ครอบครัวขนมกั้งและขนมกวนพบกับครอบครัวขนมกั้งและขนมกวนแห่งเมืองจันทบุรี ที่สืบทอดมาจนถึงทายาทรุ่นที่ 3 ถึงแม้ธุรกิจจะเปลี่ยนมือ แต่คุณภาพและความอร่อยของขนมก็ยังเหมือนเดิม
ลุงวิบูลย์ เจ้าพ่อโคขุนแห่งภาคตะวันออกพบกับเรื่องราวนักพัฒนาโคขุนแห่งภาคตะวันออก ที่ตัดสินใจทำฟาร์มโคขุน เพื่อผลิตเนื้อพรีเมียมสัญชาติไทย เพราะอยากจะให้คนไทยได้บริโภคเนื้อวัวของคนไทยเอง
ลุงเหวยนักวิ่งเทรลใจสู้พบกับนักวิ่งเทรล จากคนที่เคยติดเหล้า ติดบุหรี่ จนป่วยมีหลายโรคตามมา ถึงแม้โรคภัยจะผ่านเข้ามาแค่ไหน ไม่เคยท้อ ลุกขึ้นมาวิ่งเทรล จนกลายเป็นไอดอลการวิ่งเทรล
พี่น้อยและชุมชนของเขาพบกับพี่น้อย ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการขับเคลื่อนชุมชนบ้านถ้ำเสือ โดยมีผู้สูงวัยในชุมชนคอยเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ตามที่ตนเองถนัดแก่นักท่องเที่ยว
คู่รักนักรีไซเคิลพาไปพบกับคู่รักวัยเกษียณที่เป็นนักรีไซเคิลขยะ ที่มีดีกรีเป็นถึงเจ้าของรีสอร์ต แต่กลับใช้ขยะรีไซเคิลประดับตกแต่งรีสอร์ตของตนเอง จนกลายเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในชุมชนมากยิ่งขึ้น
สายไหมสายใยอาชีพพบกับแม่เล็กในวัย 71 ปี คนขายโรตีสายไหมที่อยู่เมืองสระบุรีมานานกว่า 30 ปี ที่ทำสดใหม่วันต่อวัน พูดได้ว่านี้คือร้านโรตีสายไหมในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน
ยายทำ ให้หลานขายพบกับคุณยายสมใจ ในวัย 75 ปี กับสูตรขนมหวานที่ตกทอดมากว่า 50 ปี จากขนมหวานที่ขายตามตลาดทั่วไป หลาน ๆ ได้ยกระดับให้ทันต่อโลก ด้วยการปรับตัวมาขายออนไลน์ จนกลายเป็นอาชีพให้กับลูกหลานได้
คนทำหม้อดินคนสุดท้าย แห่งคลองสระบัวพบกับป้ายอ ในวัย 59 ปี คนทำหม้อดินเผาคนสุดท้ายของชุมชนคลองสระบัว จ.พระนครศรีอยุธยา ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้การใช้หม้อดินเผาลดน้อยลง ทำให้คนทำหม้อดินเผาก็ลดน้อยลงไปเช่นกัน
เซียนปลาหมอไทยพบกับคุณลุงสุเทพ เกษตรกรผู้ที่ล้มเหลวกับการทำเกษตรมาตลอด จนในที่สุดก็ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปลาหมอไทย จนกลายเป็นเซียนปลาหมอไทยในภาคเหนือ
เกี๊ยวทอดเทพเจ้า และป้าอ้อย มิชลินไกด์ จ.เชียงใหม่พบกับเรื่องราวของร้านอาหารที่บริหารและปรุงโดยผู้สูงวัย ทั้งร้านสตรีทฟู้ดแบบง่าย ๆ และร้านอาหารตามสั่ง ที่มีรางวัลมิชลินไกด์เป็นเครื่องการันตีความอร่อย
กินข้าวบ้านก๋งชิมอาหารอร่อย ๆ แบบ Home cooking ที่จังหวัดเชียงใหม่ ร้านเล็ก ๆ ซึ่งดูแลกันเองภายในครอบครัว และมีก๋งในวัย 72 ปี เป็นมือผัดหลักประจำร้าน
พิพิธภัณฑ์ตุ๊กตาพบกับอาจารย์ยุทธนา บุญประคอง ช่างทำตุ๊กตาในวัย 65 ปี ที่สืบทอดการทำตุ๊กตามาตั้งแต่รุ่นคุณแม่ รวมแล้วมากกว่า 80 ปี และยังเป็นผู้ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชาติไทยผ่านตุ๊กตาให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้รู้จัก
ฟาร์มผึ้งของแม่พบกับคนไทยคนแรก ๆ ที่ริเริ่มทำธุรกิจฟาร์มผึ้งในประเทศไทย และกลายเป็นแบรนด์ฟาร์มผึ้งที่สร้างมนตร์เสน่ห์ความหวานจากหยาดน้ำผึ้งได้อย่างน่าสนใจ
สองนักเล่าเรื่องวัยเกษียณพาไปชิมอาหารจีนฮกเกี้ยนที่จังหวัดระนอง จากฝีมือของพ่อครัว โกเจี๊ยว วัย 64 ปี ที่นอกจากจะเป็นพ่อครัวแล้ว ยังรับหน้าที่เป็นนักเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของอาหารท้องถิ่นให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักอีกด้วย
ลุงโอ่งแคคตัส และลุงใจยูทูบเบอร์เพลงเหนือพาบุกสวนแคคตัส จ.เชียงใหม่ ของลุงโอ่ง ในวัย 62 ที่ใช้เวลาเกินครึ่งชีวิตในการสะสม เรียนรู้ และดูแล และเรื่องราวราวของศิลปินเพลงเหนือ ลุงใจ ที่ผันตัวเองมาเป็นยูทูบเบอร์มีผู้ติดตามมากกว่า 83,000 คน
ป้าเกษสูงวัยลุยไปทั่วป้าเกษวัย 64 ปี เจ้าของเพจสูงวัยลุยไปทั่ว ที่บันทึกเรื่องราวของนักท่องเที่ยววัยเกษียณ นอกจากเป็นนักท่องเที่ยวแล้ว ป้าเกษยังผันตัวมาเป็นคนจัดทริปท่องเที่ยว โดยมีเพื่อนร่วมเดินทางเป็นคนต่างวัย
ป้ากล้องถ่ายภาพนกป้ากล้อง ธนพร พิชิตพรรณ วัย 58 ปีหลังเกษียณจากงาน ได้หันมาใช้เวลาทุ่มเทกับการถ่ายภาพนก งานอดิเรกใหม่หลังเกษียณที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใสเพราะได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
ป้าวิไล ผ้าอุ๊ก และลุงอำนาจ นักวิ่งแนวดิ่งพบกับเรื่องราวของสูงวัย 2 คน คนแรกคุณป้า วัย 68 ปี ผู้ก่อตั้งแบรนด์ผ้าอุ๊ก ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศเลย และคุณลุง วัย 69 ปี จากคนที่ไม่เคยคิดจะออกกำลังกาย มุ่งมั่นฝึกฝน จนเป็นนักวิ่งพิชิตตึกสูงมาแล้วทั่วเอเชีย
ลุงหมึกโฮมสเตย์ภูผาตาดไปทำความรู้จักกับ ลุงหมึก ชายวัยเกษียณหัวใจที่ไม่ยอมแพ้ กลับมาฮึดสู้อีกครั้ง ด้วยการรวบรวมเงินก้อนสุดท้ายและใช้ความกล้ามาสร้างโฮมสเตย์เล็ก ๆ
ลุงกฤษณะ จักรยานล้อเดียวพบกับ ลุงกฤษณะ เริ่มขี่จักรยานล้อเดียวในวัย 60 ปี จนปัจจุบันกลายมาเป็นผู้ฝึกสอนเด็ก ๆ ให้มาออกกำลังกายขี่จักรยานล้อเดียวกับคุณตา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
No More Lonely Nights - Paul McCartney อัลบั้ม Give My Regards to Broad Street ปี ค.ศ.1973 ขับร้อง : บรรณ ใบชา
