“แม็กซิม กอร์กี" เป็นนามปากกาของ “อเลกเซ แมกซิโมวิช เพสคอฟ" เป็นลูกของช่างทำเบาะเก้าอี้จนๆ ซึ่งเสียชีวิตไปตั้งแต่กอร์กี้อายุเพียงแค่ 5 ขวบเท่านั้นความยากจนทำให้ “กอร์กี" ต้องเลิกเรียนหนังสือตั้งแต่อายุ 10 ขวบ และเริ่มทำงานรับจ้างเล็กๆน้อยๆ เพื่อหาเงินยังชีพ พอเป็นหนุ่มก็เขาออกเดินทางไปยังเมืองต่างๆทำให้มีโอกาสเรียนรู้ชีวิตของคนยากไร้ ระหว่างนั้นเขาเริ่มสนใจอ่านหนังสือของนักประพันธ์เอกชาติต่างๆอย่างจริงจัง และเริ่มเขียนงานของตัวเองจากประสบการณ์ชีวิตอันเข้มข้น งานเขียนของกอร์กี้ซึ่งสะท้อนชีวิตอันยากลำบากของผู้คน ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ไม่นานชื่อของเขาก็เป็นที่รู้จักไม่แพ้ตอลสตอยและเชคอฟ นักประพันธ์เอกของรัสเซียในขณะนั้น ลักษณะเด่นอย่างยิ่งของวรรณกรรมเรื่อง “แม่" ก็คือ ถึงแม้เนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้นที่เคร่งเครียด แต่กอร์กียังสามารถสอดแทรกมิติของความเป็นมนุษย์ให้กับตัวละครได้อย่างกลมกลืน ตลอดเวลาที่อ่านเราจะรับรู้ได้ถึงความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ และความอบอุ่นอ่อนโยนในความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก อาจเพราะนักสังคมนิยมอย่างกอร์กีเห็นว่า ในการสร้างสรรค์สังคมใหม่ สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกก็คือ “มนุษย์" เพราะหากมองข้ามความสำคัญของมนุษย์ที่มีชีวิตเลือดเนื้อเสียแล้ว ระบบเศรษฐกิจ การเมือง หรือแม้แต่ศาสนา แม้จะตั้งต้นจากความปรารถนาดีเพียงใด แต่สุดท้ายก็อาจกลายเป็นโครงสร้างอันกดทับเพิ่มความทุกข์ยากให้แก่มนุษย์ได้ด้วยกันทั้งสิ้น
ติดตามชมรายการ พื้นที่ชีวิต ชุด วรรณกรรมแห่งเสรีภาพ ตอน แม่ วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2558 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส และรับชมออนไลน์ได้ที่ www.thaipbs.or.th/live
“แม็กซิม กอร์กี" เป็นนามปากกาของ “อเลกเซ แมกซิโมวิช เพสคอฟ" เป็นลูกของช่างทำเบาะเก้าอี้จนๆ ซึ่งเสียชีวิตไปตั้งแต่กอร์กี้อายุเพียงแค่ 5 ขวบเท่านั้นความยากจนทำให้ “กอร์กี" ต้องเลิกเรียนหนังสือตั้งแต่อายุ 10 ขวบ และเริ่มทำงานรับจ้างเล็กๆน้อยๆ เพื่อหาเงินยังชีพ พอเป็นหนุ่มก็เขาออกเดินทางไปยังเมืองต่างๆทำให้มีโอกาสเรียนรู้ชีวิตของคนยากไร้ ระหว่างนั้นเขาเริ่มสนใจอ่านหนังสือของนักประพันธ์เอกชาติต่างๆอย่างจริงจัง และเริ่มเขียนงานของตัวเองจากประสบการณ์ชีวิตอันเข้มข้น งานเขียนของกอร์กี้ซึ่งสะท้อนชีวิตอันยากลำบากของผู้คน ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ไม่นานชื่อของเขาก็เป็นที่รู้จักไม่แพ้ตอลสตอยและเชคอฟ นักประพันธ์เอกของรัสเซียในขณะนั้น ลักษณะเด่นอย่างยิ่งของวรรณกรรมเรื่อง “แม่" ก็คือ ถึงแม้เนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้นที่เคร่งเครียด แต่กอร์กียังสามารถสอดแทรกมิติของความเป็นมนุษย์ให้กับตัวละครได้อย่างกลมกลืน ตลอดเวลาที่อ่านเราจะรับรู้ได้ถึงความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ และความอบอุ่นอ่อนโยนในความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก อาจเพราะนักสังคมนิยมอย่างกอร์กีเห็นว่า ในการสร้างสรรค์สังคมใหม่ สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกก็คือ “มนุษย์" เพราะหากมองข้ามความสำคัญของมนุษย์ที่มีชีวิตเลือดเนื้อเสียแล้ว ระบบเศรษฐกิจ การเมือง หรือแม้แต่ศาสนา แม้จะตั้งต้นจากความปรารถนาดีเพียงใด แต่สุดท้ายก็อาจกลายเป็นโครงสร้างอันกดทับเพิ่มความทุกข์ยากให้แก่มนุษย์ได้ด้วยกันทั้งสิ้น
ติดตามชมรายการ พื้นที่ชีวิต ชุด วรรณกรรมแห่งเสรีภาพ ตอน แม่ วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2558 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส และรับชมออนไลน์ได้ที่ www.thaipbs.or.th/live