ทำไม ประเทศไทยต้องมีกฎหมายจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ !!!
.....
ปี 2559
ประเทศไทยมีปริมาณของเสียอันตราย 606,319 ตัน
ในจำนวนนี้ 393,070 ตัน เป็นซากเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การทิ้ง , การแกะแยก และ การจัดการซากที่ไร้มูลค่าแล้ว เกิดขึ้นโดยปราศจากการควบคุม
พบสารโลหะหนักปนเปื้อนในสภาพแวดล้อม และ ในเลือดของคนในชุมชนที่มีการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบัน 59 ประเทศ 27 รัฐในสหรัฐอเมริกา และ 9 รัฐในแคนาดา มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจัดระบบการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ภายใต้หลักการ "ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต" ซึ่งรวมถึงประเทศจีน , อินเดีย และเวียดนาม ก็มีกฎหมายเฉพาะดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว
กว่า 2 ปีที่กรมควบคุมมลพิษยกร่างกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯ ถึงวันนี้ ไทยยังคงเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ยังอยู่ระหว่างการออกกฎหมาย เช่นเดียวกับ เคนยา , ชิลี และ อินโดนีเซีย
ติดตามชมรายการเปิดปม ตอน ฉากจบขยะไฮเทค วันจันทร์ที่ 13 มีนาคมนี้ เวลา 20.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ทำไม ประเทศไทยต้องมีกฎหมายจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ !!!
.....
ปี 2559
ประเทศไทยมีปริมาณของเสียอันตราย 606,319 ตัน
ในจำนวนนี้ 393,070 ตัน เป็นซากเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การทิ้ง , การแกะแยก และ การจัดการซากที่ไร้มูลค่าแล้ว เกิดขึ้นโดยปราศจากการควบคุม
พบสารโลหะหนักปนเปื้อนในสภาพแวดล้อม และ ในเลือดของคนในชุมชนที่มีการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบัน 59 ประเทศ 27 รัฐในสหรัฐอเมริกา และ 9 รัฐในแคนาดา มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจัดระบบการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ภายใต้หลักการ "ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต" ซึ่งรวมถึงประเทศจีน , อินเดีย และเวียดนาม ก็มีกฎหมายเฉพาะดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว
กว่า 2 ปีที่กรมควบคุมมลพิษยกร่างกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯ ถึงวันนี้ ไทยยังคงเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ยังอยู่ระหว่างการออกกฎหมาย เช่นเดียวกับ เคนยา , ชิลี และ อินโดนีเซีย
ติดตามชมรายการเปิดปม ตอน ฉากจบขยะไฮเทค วันจันทร์ที่ 13 มีนาคมนี้ เวลา 20.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live