เรากำลังอยู่ในช่วงของฤดูฝุ่น ซึ่งเป็นเหมือนฝันร้ายที่สังคมเผชิญร่วมกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้จะเห็นความพยายาม ในการเตรียมรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ของภาคส่วนต่าง ๆ ในปีนี้ ล่วงหน้า
ชวนเข้าครัวทำขนมหวานญี่ปุ่นแบบโบราณ อย่าง เนริกิริ (Nerikiri) ขนมหวานที่นิยมเสิร์ฟในพิธีชงชา ทำจากถั่วขาวอินทรีย์กวน และเพิ่มสีสันลวดลายสวยงามตามช่วงฤดูกาล ปั้นเป็นรูปดอกไม้ฤดูหนาว อย่าง ดอกโบตั๋น กับ ลูกส้ม
บุกตะลุยขึ้นดอย ท่ามกลางทะเลหมอก ไปเรียนรู้เรี่องราวของ "หอมชู" ที่ดอยอ่างขาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ พร้อมเข้าครัวปรุงเมนูพื้นถิ่น "แตงหุงฮากคิวใส่ซี่โครงหมู" และเมนู "สำรับหอมชู"
รวมพลตัวแทนคนลูกทุ่งเสียงดี ดีกรีติดยศข้าราชการกองดุริยางค์ทหาร จัดเต็ม 3 เหล่าทัพ บก – เรือ - อากาศ เจอหญิงเก่งรุ่นเก๋า ‘แม่สมศรี ม่วงศรเขียว’
อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นแหล่งผลิตเกลือทะเลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เพราะทำกันแทบทุกตำบล คนที่นี่จึงมีวิถีผูกพันกับนาเกลือมาอย่างนานจากรุ่นสู่รุ่น
แม้ว่าคุณสุดจะสอบผ่าน แต่กรมหมื่นไกรสรวิชิตก็ยังเป็นกังวลอยู่กลัวจะมีปัญหาเพราะคุณสุดเป็นผู้หญิง จึงไปปรึกษากับพระองค์ชายนวมเพื่อจัดสอบอาลักษณ์หลวงด้วยการสอบคัดลายมืออีกครั้ง จะได้ไม่เป็นที่ครหาของเหล่าบุตรหลานขุนนางที่ร่วมแข่งขัน เมื่อพระองค์เจ้าวิลาสรู้จึงสั่งให้คุณสุวรรณสอนคุณสุดอย่างสุดฝีมือ
เมื่อพระเจนอภิบาลได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นแม่กองปราบฝิ่นที่หัวเมืองปักษ์ใต้ ก่อนออกเดินทางจึงไปขอคำอวยพรปลอบขวัญจากคุณขำ และยังฝากผ้ายกเมืองนครมาให้อีกด้วย ซึ่งสร้างความไม่สบายใจให้ คุณสุดจนพระองค์เจ้าวิลาส ต้องเก็บผ้าผืนนี้ไว้ก่อนเพื่อให้คุณสุดได้ตั้งใจสอบอาลักษณ์หลวงให้ผ่านตามความมุ่งหวัง
การจากไปอย่างกะทันหันของอึ่งทำให้แม่เนียมไม่สบายใจถึงขั้นกินไม่ได้และนอนฝันร้ายทุกคืน ทุกคนในเรือนบ่าวเห็นอาการของแม่เนียมจึงเป็นห่วง จนยวงต้องตัดสินใจไปปรึกษาพระองค์เจ้าวิลาสเพื่อหาทางปลอบใจ
หลังจากพระเจนอภิบาลได้เบาะแสเรื่องพ่อค้าฝิ่นรายใหญ่ก็ได้นำกำลังตำรวจหลวงบุกไปจับเจ้าสัวเหลียงทันที แต่เจ้าสัวเหลียงไม่ยอมให้จับง่าย ๆ ทำให้เกิดการปะทะขึ้น ส่วนแม่แก้วหลบหนีไปกับชุ่ม ซึ่งสร้างความกังวลใจให้พระองค์เจ้าวิลาสอย่างมากเพราะเกรงแม่แก้วจะก่อเรื่องเดือดร้อนขึ้นอีก
สูตรเด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ กับเมนูเคยคั่วหอยไฟไหม้ดอง เมนูชวนข้าวหมดหม้อ อร่อยจนต้องขอเติม ติดตามได้ในรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ชมวิธีทำต่อได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/BanTung/episodes/104918
ถือว่าเป็นการเปิดประสบการณ์การดำน้ำในต่างประเทศครั้งแรกของ Navigator ทุกอย่างดูแปลกตาและตื่นเต้นมากๆ เพราะที่ Red Sea ของประเทศอียิปต์ เราจะได้มีโอกาสเจอสัตว์ใหญ่ใต้ท้องทะเลหลายชนิด โดยเฉพาะไฮไลท์ของที่นี่คือ ฉลามหัวค้อน นอกจากนี้การท่องเที่ยวบนบกของที่อียิปต์ยิ่งน่าสนใจโดยเฉพาะ ความยิ่งใหญ่ ของสิ่งก่อสร้างที่ชื่อว่า "พีระมิด"
หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพฯ เสด็จสวรรคต สร้างความโศกเศร้าให้ พระองค์เจ้าดาราวดี อย่างยิ่ง รวมถึง หม่อมขำ ก็ร้องไห้หนัก จน หม่อมสุด ต้องคอยปลอบใจ ระหว่างนั้น หม่อมสอน กับ หม่อมเภา ผ่านมาเห็น ก็ว่าหม่อมขำกับหม่อมสุดเป็นคู่เล่นเพื่อนกัน
คุณสุด ตัดสินใจไปกราบทูลขอประทานอนุญาตพระองค์เจ้าวิลาส เพื่ออยู่กินกับคุณขำดังเช่นคู่เล่นเพื่อนคู่อื่น ๆ ซึ่งทำให้พระองค์เจ้าวิลาสรวมถึงคุณสุวรรณพยายามดึงสติคุณสุดด้วยความเป็นห่วง
นุชนาฏ ได้งานเป็นผู้ช่วยเชฟในโรงเรียนสอนทําอาหารในโรงแรมชื่อดังเธอได้ร่วมงานกับหัวหน้าเชฟสุดเนี้ยบอย่าง ปกรณ์ ที่เป็นคนไทยเหมือนกันแต่กลับไม่เคยออมชอม...
ความรักเอย ... เจ้าลอยลมมาหรือไร .... มาดลจิต มาดลใจ เสน่หา เพลง : เสน่หา (เพลงประกอบละคร "จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี") คำร้อง : มนัส ปิติสานต์ เรียบเรียง : ณัฐพากย์ กวีธรรมวงษ์ ขับร้อง : จีรภัทร จันทร์แจ้ง ติดตามชมละคร #จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ตอนแรก วันที่ 1 – 2 มกราคมนี้ เวลา 20.15 - 21.10 น. ทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3 ▶ ชมสดออนไลน์ Website : www.thaipbs.or.th/Live Facebook : @ThaiPBS ▶ ชมอีกครั้งทาง Website : www.VIPA.me Application VIPA : https://bit.ly/3rJQ7HA
บทบาทใหม่ของ #ก๊อตจิรายุ และการร่วมงานกับไทยพีบีเอสครั้งแรก! แค่เปิดตัว "ปกรณ์" มาก็หล่อหนักมาก แฟน ๆ เตรียมกรี๊ดกันได้เลย พบกันในละคร #จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ละครรัก ย้อนประวัติศาสตร์
เบื้องหลังการผลิตละครหม่อมเป็ดสวรรค์นั้นมีความน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ทั้งวิธีคิดในการหยิบยกเอาเรื่องราวความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 3 ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถึงเรื่องราวที่มีต้นกำเนิดจาก บทประพันธ์เพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์เท่านั้นยังครอบคลุมถึงวิธีคิดในการสืบค้นข้อมูลจำนวนมากของเหล่าทีมงานเบื้องหลัง
ครูทองคำหลังจากแสดงในงานพระศพพระองค์เจ้าสังข์เสร็จก็ออกไปเป็นละครเร่ดังเดิม ยวงชวนปานไปเปิดหูเปิดตาที่ตลาด พอปริกรู้จึงขอตามไปด้วยเผื่อจะได้เจอกับมั่นพร้อมทั้งอาสาพาปานไปเที่ยววัดโพธิ์ด้วย ระหว่างที่ปริกแอบเลี่ยงไปหามั่น อึ่งสะกดรอยตามไปด้วยความหึงหวงและโกรธแค้นใจ
น้ำชุบ หรือที่คนทั่วไปรู้จักในกันว่าน้ำพริก เป็นอาหารรสชาติเผ็ดร้อน ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของคนใต้ได้เป็นอย่างดี ทุกพื้นที่ของภาคใต้ล้วนมีเมนูน้ำชุบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ แต่มีเพียงที่เดียวเท่านั้นที่ได้นำของเหลือทิ้งอย่างกะลามะพร้าว หรือพรก มาต่อยอดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ประจำชุมชนที่ชื่อว่า "น้ำชุบพรก"
เรื่องราวเริ่มบานปลายเมื่อ คุณสุด กับ คุณขำ มีเรื่องกับ แม่แก้ว และ ชุ่ม ที่ตลาด แม่แก้วเอาไปร้องเรียนกรมวังเพื่อเอาผิดคุณสุดกับคุณขำ เพราะทั้งคู่ทำผิดกฎมณเฑียรบาล ที่ว่าเป็นพวกเล่นเพื่อนกัน วุ่นวายถึงศาลหลวงต้องสั่งให้ตระลาการไต่สวนข้อเท็จจริงในคดีความนี้เป็นการด่วน
ระหว่างที่ "หม่อมขำ" กับ "หม่อมสุด" กำลังเตรียมอาหารอยู่ในครัวตามที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จาก พระองค์เจ้าดาราวดี ให้ดูแลเครื่องเสวยถวายเจ้านายในงานพระศพ หม่อมขำ ได้ทำการลองชิมให้ได้รสที่ถูกใจก่อนถวาย พอ "หม่อมแก้ว" เห็นก็ไม่พอใจที่ หม่อมขำ ตักอาหารกินก่อนเจ้านาย พยายามเอาเรื่องให้ถึงที่สุด
หลังจากคณะละครของครูทองคำได้รับมอบหมายให้แสดงในงานพระศพพระองค์เจ้าสังข์ ครูทองคำตั้งใจจะไปขออนุญาตนำนิทานคำกลอนของท่านสุนทรภู่มาใช้ในการแสดง แต่มีเหตุการณ์บางอย่างทำให้ครูทองคำได้ตัดสินใจจะออกจากพระนครอีกครั้ง
"พระองค์เจ้าวิลาส" เสด็จไปร่วมงานพระศพฯ "หม่อมขำ" ซึ่งทำหน้าที่ดูแลเครื่องเสวยก็ได้จัดเตรียมพระกระยาหารด้วยความกังวลเพราะกลัวจะไม่ถูกพระโอษฐ์พระองค์เจ้าวิลาส พอ "หม่อมสุด" เห็นก็เป็นห่วง จึงพยายามปลอบและให้กำลังใจ
หลังจาก "พระองค์เจ้าวิลาส" ได้ชิมและตัดสินการแข่งขันการทำแกงเนื้อของ "คุณขำ" กับ "แม่อึ่ง" ทั้งคู่ก็เริ่มเปิดใจให้กันมากขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ของคุณขำ กับคุณสุด ก็กำลังไปได้ด้วยดี
สถานการณ์โรคฝีดาษระบาดในสยามยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ส่งผลกระทบถึงคณะละครนอกของครูทองคำที่ต้องพาลูกน้องทั้งหมดเดินทางกลับเข้าพระนครเพื่อความปลอดภัย ในขณะเดียวกัน คุณขำที่ถูกจำสนมได้ล้มป่วยด้วยไข้หนัก พระองค์เจ้าวิลาสจึงมีรับสั่งให้ปล่อยตัวทั้งคุณขำและคุณสุดออกมา
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส