“สถานีรถไฟธนบุรี” หรือ “สถานีรถไฟบางกอกน้อย” เคยเป็นต้นทางของเส้นทางรถไฟสายใต้มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 และหากใครยังจำเรื่องราวของโกโบริ พระเอกจากนวนิยายชื่อดัง ซึ่งถูกระเบิดจากเหตุการณ์ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดลงที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา
แต่ขณะเดียวกัน เหตุการณ์ทิ้งระเบิดในวันนั้นก็ได้สร้างความเสียหายให้แก่ “โรงพยาบาลศิริราช” ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟ ทำให้ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ขาดแคลนอย่างหนัก หลังสงครามสิ้นสุดลง การฟื้นฟูศิริราชก็เกิดขึ้นอย่างเต็มกำลัง จนเป็นโรงพยาบาลศิริราชที่ทุกคนรู้จักดี
ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาคำตอบว่า ทำไม “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” จึงใช้สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นที่ตั้ง ? และเกิดอะไรขึ้นกับการพัฒนาการแพทย์ของไทยจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ?
ร่วมเดินทางเพื่อรู้จักตัวเองจากประวัติศาสตร์ ติดตามชมได้ในรายการ นักสืบมิวเซียม ตอน สยามเวชศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.ot.th/Live
“สถานีรถไฟธนบุรี” หรือ “สถานีรถไฟบางกอกน้อย” เคยเป็นต้นทางของเส้นทางรถไฟสายใต้มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 และหากใครยังจำเรื่องราวของโกโบริ พระเอกจากนวนิยายชื่อดัง ซึ่งถูกระเบิดจากเหตุการณ์ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดลงที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา
แต่ขณะเดียวกัน เหตุการณ์ทิ้งระเบิดในวันนั้นก็ได้สร้างความเสียหายให้แก่ “โรงพยาบาลศิริราช” ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟ ทำให้ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ขาดแคลนอย่างหนัก หลังสงครามสิ้นสุดลง การฟื้นฟูศิริราชก็เกิดขึ้นอย่างเต็มกำลัง จนเป็นโรงพยาบาลศิริราชที่ทุกคนรู้จักดี
ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาคำตอบว่า ทำไม “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” จึงใช้สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นที่ตั้ง ? และเกิดอะไรขึ้นกับการพัฒนาการแพทย์ของไทยจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ?
ร่วมเดินทางเพื่อรู้จักตัวเองจากประวัติศาสตร์ ติดตามชมได้ในรายการ นักสืบมิวเซียม ตอน สยามเวชศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.ot.th/Live