ข้อมูลจากมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ บอกว่าโดยปกติเวลาที่เราติดตามสถานการณ์ทางการเมืองนั้นจะมีอารมณ์และความเครียดโดยไม่รู้ตัว ที่เรียกว่า Hidden Stress เกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่ภาวะความเครียดทางการเมืองนี้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น "ในคนที่มีความเอนเอียงหรือคนที่มีความคิดสุดโต่งทางการเมือง" เพราะจะนำไปสู่ความวิตกกังวลถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าวันต่อ ๆ ไปทิศทางการเมืองจะเป็นอย่างไร แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับฝ่ายที่ตัวเองนั้นเชียร์อยู่ ความกระวนกระวายใจจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดคะเนได้เหล่านี้ก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดความเครียดที่แสดงอาการออกมาทั้งทางร่างกาย ความรู้สึกนึกคิดรวมถึงในแง่ความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย
แต่ในทางกลับกันต่อให้เราจะไม่ใช่คนที่สนใจประเด็นทางการเมืองเป็นพิเศษ หรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ตามความเครียดนี้ก็จะเกิดขึ้นได้ผ่านการเสพสื่อ โดยแต่เดิมนั้นสื่อในยุคเก่าอาจทำให้เกิดความเครียดได้ระดับหนึ่งหากเรานั้นดูเยอะ แต่สื่อในตอนนี้เราเข้าถึงมันได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะโซเชียลมีเดียอย่างน้อยต้องมีเพื่อนสักคนหนึ่งของเราที่แชร์เรื่องการเมืองขึ้นมา ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะหลีกหนีจากข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ ในวันที่ทุกคนคือสื่อและข้อมูลที่เราได้รับมานั้นมันก็มีทั้งความคิดเห็นและอารมณ์แทรกเข้ามาในเนื้อหาด้วย แล้วเราจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเครียดการเมือง
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS
ข้อมูลจากมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ บอกว่าโดยปกติเวลาที่เราติดตามสถานการณ์ทางการเมืองนั้นจะมีอารมณ์และความเครียดโดยไม่รู้ตัว ที่เรียกว่า Hidden Stress เกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่ภาวะความเครียดทางการเมืองนี้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น "ในคนที่มีความเอนเอียงหรือคนที่มีความคิดสุดโต่งทางการเมือง" เพราะจะนำไปสู่ความวิตกกังวลถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าวันต่อ ๆ ไปทิศทางการเมืองจะเป็นอย่างไร แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับฝ่ายที่ตัวเองนั้นเชียร์อยู่ ความกระวนกระวายใจจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดคะเนได้เหล่านี้ก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดความเครียดที่แสดงอาการออกมาทั้งทางร่างกาย ความรู้สึกนึกคิดรวมถึงในแง่ความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย
แต่ในทางกลับกันต่อให้เราจะไม่ใช่คนที่สนใจประเด็นทางการเมืองเป็นพิเศษ หรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ตามความเครียดนี้ก็จะเกิดขึ้นได้ผ่านการเสพสื่อ โดยแต่เดิมนั้นสื่อในยุคเก่าอาจทำให้เกิดความเครียดได้ระดับหนึ่งหากเรานั้นดูเยอะ แต่สื่อในตอนนี้เราเข้าถึงมันได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะโซเชียลมีเดียอย่างน้อยต้องมีเพื่อนสักคนหนึ่งของเราที่แชร์เรื่องการเมืองขึ้นมา ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะหลีกหนีจากข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ ในวันที่ทุกคนคือสื่อและข้อมูลที่เราได้รับมานั้นมันก็มีทั้งความคิดเห็นและอารมณ์แทรกเข้ามาในเนื้อหาด้วย แล้วเราจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเครียดการเมือง
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS