วิกฤตการเมืองเมียนมา
ติดตามวิกฤตการเมืองเมียนมาได้ที่เว็บไซต์ www.thaipbs.or.th/MyanmarPolitics
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า เมื่อคืนวันที่ 12 ก.พ. 64 มีชาวเมียนมาจำนวนมากออกมาตามท้องถนน ไม่แยแสคำสั่งเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้านในช่วงเวลา 20.00 - 04.00 น. ของอีกวัน พวกเขาออกมาเพื่อช่วยกันปกป้องผู้ชุมนุมไม่ให้ตำรวจหรือทหาร จับกุมตัวประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลทหารในยามค่ำคืน
ที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มีมติเป็นเอกฉันท์สมาชิก 47 ประเทศ เร่งให้คณะทหารผู้ปกครองเมียนมาปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย, ประธานาธิบดีวิน มินท์ และผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลทางการเมืองทุกคน โดยเร็ว
เว็บไซต์กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ลงประกาศรายละเอียดมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแบบจำเพาะเจาะจง (Targeted Sanction) พร้อมรายชื่อนายพลเมียนมา และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ในบัญชีรายชื่อ “คว่ำบาตร” บุคคลและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานงาน กลุ่มชาวเมียนมาที่ต่อต้านการรัฐประหาร ประกาศเดินหน้าคัดค้านการรัฐประหารต่อไป แม้ว่าคณะทหารผู้ปกครองประเทศเมียนมา จะประกาศกฎอัยการศึก ห้ามการชุมนุมเกิน 5 คน และห้ามออกจากบ้านในยามค่ำคืนตั้งแต่เวลา 20.00 น. ถึง 04.00 น. วันรุ่งขึ้น
ทวิตเตอร์นายโดมินิค ร้าบ (Domonic Raab) รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ เผยแพร่ข้อความว่า “วันที่ 8 ก.พ. 64 อังกฤษและสหภาพยุโรป เรียกร้องให้เปิดการประชุมนัดพิเศษสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยปัญหาในเมียนมา (Special Session of the UN Human Rights Council on Myanmar)”