***สารคดีมหัศจรรย์แดนมังกร มีการจำกัดระยะเวลาที่ให้บริการชมย้อนหลัง เนื่องด้วยเงื่อนไขด้านลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ ท่านสามารถรับชมย้อนหลังสารคดีมหัศจรรย์แดนมังกร ตอน สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือจีน ตอนที่ 2 ได้ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 65 - 31 พ.ค. 66 เท่านั้น***
ในประเทศจีน ไม่มีสิ่งใดที่แสดงถึงอัตลักษณ์ชองชาวจีนได้ดีไปกว่า สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือจีน อัจฉริยภาพของชาวตะวันออก เครื่องเขียนทั้งสี่ที่รวมเป็นหนึ่ง อันได้แก่ พู่กัน น้ำหมึก จานฝนหมึก และกระดาษ จากภูมิปัญญาผสานกับความประณีตของช่างฝีมือที่โดดเด่น จึงได้อยู่คู่กับการเขียนของจีนมายาวนาน จนมีนามว่า สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือ
ในบรรดาสี่สมบัติล้ำค่าของห้องหนังสือ พู่กันถือเป็นอันดับหนึ่ง เรื่องราวการทำพู่กันของจีน กลายเป็นตำนานที่เล่าขานมานานกว่า 2,200 ปีแล้ว พู่กันของชาวจีนผลิตจากวัสดุที่คัดสรรและเทคนิคที่ซับซ้อน จากการตกผลึกทางภูมิปัญญา ด้วยอารยธรรมที่สืบต่อกันมานาน เมื่อพู่กันกับหมึกจีนได้ประสานงานกัน จึงกำเนิดสิ่งเหลือเชื่อและจินตนาการที่ไร้ขีดจำกัด
น้ำหมึก หรือ แท่งหมึก ในช่วงแรกที่จีนมีการประดิษฐ์หมึกขึ้นมา มักใช้เขม่าควันจาก ต้นสน ยางไม้ และสารเติมแต่ง จุดสำคัญของการทำหมึกด้วยวิธีโบราณคือการใช้ควัน โดยการปิดปล่องควัน แล้วรวบรวมเขม่าที่เกิดจากการเผากิ่งไม้สน เขม่าควันชั้นดีจากไม้สนจะเรียกว่า ควันสะอาด จัดได้ว่าเป็นควันชั้นเลิศ ด้วยเหตุนี้ หมึกชั้นดีจึงมีค่าเทียบเท่ากับทองคำ ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม มีหมึกล้ำค่าชุดหนึ่ง มีนามว่า แท่งหมึกกวีลายพระหัตถ์จักรพรรดิเฉียนหลง หมึกจักพรรดิชุดนี้ใช้เวลาผลิตนานถึง 20 ปี สร้างขึ้นโดยใช้รูปแบบและวัตถุดิบดั้งเดิม แสดงถึงศิลปะการแกะสลักแม่พิมพ์หมึกที่สูงค่าทางประวัติศาสตร์
จานฝนหมึก ตั้งแต่สมัยโบราณ มีทั้งที่ทำจากดินเผาและหิน แต่วัสดุที่ทำจากหินทั้งทนทาน และยังเก็บรักษาได้ง่ายที่สุด นอกจากมีประโยชน์สำหรับใช้ฝนหมึกแล้ว ยังนำมาวางตกแต่งบนโต๊ะหนังสือ ในประวัติศาสตร์ จานฝนหมึกหินยังถือว่าเป็นงานประติมากรรมที่อยู่คู่กับปัญญาชนชาวจีนอีกด้วย ดังนั้นศิลปะการแกะสลักจานฝนหมึก จึงจำเป็นต้องอาศัยช่างแกะสลักผู้มีทักษะ ยอดเยี่ยม ทุ่มเทกำลังสั่งสมภูมิปัญญาในแต่ละสมัย เพื่อให้กำเนิดจานฝนหมึก ที่สมบูรณ์แบบ
ในบรรดาเครื่องเขียนทั้งสี่ กระดาษ พัฒนามาหลังสุด แรงบันดาลใจในการสร้างเยื่อกระดาษของจีน มาจากการกำจัดเศษวัตถุดิบในการทอผ้า ด้วยเวลาล้างไหมกับน้ำ มักมีเศษใยสีขาวแขวนลอยในชั้นของผิวน้ำเสมอ คนงานหัวใสจึงนำเส้นใยนั้นมาผลิตเป็นกระดาษ เทคนิคผลิตกระดาษของจีน กว่าจะแพร่ไปสู่โลกตะวันตก ต้องใช้เวลาเป็นพันปีแต่เทคนิคเดียวกันนี้ ได้เผยแพร่เข้าไปสู่เอเชียตะวันออก(คาบสมุทรเกาหลี) นานแล้ว
ติดตามชมรายการมหัศจรรย์แดนมังกร ชุด สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือจีน วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2565 เวลา 11.00 - 11.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
