TREASURES DECODED S.3: Ep.5 SEARCH FOR THE HOLY GRAIL
ในปี 2014 “มาการ์ริต้า ตอร์เรส” นักประวัติศาสตร์ ค้นพบแผ่นจารึกภาษาอาหรับ 2 แผ่นซ่อนอยู่ในห้องสมุดอียิปต์แห่งหนึ่ง เอกสารที่บันทึกการเดินทางของ “ถ้วยพระเมสไซอาห์” จากเยรูซาเล็มไปถึงสเปนในปี 1055 ในฐานะของขวัญแด่กษัตริย์เฟอร์ดินานด์แห่งเลออน การตรวจสอบถ้วยประดับสวยงามที่เลออนซึ่งเคยเป็นของธิดากษัตริย์เฟอร์ดินานด์
ด้าน “จูเลี่ยน เฮนเดอร์สัน” นักโบราณคดี ได้พบว่าที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังทองคำหรูหรายุคกลางคือถ้วยหินโอนิกซ์เรียบ ๆ ตอร์เรสกล่าวว่าถ้วยโอนิกซ์นี้เคยใช้โดยพระเยซู ตอร์เรสพบหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้ในภาพวาดพระกระยาหารมื้อสุดท้ายในยุคกลางที่สั่งวาดโดยพระธิดากษัตริย์เฟอร์ดินานด์ แผ่นจารึกภาษาอาหรับมีคำบรรยายที่น่าสนใจมาก มันบอกว่าถ้วยนั้นมาถึงสเปนในสภาพชิ้นส่วนหนึ่งหายไป น่าตกใจที่ถ้วยแห่งเลออนก็มีลักษณะตรงกัน
แต่ถ้าถ้วยเลออนคือใบที่บรรยายไว้ในเอกสารอาหรับยุคกลาง ก็ยังมีคำถามว่ามันซ่อนอยู่ที่ไหนในช่วงหลายร้อยปีหลังพระเยซูสิ้นพระชมน์ราวปี 30 กับก่อนไปถึงสเปนในปี 1055 การสืบสวนของเรามองหาคำตอบในข้อความโบราณ ในซากปรักหักพังที่ถูกฝัง และในวัตถุที่อ้างว่าเป็นจอกศักดิ์สิทธิ์เอง
จากข้อความโบราณที่เกี่ยวข้องกับโบสถ์แห่งสุสานศักดิ์สิทธิ์ในเยรูซาเล็ม “โจน เทย์เล่อร์” นักประวัติศาสตร์ เผยว่าจอกนี้ตั้งแสดงอยู่เมื่อต้นศตวรรษที่ 9 เมื่อตรวจสอบกับบันทึกของนักแสวงบุญยุคต้น ๆ ที่ไปยังเยรูซาเล็ม เทย์เลอร์จึงสืบย้อนไปยังคำบรรยายแรกสุดของจอกในปี 570 เมื่อนักแสวงบุญบรรยายว่าจอกทำด้วยหินโอนิกซ์ สำหรับตอร์เรสแล้ว นี่คือหลักฐานชิ้นสุดท้ายที่จะยืนยันทฤษฎีของเธอที่ว่าถ้วยโอนิกซ์ที่เลออนคือใบเดียวกัน
แต่ก็เกิดคำถามว่าลูกชายช่างไม้ยากจนน่าจะใช้ถ้วยที่ทำจากหินกึ่งมีค่าอย่างโอนิกซ์หรือ ช่างหิน “มาร์คัส ฮิบเบิร์ด” เผยว่าจอกนี้จะมีค่าสูงแค่ไหนในยุค พระเยซู แต่ที่เยรูซาเล็ม “เจมส์ เทเบอร์” นักประวัติศาสตร์ ได้พบหลักฐานที่เสนอว่าพระเยซูเสวยอาหารมื้อสุดท้ายในบ้านสาวกผู้ร่ำรวย ซึ่งถ้วยโอนิกซ์อาจไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
ผู้เชี่ยวชาญของเราสืบย้อนเรื่องราวน่าทึ่งเบื้องหลังพระธาตุชิ้นสำคัญที่สุดของศาสนาคริสต์นี้ และสำรวจว่ามันกลายเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาที่ยืนยงที่สุดชิ้นหนึ่งในโลกได้อย่างไร
ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 23.00 - 00.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
