เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2529 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ทางตอนเหนือของยูเครน ได้เกิดระเบิดขึ้น หลังการทดลองผิดพลาด มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า เจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิตจำนวน 31 คน
แต่ปัญหาการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ยังคงสร้างผลกระทบมาจนถึงทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การระเบิดของเชอร์โนบิลทำให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิถึง 200 เท่า นับเป็นหายนะภัยจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งรุนแรงที่สุดในโลก
หลังการปิดตายมาอย่างยาวนาน ในที่สุดรัฐบาลยูเครนได้เปิดพื้นที่ดังกล่าวให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมความเสียหาย เวลา 26 ปีที่ผ่านมา พื้นที่แห่งนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เราเรียนรู้อะไรได้บ้างจากเหตุการณ์ครั้งนี้
ติดตามชมรายการพื้นที่ชีวิต วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2529 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ทางตอนเหนือของยูเครน ได้เกิดระเบิดขึ้น หลังการทดลองผิดพลาด มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า เจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิตจำนวน 31 คน
แต่ปัญหาการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ยังคงสร้างผลกระทบมาจนถึงทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การระเบิดของเชอร์โนบิลทำให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิถึง 200 เท่า นับเป็นหายนะภัยจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งรุนแรงที่สุดในโลก
หลังการปิดตายมาอย่างยาวนาน ในที่สุดรัฐบาลยูเครนได้เปิดพื้นที่ดังกล่าวให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมความเสียหาย เวลา 26 ปีที่ผ่านมา พื้นที่แห่งนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เราเรียนรู้อะไรได้บ้างจากเหตุการณ์ครั้งนี้
ติดตามชมรายการพื้นที่ชีวิต วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live