***สารคดีมหัศจรรย์แดนมังกร มีการจำกัดระยะเวลาที่ให้บริการชมย้อนหลัง เนื่องด้วยเงื่อนไขด้านลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ ท่านสามารถรับชมย้อนหลังสารคดีมหัศจรรย์แดนมังกร ตอน สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือจีน ตอนที่ 2 ได้ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 65 - 31 พ.ค. 66 เท่านั้น***
ในประเทศจีน ไม่มีสิ่งใดที่แสดงถึงอัตลักษณ์ชองชาวจีนได้ดีไปกว่า สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือจีน อัจฉริยภาพของชาวตะวันออก เครื่องเขียนทั้งสี่ที่รวมเป็นหนึ่ง อันได้แก่ พู่กัน น้ำหมึก จานฝนหมึก และกระดาษ จากภูมิปัญญาผสานกับความประณีตของช่างฝีมือที่โดดเด่น จึงได้อยู่คู่กับการเขียนของจีนมายาวนาน จนมีนามว่า สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือ
ในบรรดาสี่สมบัติล้ำค่าของห้องหนังสือ พู่กันถือเป็นอันดับหนึ่ง เรื่องราวการทำพู่กันของจีน กลายเป็นตำนานที่เล่าขานมานานกว่า 2,200 ปีแล้ว พู่กันของชาวจีนผลิตจากวัสดุที่คัดสรรและเทคนิคที่ซับซ้อน จากการตกผลึกทางภูมิปัญญา ด้วยอารยธรรมที่สืบต่อกันมานาน เมื่อพู่กันกับหมึกจีนได้ประสานงานกัน จึงกำเนิดสิ่งเหลือเชื่อและจินตนาการที่ไร้ขีดจำกัด
น้ำหมึก หรือ แท่งหมึก ในช่วงแรกที่จีนมีการประดิษฐ์หมึกขึ้นมา มักใช้เขม่าควันจาก ต้นสน ยางไม้ และสารเติมแต่ง จุดสำคัญของการทำหมึกด้วยวิธีโบราณคือการใช้ควัน โดยการปิดปล่องควัน แล้วรวบรวมเขม่าที่เกิดจากการเผากิ่งไม้สน เขม่าควันชั้นดีจากไม้สนจะเรียกว่า ควันสะอาด จัดได้ว่าเป็นควันชั้นเลิศ ด้วยเหตุนี้ หมึกชั้นดีจึงมีค่าเทียบเท่ากับทองคำ ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม มีหมึกล้ำค่าชุดหนึ่ง มีนามว่า แท่งหมึกกวีลายพระหัตถ์จักรพรรดิเฉียนหลง หมึกจักพรรดิชุดนี้ใช้เวลาผลิตนานถึง 20 ปี สร้างขึ้นโดยใช้รูปแบบและวัตถุดิบดั้งเดิม แสดงถึงศิลปะการแกะสลักแม่พิมพ์หมึกที่สูงค่าทางประวัติศาสตร์
จานฝนหมึก ตั้งแต่สมัยโบราณ มีทั้งที่ทำจากดินเผาและหิน แต่วัสดุที่ทำจากหินทั้งทนทาน และยังเก็บรักษาได้ง่ายที่สุด นอกจากมีประโยชน์สำหรับใช้ฝนหมึกแล้ว ยังนำมาวางตกแต่งบนโต๊ะหนังสือ ในประวัติศาสตร์ จานฝนหมึกหินยังถือว่าเป็นงานประติมากรรมที่อยู่คู่กับปัญญาชนชาวจีนอีกด้วย ดังนั้นศิลปะการแกะสลักจานฝนหมึก จึงจำเป็นต้องอาศัยช่างแกะสลักผู้มีทักษะ ยอดเยี่ยม ทุ่มเทกำลังสั่งสมภูมิปัญญาในแต่ละสมัย เพื่อให้กำเนิดจานฝนหมึก ที่สมบูรณ์แบบ
ในบรรดาเครื่องเขียนทั้งสี่ กระดาษ พัฒนามาหลังสุด แรงบันดาลใจในการสร้างเยื่อกระดาษของจีน มาจากการกำจัดเศษวัตถุดิบในการทอผ้า ด้วยเวลาล้างไหมกับน้ำ มักมีเศษใยสีขาวแขวนลอยในชั้นของผิวน้ำเสมอ คนงานหัวใสจึงนำเส้นใยนั้นมาผลิตเป็นกระดาษ เทคนิคผลิตกระดาษของจีน กว่าจะแพร่ไปสู่โลกตะวันตก ต้องใช้เวลาเป็นพันปีแต่เทคนิคเดียวกันนี้ ได้เผยแพร่เข้าไปสู่เอเชียตะวันออก(คาบสมุทรเกาหลี) นานแล้ว
ติดตามชมรายการมหัศจรรย์แดนมังกร ชุด สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือจีน วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2565 เวลา 11.00 - 11.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live