ขณะนี้ "ข่าวลวง" เป็นปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญ เพราะผลกระทบของมันน่ากลัวเกินกว่าที่จะนิ่งเฉย โดยเฉพาะ "ข่าวลวง" ที่แพร่กระจายเข้าไปในสื่อออนไลน์ มันจะถูกส่งต่อกันซ้ำ ๆ และย้อนกลับมาสร้างความปั่นป่วนได้เสมอ เรียกได้ว่า "ข่าวลวงไม่มีวันตาย" เลยทีเดียว ยิ่งในช่วงวิกฤต COVID-19 "ข่าวหรือข้อมูลลวง" ก็กลายเป็นอุปสรรคใหญ่ในการรับมือกับโรคระบาดครั้งนี้ อย่างเช่น คำกล่าวของนายอังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติ ที่ออกมาเตือนว่า "ข้อมูลลวง" ถือเป็นศัตรูในการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 เช่นเดียวกับองค์การอนามัยโลกที่กล่าวว่า "ข้อมูลข่าวสารลวง" เกิดการแพร่ระบาดไม่ต่างจากโรค COVID-19 จึงตั้งชื่อปรากฏการณ์นี้ว่า Infodemic หมายถึง สภาวะความท่วมท้นของข้อมูลที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีทั้งเรื่องจริงบ้าง ลวงบ้าง ส่งผลให้ผู้คนไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ แล้วเราจะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยกันหยุดยั้ง "ข้อมูลลวง" ในสื่อออนไลน์ ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน
ติดตามชมรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS
ขณะนี้ "ข่าวลวง" เป็นปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญ เพราะผลกระทบของมันน่ากลัวเกินกว่าที่จะนิ่งเฉย โดยเฉพาะ "ข่าวลวง" ที่แพร่กระจายเข้าไปในสื่อออนไลน์ มันจะถูกส่งต่อกันซ้ำ ๆ และย้อนกลับมาสร้างความปั่นป่วนได้เสมอ เรียกได้ว่า "ข่าวลวงไม่มีวันตาย" เลยทีเดียว ยิ่งในช่วงวิกฤต COVID-19 "ข่าวหรือข้อมูลลวง" ก็กลายเป็นอุปสรรคใหญ่ในการรับมือกับโรคระบาดครั้งนี้ อย่างเช่น คำกล่าวของนายอังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติ ที่ออกมาเตือนว่า "ข้อมูลลวง" ถือเป็นศัตรูในการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 เช่นเดียวกับองค์การอนามัยโลกที่กล่าวว่า "ข้อมูลข่าวสารลวง" เกิดการแพร่ระบาดไม่ต่างจากโรค COVID-19 จึงตั้งชื่อปรากฏการณ์นี้ว่า Infodemic หมายถึง สภาวะความท่วมท้นของข้อมูลที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีทั้งเรื่องจริงบ้าง ลวงบ้าง ส่งผลให้ผู้คนไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ แล้วเราจะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยกันหยุดยั้ง "ข้อมูลลวง" ในสื่อออนไลน์ ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน
ติดตามชมรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS