ใครเคยมีเพื่อนในโซเชียลมีเดียที่ชอบโพสต์ระบายความรู้สึกด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือแสดงความเกรี้ยวกราดตลอดเวลาไหม ไม่ว่าจะเจอเรื่องราวอะไรในชีวิตที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจ ไม่ว่าจะถูกขับรถปาดหน้า ถูกแซงคิว หรือขึ้นรถเมล์ผิดสาย ก็มักจะโพสต์ทุกอย่างลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินกรีนเบย์บอกว่า เมื่อคนเหล่านี้ได้โพสต์ข้อความออกไปก็จะรู้สึกพึงพอใจและบางครั้งก็รู้สึกสะใจด้วยซ้ำ หรือเพื่อนบางคนที่มักโพสต์ข้อความแสดงความท้อแท้ ผิดหวังหรือในทำนองที่ไม่อยากมีชีวิตอีกต่อไปแล้ว และไม่ว่าเราจะพยายามเข้าไปพูดคุย หรือช่วยเหลือเท่าไร ก็ดูเหมือนว่าเพื่อนคนนี้ก็ยังคงโพสต์ข้อความในทำนองนี้อยู่เรื่อย ๆ แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ดูเผิน ๆ แล้วจะไม่มีอะไรมากไปกว่าการชอบโพสต์ ชอบแชร์เรื่องราวตามประสาของคนในโซเชียล แต่จริง ๆ แล้วพฤติกรรมเหล่านี้อาจหมายถึง ภาวะการเรียกร้องความสนใจ หรือ Attention Seeking แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเพื่อนในโลกออนไลน์ของเรา ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ หรือแค่เรียกร้องความสนใจ ?
ติดตามชมรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS
ใครเคยมีเพื่อนในโซเชียลมีเดียที่ชอบโพสต์ระบายความรู้สึกด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือแสดงความเกรี้ยวกราดตลอดเวลาไหม ไม่ว่าจะเจอเรื่องราวอะไรในชีวิตที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจ ไม่ว่าจะถูกขับรถปาดหน้า ถูกแซงคิว หรือขึ้นรถเมล์ผิดสาย ก็มักจะโพสต์ทุกอย่างลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินกรีนเบย์บอกว่า เมื่อคนเหล่านี้ได้โพสต์ข้อความออกไปก็จะรู้สึกพึงพอใจและบางครั้งก็รู้สึกสะใจด้วยซ้ำ หรือเพื่อนบางคนที่มักโพสต์ข้อความแสดงความท้อแท้ ผิดหวังหรือในทำนองที่ไม่อยากมีชีวิตอีกต่อไปแล้ว และไม่ว่าเราจะพยายามเข้าไปพูดคุย หรือช่วยเหลือเท่าไร ก็ดูเหมือนว่าเพื่อนคนนี้ก็ยังคงโพสต์ข้อความในทำนองนี้อยู่เรื่อย ๆ แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ดูเผิน ๆ แล้วจะไม่มีอะไรมากไปกว่าการชอบโพสต์ ชอบแชร์เรื่องราวตามประสาของคนในโซเชียล แต่จริง ๆ แล้วพฤติกรรมเหล่านี้อาจหมายถึง ภาวะการเรียกร้องความสนใจ หรือ Attention Seeking แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเพื่อนในโลกออนไลน์ของเรา ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ หรือแค่เรียกร้องความสนใจ ?
ติดตามชมรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS