อาจารย์รุจน์ โกมลบุตร อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ที่สนใจว่าข่าวดังที่ถูกนำเสนอบนหน้าหนึ่งของสื่อทุกแขนง ได้ทิ้งบาดแผลให้กับคนที่ตกเป็นข่าวอย่างไรบ้าง อาจารย์จึงได้ทำการวิจัยเมื่อปี 2561 เรื่อง "ผลกระทบของแหล่งข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์" ด้วยการขอเข้าไปสัมภาษณ์ผู้ที่ตกเป็นข่าวใหญ่ และได้ศึกษาพบว่ารูปแบบที่สื่อละเมิดสิทธิผู้ที่ตกเป็นข่าวนั้นมีประมาณ 5 รูปแบบ เช่น การเข้าไปทำข่าวในขณะที่แหล่งข่าวยังไม่พร้อมโดยเฉพาะทางด้านจิตใจ
การนำเสนอเนื้อหาหรือภาพข่าวที่รุนแรงกระทบกระเทือนกับแหล่งข่าวหรือครอบครัวของแหล่งข่าว โดยเฉพาะในกรณีข่าวฆาตรกรรม รวมถึงการนำเสนอข่าวที่ไม่รอบด้าน ไม่ครบถ้วน หรือเป็นการกล่าวหาผู้ที่ตกเป็นข่าวเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่เปิดโอกาสให้เขาได้โต้ตอบ หรือการไม่ปกปิดเอกลักษณ์ของแหล่งข่าว โดยเฉพาะกับเด็ก คนป่วยและผู้ต้องหา และอีกกรณีหนึ่งคือการที่นักข่าวนั้นปกปิดตัวตัวเอง ไม่เปิดเผยหรือแม้กระทั่งปลอมตัวเป็นคนอื่นเข้าไปหาแหล่งข่าวเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือได้ข่าวอย่างที่ต้องการ
ซึ่งสิ่งที่จะตามมานั้นอาจกลายเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวัน รวมไปถึงต่อชื่อเสียง หน้าที่การงานและการต่อสู้คดีของแหล่งข่าวด้วยซ้ำ นั่นยังไม่รวมถึงกรณีร้ายแรงที่สุดอย่างการสูญเสียชีวิตและการหลายครั้งการทำงานที่หวังเพียงข่าวเกินไปของสื่อมวลชนก็อาจกลายเป็นการขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ไปด้วยครับแต่ในอีกด้านหนึ่งการนำเสนอข่าวก็ทำให้คดีมีความคืบหน้า ผู้ที่ตกเป็นข่าวได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น รวมไปถึงได้รับความช่วยเหลือจากสังคม
นอกจากเรื่องรูปแบบในการละเมิดแหล่งข่าวรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว อีกหนึ่งข้อค้นพบที่งานวิจัยชิ้นนี้เจอคือ กลุ่มตัวอย่างแทบทุกคนไม่รู้เลยครับว่าพวกเขามีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการให้สัมภาษณ์หรือแม้กระทั่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติคอยกำกับดูแลเรื่องนี้อยู่ สาเหตุนั่นก็เพราะว่า ส่วนหนึ่งคนในสังคมยังไม่เข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของตัวเอง จึงทำให้ไม่สามารถปกป้องตนเองเมื่อตกเป็นข่าวได้ ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS
อาจารย์รุจน์ โกมลบุตร อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ที่สนใจว่าข่าวดังที่ถูกนำเสนอบนหน้าหนึ่งของสื่อทุกแขนง ได้ทิ้งบาดแผลให้กับคนที่ตกเป็นข่าวอย่างไรบ้าง อาจารย์จึงได้ทำการวิจัยเมื่อปี 2561 เรื่อง "ผลกระทบของแหล่งข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์" ด้วยการขอเข้าไปสัมภาษณ์ผู้ที่ตกเป็นข่าวใหญ่ และได้ศึกษาพบว่ารูปแบบที่สื่อละเมิดสิทธิผู้ที่ตกเป็นข่าวนั้นมีประมาณ 5 รูปแบบ เช่น การเข้าไปทำข่าวในขณะที่แหล่งข่าวยังไม่พร้อมโดยเฉพาะทางด้านจิตใจ
การนำเสนอเนื้อหาหรือภาพข่าวที่รุนแรงกระทบกระเทือนกับแหล่งข่าวหรือครอบครัวของแหล่งข่าว โดยเฉพาะในกรณีข่าวฆาตรกรรม รวมถึงการนำเสนอข่าวที่ไม่รอบด้าน ไม่ครบถ้วน หรือเป็นการกล่าวหาผู้ที่ตกเป็นข่าวเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่เปิดโอกาสให้เขาได้โต้ตอบ หรือการไม่ปกปิดเอกลักษณ์ของแหล่งข่าว โดยเฉพาะกับเด็ก คนป่วยและผู้ต้องหา และอีกกรณีหนึ่งคือการที่นักข่าวนั้นปกปิดตัวตัวเอง ไม่เปิดเผยหรือแม้กระทั่งปลอมตัวเป็นคนอื่นเข้าไปหาแหล่งข่าวเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือได้ข่าวอย่างที่ต้องการ
ซึ่งสิ่งที่จะตามมานั้นอาจกลายเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวัน รวมไปถึงต่อชื่อเสียง หน้าที่การงานและการต่อสู้คดีของแหล่งข่าวด้วยซ้ำ นั่นยังไม่รวมถึงกรณีร้ายแรงที่สุดอย่างการสูญเสียชีวิตและการหลายครั้งการทำงานที่หวังเพียงข่าวเกินไปของสื่อมวลชนก็อาจกลายเป็นการขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ไปด้วยครับแต่ในอีกด้านหนึ่งการนำเสนอข่าวก็ทำให้คดีมีความคืบหน้า ผู้ที่ตกเป็นข่าวได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น รวมไปถึงได้รับความช่วยเหลือจากสังคม
นอกจากเรื่องรูปแบบในการละเมิดแหล่งข่าวรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว อีกหนึ่งข้อค้นพบที่งานวิจัยชิ้นนี้เจอคือ กลุ่มตัวอย่างแทบทุกคนไม่รู้เลยครับว่าพวกเขามีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการให้สัมภาษณ์หรือแม้กระทั่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติคอยกำกับดูแลเรื่องนี้อยู่ สาเหตุนั่นก็เพราะว่า ส่วนหนึ่งคนในสังคมยังไม่เข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของตัวเอง จึงทำให้ไม่สามารถปกป้องตนเองเมื่อตกเป็นข่าวได้ ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS