรายโดยใช้เครื่องจักรกลหนักโดยไม่ได้รับอนุญาต และ รุกล้ำที่สาธารณะ
การจัดโซนนิ่งให้ตักทรายจากแม่น้ำปาย เป็นมาตรการที่ทางจังหวัดนำมาใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านรวมถึงผู้ประกอบการที่ขาดแคลนทรายและหินใช้ในงานก่อสร้าง แต่ดูเหมือนทรายที่ตักได้จากแม่น้ำปายจะยังไม่เพียงพอต่อการเติบโตของจังหวัด ล่าสุด ผู้ประกอบการทั้ง 12 รายได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ทางจังหวัดพิจารณาให้พวกเขาสามารถใช้เครื่องดูดทรายได้ แต่ข้อเรียกร้องนี้ถูกทักท้วงโดยกลุ่มนักอนุรักษ์ที่กังวลว่า จะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำปายและสภาพแวดล้อมโดยรวมของจังหวัด
ข้อมูลจากเครือข่ายการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระบุว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปายในอำเภอปาย และ แม่น้ำยวม อำเภอแม่สะเรียง หลังจากมีการลักลอบใช้เครื่องจักรดูดทรายอาจเป็นกรณีศึกษาสำหรับ คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ดูดทรายประจำจังหวัด ที่จะนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้ผู้ประกอบการทั้ง 12 ราย ใช้เครื่องจักรดูดทรายในแม่น้ำปาย ตามที่ร้องขอหรือไม่
ติดตามชมรายการเปิดปม ตอน รุกคืบเอาทราย วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายนนี้ เวลา 20.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live