TREASURES DECODED S.3: Ep.5 SEARCH FOR THE HOLY GRAIL
ในปี 2014 “มาการ์ริต้า ตอร์เรส” นักประวัติศาสตร์ ค้นพบแผ่นจารึกภาษาอาหรับ 2 แผ่นซ่อนอยู่ในห้องสมุดอียิปต์แห่งหนึ่ง เอกสารที่บันทึกการเดินทางของ “ถ้วยพระเมสไซอาห์” จากเยรูซาเล็มไปถึงสเปนในปี 1055 ในฐานะของขวัญแด่กษัตริย์เฟอร์ดินานด์แห่งเลออน การตรวจสอบถ้วยประดับสวยงามที่เลออนซึ่งเคยเป็นของธิดากษัตริย์เฟอร์ดินานด์
ด้าน “จูเลี่ยน เฮนเดอร์สัน” นักโบราณคดี ได้พบว่าที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังทองคำหรูหรายุคกลางคือถ้วยหินโอนิกซ์เรียบ ๆ ตอร์เรสกล่าวว่าถ้วยโอนิกซ์นี้เคยใช้โดยพระเยซู ตอร์เรสพบหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้ในภาพวาดพระกระยาหารมื้อสุดท้ายในยุคกลางที่สั่งวาดโดยพระธิดากษัตริย์เฟอร์ดินานด์ แผ่นจารึกภาษาอาหรับมีคำบรรยายที่น่าสนใจมาก มันบอกว่าถ้วยนั้นมาถึงสเปนในสภาพชิ้นส่วนหนึ่งหายไป น่าตกใจที่ถ้วยแห่งเลออนก็มีลักษณะตรงกัน
แต่ถ้าถ้วยเลออนคือใบที่บรรยายไว้ในเอกสารอาหรับยุคกลาง ก็ยังมีคำถามว่ามันซ่อนอยู่ที่ไหนในช่วงหลายร้อยปีหลังพระเยซูสิ้นพระชมน์ราวปี 30 กับก่อนไปถึงสเปนในปี 1055 การสืบสวนของเรามองหาคำตอบในข้อความโบราณ ในซากปรักหักพังที่ถูกฝัง และในวัตถุที่อ้างว่าเป็นจอกศักดิ์สิทธิ์เอง
จากข้อความโบราณที่เกี่ยวข้องกับโบสถ์แห่งสุสานศักดิ์สิทธิ์ในเยรูซาเล็ม “โจน เทย์เล่อร์” นักประวัติศาสตร์ เผยว่าจอกนี้ตั้งแสดงอยู่เมื่อต้นศตวรรษที่ 9 เมื่อตรวจสอบกับบันทึกของนักแสวงบุญยุคต้น ๆ ที่ไปยังเยรูซาเล็ม เทย์เลอร์จึงสืบย้อนไปยังคำบรรยายแรกสุดของจอกในปี 570 เมื่อนักแสวงบุญบรรยายว่าจอกทำด้วยหินโอนิกซ์ สำหรับตอร์เรสแล้ว นี่คือหลักฐานชิ้นสุดท้ายที่จะยืนยันทฤษฎีของเธอที่ว่าถ้วยโอนิกซ์ที่เลออนคือใบเดียวกัน
แต่ก็เกิดคำถามว่าลูกชายช่างไม้ยากจนน่าจะใช้ถ้วยที่ทำจากหินกึ่งมีค่าอย่างโอนิกซ์หรือ ช่างหิน “มาร์คัส ฮิบเบิร์ด” เผยว่าจอกนี้จะมีค่าสูงแค่ไหนในยุค พระเยซู แต่ที่เยรูซาเล็ม “เจมส์ เทเบอร์” นักประวัติศาสตร์ ได้พบหลักฐานที่เสนอว่าพระเยซูเสวยอาหารมื้อสุดท้ายในบ้านสาวกผู้ร่ำรวย ซึ่งถ้วยโอนิกซ์อาจไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
ผู้เชี่ยวชาญของเราสืบย้อนเรื่องราวน่าทึ่งเบื้องหลังพระธาตุชิ้นสำคัญที่สุดของศาสนาคริสต์นี้ และสำรวจว่ามันกลายเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาที่ยืนยงที่สุดชิ้นหนึ่งในโลกได้อย่างไร
ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 23.00 - 00.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live