# Nature's Treasure Islands – Ep.3 To the Ends of the Earth
ไปรู้จักดินแดนบริติชในมหาสมุทรอินเดีย นี่คือฐานทัพลับสุดยอดของอังกฤษและอเมริกา แต่ยังเป็นแหล่งอนุรักษ์ทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย เกาะส่วนใหญ่ของชากอสไม่เคยมีใครไปเยือนเลย และไม่เคยมีทีมถ่ายทำใดได้รับอนุญาตให้เข้าถึงมาก่อน สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพใต้ทะเลของแนวปะการังชากอส และพบว่ามีความหลากหลายพอๆ กับเกรทแบริเออร์รีฟ อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะมีเพียงส่วนน้อยของหมู่เกาะนี้เท่านั้นที่ได้รับการสำรวจครบถ้วน
ชากอสเป็นระบบใต้ทะเลใหญ่แห่งเดียวในโลกที่มีความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เพราะความที่เป็นฐานทัพ จึงไม่มีการท่องเที่ยว ไม่มีการประมง และไม่มีมลภาวะแม้แต่น้อย ไม่มีที่ใดในโลกเปรียบได้ หมู่เกาะนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ล้อมรอบด้วยอินเดีย เอเชีย และแอฟริกา รวมถึงประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลกหลายประเทศ ซึ่งมักจะเสี่ยงต่อนโยบายการประมงล้นเกิน และความสมบูรณ์ของชีวิตใต้ทะเล ชีวิตบนบกก็บริสุทธิ์เช่นกัน ชากอสเป็นที่สุดท้ายที่มีประชากรปูมะพร้าวโตเต็มที่ที่ไม่ถูกรบกวน สัตว์บกไม่มีกระดูกสันหลังที่หนักที่สุดในโลกนี้ปีนต้นไม้ไปเก็บมะพร้าว และฉีกกะลาได้ด้วยก้ามทรงพลังของมัน มันถูกล่าเป็นอาหารหาง่ายทุกที่ที่มันอยู่ตลอดเขตร้อน แต่อย่างน้อยที่ชากอส มันก็ปลอดภัยและน่าดูมาก
นอกชายฝั่งพิทแคร์น ชาวเกาะลงเรือเล็กมาหาเรือเอ็มวีเคลย์มอร์ทู และต้อนรับพิธีกรขึ้นฝั่งไปยังเมืองอดัมส์ทาวน์โดยลูกหลานของพวกกบฏบนเรือเองเลย เราได้รู้ว่าประเทศที่เล็กที่สุดในโลก มีผู้อาศัยเพียง 47 คน อยู่รอดมาได้อย่างไร อุตสาหกรรมที่นี่เล็กแต่หลากหลาย จากการจับกุ้งล็อบสเตอร์ไปถึงแลกเปลี่ยนสินค้ากับเรือที่ผ่านมา ไปถึงน้ำผึ้งที่บริสุทธิ์ที่สุดในโลกและการแกะสลักไม้
แล้วออกเรือไปยังหมู่เกาะโอเอโน เฮนเดอร์สัน ดูซี่ ซึ่งเป็นเกาะรอบนอกที่ไม่มีผู้คนอาศัยห่างพิทแคร์นไปไม่กี่ร้อยกิโลเมตร เรือยาวข้ามมหาสมุทรไปด้วยแรงลมเหมือนชาวโพลิเนเซียเมื่อหลายศตวรรษก่อน การเดินทางใช้เวลา 3 วัน และภายใต้หมู่ดาว เราครุ่นคิดถึงการเดินทางยุคต้นๆ ของชาวโพลีเนเซีย และผลกระทบจากมนุษย์ตลอดเวลาที่ผ่านมา
ไปสำรวจสัตว์ป่าบนเกาะเฮนเดอร์สันที่เป็นเอกลักษณ์ และได้เห็นว่าครั้งหนึ่งพิทแคร์นเคยเป็นอย่างไร แต่ชาวโพลินีเชียก็นำหนูโพลินีเชียเข้ามา และเกิดสถานการณ์คล้ายคลึงกับที่แอสเซนชั่นและเซนต์เฮเลน่า หนูพวกนี้สร้างความพินาศให้นกท้องถิ่น
ความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องสมัยใหม่ หรือเกิดขึ้นเพราะชาวยุโรปเป็นครั้งแรก แต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ติดต่อกับโลกธรรมชาติทุกครั้ง เราติดตามความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ของราชสมาคมอนุรักษ์นก ที่กวาดล้างหนูบนเกาะเฮนเดอร์สันไปจนหมด และดำเนินการต่อที่โอเอโน่และดูซี่ ซึ่งหนูไม่เคยไปถึง แต่ยิ่งมีเรือผ่านไปทางหมู่เกาะพิทแคร์นทุกปี และเรือบางลำก็แวะหยุดอย่างผิดกฎหมายและไม่มีมาตรการที่เหมาะสม การนำหนูหรือสัตว์อื่นๆ เข้าไปหรือกลับเข้าไปอย่างไม่ได้ตั้งใจก็ดูจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น เราจะดูแลไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้อย่างไร และไม่ให้การสูญพันธุ์ของนกที่แอสเซนชั่นและเซนต์เฮเลน่าไม่เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร
ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ ทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 23.00-24.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
