วิกฤตการเมืองเมียนมา
ติดตามวิกฤตการเมืองเมียนมาได้ที่เว็บไซต์ www.thaipbs.or.th/MyanmarPolitics
The Guardian รายงานว่าได้รับเรื่องร้องเรียนจากคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าชื่อ GY Sen ในนครย่างกุ้ง ว่า พวกเขาคนงาน 1,000 คน ถูกซูเปอร์ไวเซอร์กักตัวไว้ในโรงงานเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เพื่อไม่ให้คนงานออกไปร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร ส่วนคนงานที่หยุดงานไปร่วมประท้วงกับขบวนการอารยะขัดขืนถูกไล่ออกจากงานจำนวน 20 คน
การชุมนุมเมื่อวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถูกกำหนดให้เป็นวาระครบรอบ 33 ปี ของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศเมียนมา ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการเสียชีวิตของ Phone Maw นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแห่งย่างกุ้ง ที่ถูกทหารยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1988 (พ.ศ.2531)
วันพฤหัสบดีที่ 11 มี.ค. ไม่กี่ชั่วโมงภายหลังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์ประณามกองทัพเมียนมาที่ใช้กำลังทหารปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยวิธีการที่รุนแรง เรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชนโดยทันที รวมทั้งแสดงจุดยืนสนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และความจำเป็นต้องรักษาสถาบันหลักในระบอบประชาธิปไตย
Amnesty International เผยแพร่รายงานผลการศึกษาวิธีการสลายการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทหาร โดยใช้ข้อมูลจากวิดีโอเหตุการณ์ การใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมในระหว่างวันที่ 28 ก.พ. - 8 มี.ค. 64 จำนวน 55 คลิปวิดีโอ พบว่า วิธีการที่ใช้เป็นยุทธวิธีการรบกับศัตรู ไม่ใช่วิธีการสลายการชุมนุม