ข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่า ปัญหาหนึ่งของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือ ถึงแม้จะรักษาหายขาดแล้ว แต่ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำถึง 70 % อะไรจะเป็นแนวทางการรักษาที่ยั่งยืนได้ ในต่างประเทศได้นำการเจริญสติแบบพุทธ มาประยุกต์ใช้รักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพื่อป้องกันกลับมาเป็นซ้ำอย่างได้ผล
ส่วนในประเทศไทย กรมสุขภาพจิตได้นำแนวทางสติบำบัดมารักษาผู้ป่วยแล้วกว่า 4 ปี สติบำบัดแบบที่กรมสุขภาพจิตนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แตกต่างจากการฝึกสติที่วัดหรือไม่ อย่างไรการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยยา กับการรักษาด้วยสติบำบัด เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร ทำไมการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันอย่างเดียว จึงไม่เพียงพอ
ติดตามมิ้นท์ มณฑล กสานติกุล พูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แพทย์ และพยาบาลผู้นำแนวทางสติบำบัดมารักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในไทย
ติดตามชมรายการพื้นที่ชีวิต วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 เวลา 22.00 - 22.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่า ปัญหาหนึ่งของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือ ถึงแม้จะรักษาหายขาดแล้ว แต่ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำถึง 70 % อะไรจะเป็นแนวทางการรักษาที่ยั่งยืนได้ ในต่างประเทศได้นำการเจริญสติแบบพุทธ มาประยุกต์ใช้รักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพื่อป้องกันกลับมาเป็นซ้ำอย่างได้ผล
ส่วนในประเทศไทย กรมสุขภาพจิตได้นำแนวทางสติบำบัดมารักษาผู้ป่วยแล้วกว่า 4 ปี สติบำบัดแบบที่กรมสุขภาพจิตนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แตกต่างจากการฝึกสติที่วัดหรือไม่ อย่างไรการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยยา กับการรักษาด้วยสติบำบัด เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร ทำไมการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันอย่างเดียว จึงไม่เพียงพอ
ติดตามมิ้นท์ มณฑล กสานติกุล พูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แพทย์ และพยาบาลผู้นำแนวทางสติบำบัดมารักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในไทย
ติดตามชมรายการพื้นที่ชีวิต วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 เวลา 22.00 - 22.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live