ที่ผ่านมา "ศูนย์สื่อศิลปวัฒนธรรม" ของไทยพีบีเอสได้นำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดง "โนรา" อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว สารคดี และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็ได้ร่วมมือกับเครือข่ายโนราภาคใต้ จัดงานเฉลิมฉลอง "โนราภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน" ที่วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา อีกด้วย หลังเรื่องราวของ "โนรา" ออกอากาศไป ก็ได้รับความสนใจจากผู้ชมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ หลายคนดูแล้วชื่นชมในความงดงามของการแสดง "โนรา" และร่วมกันยกย่อง "โนรา" ในโอกาสที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก "ยูเนสโก" ให้เป็น "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ" ครูธรรม ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงโนรา คือบุคคลสำคัญที่ร่วมถ่ายทอดคุณค่าของ "โนรา" ผ่านข่าวและรายการของไทยพีบีเอส ครูธรรมจะมาเล่าให้ฟังว่า หลังจากเรื่องราวของ "โนรา" ถูกเผยแพร่ในวงกว้างมากขึ้น เกิดผลอย่างไรต่อแวดวงศิลปินโนราบ้าง
เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ทีมข่าวไทยพีบีเอสได้เดินทางไปเกาะหลีเป๊ะ เพื่อรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บนเกาะ เนื่องจากสภาพชุมชนชาวเลที่มีความแออัด กระจายเชื้อได้เร็ว ทีมข่าวจึงนำชุดตรวจ ATK กว่า 1,000 ชุด พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่คุณผู้ชมบริจาคผ่าน "มูลนิธิไทยพีบีเอส" ไปสนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์เพื่อคัดกรองผู้ป่วยให้เร็วที่สุด การควบคุมโรคโควิด-19 ในครั้งนั้น ทีมแพทย์ได้บูรณาการการทำงานกับหลายภาคส่วน ซึ่งผู้สื่อข่าวของไทยพีบีเอสก็ได้นำประสบการณ์ที่เห็นตัวอย่างจาก "ชุมชนคลองเตย" มาแลกเปลี่ยนด้วย "คลองเตยโมเดล" จึงกลายเป็นต้นแบบการควบคุมโรคที่สามารถนำมาปรับใช้ในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะได้เป็นอย่างดี และภายในเวลาเพียง 2 เดือน เกาะหลีเป๊ะก็สามารถควบคุมการระบาดได้ ความสำเร็จนี้ต้องบอกว่าเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไปรับฟังเรื่องนี้จากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะหลีเป๊ะกัน
อีกหนึ่งเรื่องราวที่ไทยพีบีเอสนำเสนอให้เห็นความร่วมมือของคนบนเกาะหลีเป๊ะที่ช่วยกันควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 คือเรื่องราวของกลุ่มเยาวชนอาสา "ผักบุ้งทะเล" ที่เป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ คอยช่วยทีมแพทย์สื่อสารกับชาวเลด้วยภาษาชาติพันธุ์ท้องถิ่น และคอยดูแลกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงสูงในชุมชน เรื่องราวนี้สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมหลายคนและพลังอาสาของน้อง ๆ กลุ่ม "ผักบุ้งทะเล" ก็กลายเป็นต้นแบบให้เกาะอื่น ๆ นำไปวางแผนกับให้ชุมชนมีส่วนร่วมควบคุมโรคโควิด-19 ด้วย
ติดตามชมรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2565 เวลา 14.52 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ที่ผ่านมา "ศูนย์สื่อศิลปวัฒนธรรม" ของไทยพีบีเอสได้นำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดง "โนรา" อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว สารคดี และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็ได้ร่วมมือกับเครือข่ายโนราภาคใต้ จัดงานเฉลิมฉลอง "โนราภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน" ที่วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา อีกด้วย หลังเรื่องราวของ "โนรา" ออกอากาศไป ก็ได้รับความสนใจจากผู้ชมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ หลายคนดูแล้วชื่นชมในความงดงามของการแสดง "โนรา" และร่วมกันยกย่อง "โนรา" ในโอกาสที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก "ยูเนสโก" ให้เป็น "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ" ครูธรรม ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงโนรา คือบุคคลสำคัญที่ร่วมถ่ายทอดคุณค่าของ "โนรา" ผ่านข่าวและรายการของไทยพีบีเอส ครูธรรมจะมาเล่าให้ฟังว่า หลังจากเรื่องราวของ "โนรา" ถูกเผยแพร่ในวงกว้างมากขึ้น เกิดผลอย่างไรต่อแวดวงศิลปินโนราบ้าง
เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ทีมข่าวไทยพีบีเอสได้เดินทางไปเกาะหลีเป๊ะ เพื่อรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บนเกาะ เนื่องจากสภาพชุมชนชาวเลที่มีความแออัด กระจายเชื้อได้เร็ว ทีมข่าวจึงนำชุดตรวจ ATK กว่า 1,000 ชุด พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่คุณผู้ชมบริจาคผ่าน "มูลนิธิไทยพีบีเอส" ไปสนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์เพื่อคัดกรองผู้ป่วยให้เร็วที่สุด การควบคุมโรคโควิด-19 ในครั้งนั้น ทีมแพทย์ได้บูรณาการการทำงานกับหลายภาคส่วน ซึ่งผู้สื่อข่าวของไทยพีบีเอสก็ได้นำประสบการณ์ที่เห็นตัวอย่างจาก "ชุมชนคลองเตย" มาแลกเปลี่ยนด้วย "คลองเตยโมเดล" จึงกลายเป็นต้นแบบการควบคุมโรคที่สามารถนำมาปรับใช้ในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะได้เป็นอย่างดี และภายในเวลาเพียง 2 เดือน เกาะหลีเป๊ะก็สามารถควบคุมการระบาดได้ ความสำเร็จนี้ต้องบอกว่าเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไปรับฟังเรื่องนี้จากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะหลีเป๊ะกัน
อีกหนึ่งเรื่องราวที่ไทยพีบีเอสนำเสนอให้เห็นความร่วมมือของคนบนเกาะหลีเป๊ะที่ช่วยกันควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 คือเรื่องราวของกลุ่มเยาวชนอาสา "ผักบุ้งทะเล" ที่เป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ คอยช่วยทีมแพทย์สื่อสารกับชาวเลด้วยภาษาชาติพันธุ์ท้องถิ่น และคอยดูแลกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงสูงในชุมชน เรื่องราวนี้สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมหลายคนและพลังอาสาของน้อง ๆ กลุ่ม "ผักบุ้งทะเล" ก็กลายเป็นต้นแบบให้เกาะอื่น ๆ นำไปวางแผนกับให้ชุมชนมีส่วนร่วมควบคุมโรคโควิด-19 ด้วย
ติดตามชมรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2565 เวลา 14.52 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live