วิถีดั้งเดิมของกลุ่ม "ชาติพันธุ์ชาวเล" ต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย เรื่องการยังไม่ได้รับสัญชาติ เรื่องการศึกษา หรือการเข้าไม่ถึงทรัพยากร ซึ่งไทยพีบีเอสได้ติดตามนำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง ในงาน "รวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล" ที่ชาวมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย จากจังหวัดภูเก็ต พังงา สตูล ระนอง และกระบี่ ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรม และมีหมุดหมายสำคัญคือการเร่งผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองชาติพันธุ์ รวมถึงมีการลงนามประกาศ "พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมชาวเล" แห่งแรก ณ ชุมชนทับตะวัน - บนไร่ ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เปิดบ้านไทยพีบีเอสจึงถือโอกาสนี้ ชวนคุณผู้ชมไปรับฟังความคิดเห็นของ "กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล" ทางภาคใต้ ที่มีต่อการนำเสนอข่าวและรายการต่าง ๆ ของไทยพีบีเอสที่สื่อสารเรื่องราวของพวกเขาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
ติดตามรายละเอียดได้ในรายการ "วันใหม่วาไรตี้" วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2565 ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
วิถีดั้งเดิมของกลุ่ม "ชาติพันธุ์ชาวเล" ต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย เรื่องการยังไม่ได้รับสัญชาติ เรื่องการศึกษา หรือการเข้าไม่ถึงทรัพยากร ซึ่งไทยพีบีเอสได้ติดตามนำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง ในงาน "รวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล" ที่ชาวมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย จากจังหวัดภูเก็ต พังงา สตูล ระนอง และกระบี่ ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรม และมีหมุดหมายสำคัญคือการเร่งผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองชาติพันธุ์ รวมถึงมีการลงนามประกาศ "พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมชาวเล" แห่งแรก ณ ชุมชนทับตะวัน - บนไร่ ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เปิดบ้านไทยพีบีเอสจึงถือโอกาสนี้ ชวนคุณผู้ชมไปรับฟังความคิดเห็นของ "กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล" ทางภาคใต้ ที่มีต่อการนำเสนอข่าวและรายการต่าง ๆ ของไทยพีบีเอสที่สื่อสารเรื่องราวของพวกเขาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
ติดตามรายละเอียดได้ในรายการ "วันใหม่วาไรตี้" วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2565 ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live