# Nature's Treasure Islands – Ep.3 To the Ends of the Earth
ไปรู้จักดินแดนบริติชในมหาสมุทรอินเดีย นี่คือฐานทัพลับสุดยอดของอังกฤษและอเมริกา แต่ยังเป็นแหล่งอนุรักษ์ทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย เกาะส่วนใหญ่ของชากอสไม่เคยมีใครไปเยือนเลย และไม่เคยมีทีมถ่ายทำใดได้รับอนุญาตให้เข้าถึงมาก่อน สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพใต้ทะเลของแนวปะการังชากอส และพบว่ามีความหลากหลายพอๆ กับเกรทแบริเออร์รีฟ อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะมีเพียงส่วนน้อยของหมู่เกาะนี้เท่านั้นที่ได้รับการสำรวจครบถ้วน
ชากอสเป็นระบบใต้ทะเลใหญ่แห่งเดียวในโลกที่มีความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เพราะความที่เป็นฐานทัพ จึงไม่มีการท่องเที่ยว ไม่มีการประมง และไม่มีมลภาวะแม้แต่น้อย ไม่มีที่ใดในโลกเปรียบได้ หมู่เกาะนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ล้อมรอบด้วยอินเดีย เอเชีย และแอฟริกา รวมถึงประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลกหลายประเทศ ซึ่งมักจะเสี่ยงต่อนโยบายการประมงล้นเกิน และความสมบูรณ์ของชีวิตใต้ทะเล ชีวิตบนบกก็บริสุทธิ์เช่นกัน ชากอสเป็นที่สุดท้ายที่มีประชากรปูมะพร้าวโตเต็มที่ที่ไม่ถูกรบกวน สัตว์บกไม่มีกระดูกสันหลังที่หนักที่สุดในโลกนี้ปีนต้นไม้ไปเก็บมะพร้าว และฉีกกะลาได้ด้วยก้ามทรงพลังของมัน มันถูกล่าเป็นอาหารหาง่ายทุกที่ที่มันอยู่ตลอดเขตร้อน แต่อย่างน้อยที่ชากอส มันก็ปลอดภัยและน่าดูมาก
นอกชายฝั่งพิทแคร์น ชาวเกาะลงเรือเล็กมาหาเรือเอ็มวีเคลย์มอร์ทู และต้อนรับพิธีกรขึ้นฝั่งไปยังเมืองอดัมส์ทาวน์โดยลูกหลานของพวกกบฏบนเรือเองเลย เราได้รู้ว่าประเทศที่เล็กที่สุดในโลก มีผู้อาศัยเพียง 47 คน อยู่รอดมาได้อย่างไร อุตสาหกรรมที่นี่เล็กแต่หลากหลาย จากการจับกุ้งล็อบสเตอร์ไปถึงแลกเปลี่ยนสินค้ากับเรือที่ผ่านมา ไปถึงน้ำผึ้งที่บริสุทธิ์ที่สุดในโลกและการแกะสลักไม้
แล้วออกเรือไปยังหมู่เกาะโอเอโน เฮนเดอร์สัน ดูซี่ ซึ่งเป็นเกาะรอบนอกที่ไม่มีผู้คนอาศัยห่างพิทแคร์นไปไม่กี่ร้อยกิโลเมตร เรือยาวข้ามมหาสมุทรไปด้วยแรงลมเหมือนชาวโพลิเนเซียเมื่อหลายศตวรรษก่อน การเดินทางใช้เวลา 3 วัน และภายใต้หมู่ดาว เราครุ่นคิดถึงการเดินทางยุคต้นๆ ของชาวโพลีเนเซีย และผลกระทบจากมนุษย์ตลอดเวลาที่ผ่านมา
ไปสำรวจสัตว์ป่าบนเกาะเฮนเดอร์สันที่เป็นเอกลักษณ์ และได้เห็นว่าครั้งหนึ่งพิทแคร์นเคยเป็นอย่างไร แต่ชาวโพลินีเชียก็นำหนูโพลินีเชียเข้ามา และเกิดสถานการณ์คล้ายคลึงกับที่แอสเซนชั่นและเซนต์เฮเลน่า หนูพวกนี้สร้างความพินาศให้นกท้องถิ่น
ความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องสมัยใหม่ หรือเกิดขึ้นเพราะชาวยุโรปเป็นครั้งแรก แต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ติดต่อกับโลกธรรมชาติทุกครั้ง เราติดตามความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ของราชสมาคมอนุรักษ์นก ที่กวาดล้างหนูบนเกาะเฮนเดอร์สันไปจนหมด และดำเนินการต่อที่โอเอโน่และดูซี่ ซึ่งหนูไม่เคยไปถึง แต่ยิ่งมีเรือผ่านไปทางหมู่เกาะพิทแคร์นทุกปี และเรือบางลำก็แวะหยุดอย่างผิดกฎหมายและไม่มีมาตรการที่เหมาะสม การนำหนูหรือสัตว์อื่นๆ เข้าไปหรือกลับเข้าไปอย่างไม่ได้ตั้งใจก็ดูจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น เราจะดูแลไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้อย่างไร และไม่ให้การสูญพันธุ์ของนกที่แอสเซนชั่นและเซนต์เฮเลน่าไม่เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร
ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ ทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 23.00-24.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live