ราชเทวีถือเป็นหนึ่งในย่านที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมา จากพื้นที่ที่เคยเป็นทุ่งนาได้กลายเป็นย่านธุรกิจใจกลางเมืองที่มีตึกสูงเฉียดฟ้าและศูนย์การค้ามากมาย การพัฒนาของพื้นที่นี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการก่อตั้งสถานศึกษาสำคัญอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งส่งผลให้พื้นที่โดยรอบเริ่มมีการพัฒนาตามมา ทั้งเขตราชเทวี พญาไท และพระราม 4
ปัจจุบัน ย่านราชเทวีมีระบบคมนาคมที่สะดวกสบาย ด้วยรถไฟฟ้าที่ตัดผ่านและกำลังจะมีรถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มเติมในอนาคต ทำให้ธุรกิจและบ้านเรือนในบริเวณนี้เริ่มปรับเปลี่ยนรูปโฉมไปอย่างมาก โรงแรมหลายแห่ง เช่น โรงแรมเอเชียที่อยู่คู่กับย่านนี้มายาวนานหลายสิบปี ก็มีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ ขณะที่ตึกแถวในซอยพญานาคหลายหลังได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ และโฮสเทล
คลองแสนแสบเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญของย่านราชเทวี โดยเป็นหนึ่งในคลองที่ยังคงมีการโดยสารทางน้ำอยู่ในปัจจุบัน พื้นที่บริเวณริมคลองแสนแสบมีความเป็นไปได้สูงว่าผู้ที่ได้ครอบครองพื้นที่กลุ่มแรกคือคนไทยเชื้อสายมุสลิม ซึ่งมีประวัติยาวนานตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ในการสำรวจครั้งนี้ คุณเปอร์ได้พบกับ "ลุงป๊อด" ผู้อาวุโสวัย 73 ปี ของชุมชนบ้านครัวเหนือที่ได้เล่าประวัติความเป็นมาของชุมชน ลุงป๊อดเล่าว่าบรรพบุรุษของชาวชุมชนบ้านครัวมีความสัมพันธ์กับราชวงศ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ซึ่งต้นตระกูลเป็นมุสลิมที่มาจากเขมรและเข้ามาช่วยในการรบตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งในรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานที่ดินบริเวณนี้ให้ โดยแต่เดิมเรียกว่า "บ้านแขกครัว" ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "บ้านครัว" ในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ ยังมีอีกเรื่องเล่าที่บางคนเชื่อว่าชุมชนมุสลิมตามแนวคลองแสนแสบเกิดจากการที่ต้องขุดคลอง ซึ่งต้องใช้คนจำนวนมาก จึงมีการเกณฑ์ชาวมุสลิมจากหลายที่มาช่วย และให้ที่ดินบริเวณริมคลองเป็นการตอบแทน
ราชเทวีไม่ได้มีเพียงชุมชนมุสลิมเท่านั้น แต่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ คุณเปอร์ได้พบกับชุมชนชาวพม่าในซอยหนึ่งทีม่ีประชากรกว่า 80% เป็นชาวพม่า โดยส่วนใหญ่ทำงานเป็นพ่อครัวและแม่บ้านในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ อย่างพารากอน นอกจากนี้ ย่านราชเทวียังมีร้านค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น "ไดคาตานา" ที่เปิดโดยเชฟไทยที่เคยทำงานในประเทศญี่ปุ่นนานถึง 8-9 ปี และร้านทองนายตันทอง ซึ่งเป็นร้านทองที่อยู่ในชุมชนมาอย่างยาวนาน
ด้วยความที่ราชเทวีมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่างพิพิธภัณฑ์จิม ทอมป์สัน ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ลุงป๊อดเล่าว่า ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติบางคนรู้จักย่านนี้ดีกว่าคนไทยเสียอีก เนื่องจากคนไทยไม่ค่อยได้มาเที่ยวในย่านนี้ ตลอดแนวคลองแสนแสบในย่านราชเทวี ตั้งแต่สะพานหัวช้างทั้งซ้ายและขวา มีทางเดินเล็กๆ ที่ซ่อนร้านกาแฟและร้านอาหารที่มีรูปแบบเฉพาะตัวไว้มากมาย ส่วนใหญ่เป็นร้านที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลัก
ในการสัมภาษณ์ผู้คนในย่านราชเทวี คุณเปอร์ได้พูดคุยถึงความสุขและความทุกข์ของพวกเขา พี่ต่อ หนึ่งในคนที่อาศัยอยู่ในย่านนี้ บอกว่าความสุขของเขาคือการทำมาหากิน ส่วนความทุกข์คือปัญหาสุขภาพที่ไม่ค่อยดี ลุงป๊อดเล่าว่า ความสุขของเขาคือการได้เห็นเศรษฐกิจในชุมชนฟื้นตัวหลังจากโควิด และได้ช่วยพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยว ส่วนความทุกข์ของลุงป๊อดคือความกังวลว่าหากตนเองจากไป จะไม่มีใครสานต่องานพัฒนาชุมชนที่ทำมาอย่างยาวนาน
ลุงป๊อดมองว่าย่านราชเทวีกำลังจะดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าใหม่ที่จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่ได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในชุมชนให้ดีขึ้นหลังจากที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด ใครจะไปเดาได้ว่าอนาคตของราชเทวีจะเป็นอย่างไร? ความเจริญและการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนดั้งเดิมหรือไม่? ออกเที่ยวชมไปพร้อมกัน
ติดตามชมได้ในรายการ ยินดีที่ได้รู้จัก วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 เวลา 17.05 - 17.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live และรับชมยินดีที่ได้รู้จักฉบับ UNCUT ได้ที่ www.VIPA.me
ราชเทวีถือเป็นหนึ่งในย่านที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมา จากพื้นที่ที่เคยเป็นทุ่งนาได้กลายเป็นย่านธุรกิจใจกลางเมืองที่มีตึกสูงเฉียดฟ้าและศูนย์การค้ามากมาย การพัฒนาของพื้นที่นี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการก่อตั้งสถานศึกษาสำคัญอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งส่งผลให้พื้นที่โดยรอบเริ่มมีการพัฒนาตามมา ทั้งเขตราชเทวี พญาไท และพระราม 4
ปัจจุบัน ย่านราชเทวีมีระบบคมนาคมที่สะดวกสบาย ด้วยรถไฟฟ้าที่ตัดผ่านและกำลังจะมีรถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มเติมในอนาคต ทำให้ธุรกิจและบ้านเรือนในบริเวณนี้เริ่มปรับเปลี่ยนรูปโฉมไปอย่างมาก โรงแรมหลายแห่ง เช่น โรงแรมเอเชียที่อยู่คู่กับย่านนี้มายาวนานหลายสิบปี ก็มีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ ขณะที่ตึกแถวในซอยพญานาคหลายหลังได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ และโฮสเทล
คลองแสนแสบเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญของย่านราชเทวี โดยเป็นหนึ่งในคลองที่ยังคงมีการโดยสารทางน้ำอยู่ในปัจจุบัน พื้นที่บริเวณริมคลองแสนแสบมีความเป็นไปได้สูงว่าผู้ที่ได้ครอบครองพื้นที่กลุ่มแรกคือคนไทยเชื้อสายมุสลิม ซึ่งมีประวัติยาวนานตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ในการสำรวจครั้งนี้ คุณเปอร์ได้พบกับ "ลุงป๊อด" ผู้อาวุโสวัย 73 ปี ของชุมชนบ้านครัวเหนือที่ได้เล่าประวัติความเป็นมาของชุมชน ลุงป๊อดเล่าว่าบรรพบุรุษของชาวชุมชนบ้านครัวมีความสัมพันธ์กับราชวงศ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ซึ่งต้นตระกูลเป็นมุสลิมที่มาจากเขมรและเข้ามาช่วยในการรบตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งในรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานที่ดินบริเวณนี้ให้ โดยแต่เดิมเรียกว่า "บ้านแขกครัว" ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "บ้านครัว" ในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ ยังมีอีกเรื่องเล่าที่บางคนเชื่อว่าชุมชนมุสลิมตามแนวคลองแสนแสบเกิดจากการที่ต้องขุดคลอง ซึ่งต้องใช้คนจำนวนมาก จึงมีการเกณฑ์ชาวมุสลิมจากหลายที่มาช่วย และให้ที่ดินบริเวณริมคลองเป็นการตอบแทน
ราชเทวีไม่ได้มีเพียงชุมชนมุสลิมเท่านั้น แต่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ คุณเปอร์ได้พบกับชุมชนชาวพม่าในซอยหนึ่งทีม่ีประชากรกว่า 80% เป็นชาวพม่า โดยส่วนใหญ่ทำงานเป็นพ่อครัวและแม่บ้านในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ อย่างพารากอน นอกจากนี้ ย่านราชเทวียังมีร้านค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น "ไดคาตานา" ที่เปิดโดยเชฟไทยที่เคยทำงานในประเทศญี่ปุ่นนานถึง 8-9 ปี และร้านทองนายตันทอง ซึ่งเป็นร้านทองที่อยู่ในชุมชนมาอย่างยาวนาน
ด้วยความที่ราชเทวีมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่างพิพิธภัณฑ์จิม ทอมป์สัน ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ลุงป๊อดเล่าว่า ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติบางคนรู้จักย่านนี้ดีกว่าคนไทยเสียอีก เนื่องจากคนไทยไม่ค่อยได้มาเที่ยวในย่านนี้ ตลอดแนวคลองแสนแสบในย่านราชเทวี ตั้งแต่สะพานหัวช้างทั้งซ้ายและขวา มีทางเดินเล็กๆ ที่ซ่อนร้านกาแฟและร้านอาหารที่มีรูปแบบเฉพาะตัวไว้มากมาย ส่วนใหญ่เป็นร้านที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลัก
ในการสัมภาษณ์ผู้คนในย่านราชเทวี คุณเปอร์ได้พูดคุยถึงความสุขและความทุกข์ของพวกเขา พี่ต่อ หนึ่งในคนที่อาศัยอยู่ในย่านนี้ บอกว่าความสุขของเขาคือการทำมาหากิน ส่วนความทุกข์คือปัญหาสุขภาพที่ไม่ค่อยดี ลุงป๊อดเล่าว่า ความสุขของเขาคือการได้เห็นเศรษฐกิจในชุมชนฟื้นตัวหลังจากโควิด และได้ช่วยพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยว ส่วนความทุกข์ของลุงป๊อดคือความกังวลว่าหากตนเองจากไป จะไม่มีใครสานต่องานพัฒนาชุมชนที่ทำมาอย่างยาวนาน
ลุงป๊อดมองว่าย่านราชเทวีกำลังจะดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าใหม่ที่จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่ได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในชุมชนให้ดีขึ้นหลังจากที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด ใครจะไปเดาได้ว่าอนาคตของราชเทวีจะเป็นอย่างไร? ความเจริญและการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนดั้งเดิมหรือไม่? ออกเที่ยวชมไปพร้อมกัน
ติดตามชมได้ในรายการ ยินดีที่ได้รู้จัก วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 เวลา 17.05 - 17.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live และรับชมยินดีที่ได้รู้จักฉบับ UNCUT ได้ที่ www.VIPA.me