แม้ไทยจะประกาศให้สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติ แต่คนไทยก็ยังสูดดมฝุ่นเหมือนเดิมทุกปี มาตรการต่าง ๆ ถูกตั้งคำถามว่าแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ หากดู 3 ประเทศที่ประสบปัญหาฝุ่นเหมือนกัน ปัจจุบันสามารถลดฝุ่นลงไปได้ถึงร้อยละ 50 ทำกันอย่างไร
เริ่มที่ จีน เมืองจิงจินจี่ มณฑลเหอเป่ย มีการแก้ปัญหาเป็นรูปธรรม จนธนาคารโลกต้องไปศึกษา พบเช่น รัฐสั่งให้เปลี่ยนรถเมล์สาธารณะที่ปล่อยมลพิษต่ำ หากไม่เปลี่ยนจะมีโทษทางกฎหมาย, สนับสนุนงบประมาณให้ทุกครอบครัว เปลี่ยนใช้เตาถ่านหิน เป็นเตาแก๊ส หรือเตาไฟฟ้า เพื่อประกอบอาหาร, จัดสรรให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยปล่อยคาร์บอนฯ น้อย ผลลัพธ์ปีที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยฝุ่นทั้งปี จาก 77 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เหลือเพียง 44 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ส่วนที่ ลอนดอน ใช้วิธี เช่น คิดค่าธรรมเนียมยานพาหนะทุกคัน ที่ไม่ผ่านมาตรฐานการปล่อยมลพิษ วันละ 555 บาท, รัฐมีเงินอุดหนุนเปลี่ยนรถเก่าเป็นคันใหม่
และที่ อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้โมเดล “ปฏิบัติการฟ้าใส” เช่น รัฐมีเงินอุดหนุนคนขับรถพาณิชย์ เช่น แท็กซี่ ให้เปลี่ยนรถใหม่ตลอด, ประชาชนทั่วไปมีโครงการเปลี่ยนรถเก่าเป็นรถใหม่, คิดค่าจอดรถไฟฟ้าให้ถูกกว่ารถสันดาป, เพิ่มจุดชาร์จรถไฟฟ้าจาก 3,000 จุดเป็น 16,000 จุด โดยทั้ง 3 ประเทศนี้ ธนาคารโลกวิเคราะห์ว่า คุ้มค่าเมื่อเทียบกับต้นทุน
แม้ไทยจะประกาศให้สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติ แต่คนไทยก็ยังสูดดมฝุ่นเหมือนเดิมทุกปี มาตรการต่าง ๆ ถูกตั้งคำถามว่าแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ หากดู 3 ประเทศที่ประสบปัญหาฝุ่นเหมือนกัน ปัจจุบันสามารถลดฝุ่นลงไปได้ถึงร้อยละ 50 ทำกันอย่างไร
เริ่มที่ จีน เมืองจิงจินจี่ มณฑลเหอเป่ย มีการแก้ปัญหาเป็นรูปธรรม จนธนาคารโลกต้องไปศึกษา พบเช่น รัฐสั่งให้เปลี่ยนรถเมล์สาธารณะที่ปล่อยมลพิษต่ำ หากไม่เปลี่ยนจะมีโทษทางกฎหมาย, สนับสนุนงบประมาณให้ทุกครอบครัว เปลี่ยนใช้เตาถ่านหิน เป็นเตาแก๊ส หรือเตาไฟฟ้า เพื่อประกอบอาหาร, จัดสรรให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยปล่อยคาร์บอนฯ น้อย ผลลัพธ์ปีที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยฝุ่นทั้งปี จาก 77 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เหลือเพียง 44 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ส่วนที่ ลอนดอน ใช้วิธี เช่น คิดค่าธรรมเนียมยานพาหนะทุกคัน ที่ไม่ผ่านมาตรฐานการปล่อยมลพิษ วันละ 555 บาท, รัฐมีเงินอุดหนุนเปลี่ยนรถเก่าเป็นคันใหม่
และที่ อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้โมเดล “ปฏิบัติการฟ้าใส” เช่น รัฐมีเงินอุดหนุนคนขับรถพาณิชย์ เช่น แท็กซี่ ให้เปลี่ยนรถใหม่ตลอด, ประชาชนทั่วไปมีโครงการเปลี่ยนรถเก่าเป็นรถใหม่, คิดค่าจอดรถไฟฟ้าให้ถูกกว่ารถสันดาป, เพิ่มจุดชาร์จรถไฟฟ้าจาก 3,000 จุดเป็น 16,000 จุด โดยทั้ง 3 ประเทศนี้ ธนาคารโลกวิเคราะห์ว่า คุ้มค่าเมื่อเทียบกับต้นทุน