อาการเบาหวานลงเท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจเพราะไม่ดูแลตัวเองตามที่แพทย์แนะนำ หรือร่างกายตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งหากละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้อาการเบาหวานลงเท้ารุนแรงจนอาจถูกตัดขาหรือเท้าอย่างถาวรได้ การดูแลสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานจึงสำคัญไม่แพ้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะการเกิดแผลขนาดเล็กก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อและเกิดแผลลุกลามได้ ติดตามความรู้จาก พญ.พรทิพย์ ธีระวิทย์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
อาการยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง ที่มักจะเกิดอาการปวดหลัง โดยสาเหตุอาจจะเกิดมาจากการนั่งไม่ถูกต้อง หรือนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานจนกล้ามเนื้อเกิดความตึงตัว และอาจตามมาด้วยอาการปวดคอ บ่า หรือปวดขาได้ มาฝึกท่าบริหารปรับป้องกันอาการปวดหลังหรือปวดกล้ามเนื้อ กับ ชไมพร ชารี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
การนอนหลับที่ได้คุณภาพหรือการนอนหลับที่ดี คือ จำนวนเวลานอนควรสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการนอน คนเราควรนอนอย่างน้อย 7 ชั่วโมง ต้องหลับสนิทไม่มีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ท่านอนที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายนอนหลับได้เต็มอิ่ม และหลับสนิทตลอดคืนมากขึ้น เพราะร่างกายอยู่ในท่าที่ถูกต้อง ไม่มีการกดทับส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป ทั้งนี้ การนอนหลับที่เต็มอิ่มและมีคุณภาพยังช่วยให้ร่างกายมีเวลาซ่อมแซมตัวเองและปรับฮอร์โมนให้สมดุลอีกด้วย ร่วมเรียนรู้การปรับท่านอนเพื่อการนอนหลับให้สบาย ติดตามความรู้จาก กภ.สรไกร คุณานุสรณ์ชัย นักกายภาพบำบัด
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
อาการเบาหวานลงเท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจเพราะไม่ดูแลตัวเองตามที่แพทย์แนะนำ หรือร่างกายตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งหากละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้อาการเบาหวานลงเท้ารุนแรงจนอาจถูกตัดขาหรือเท้าอย่างถาวรได้ การดูแลสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานจึงสำคัญไม่แพ้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะการเกิดแผลขนาดเล็กก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อและเกิดแผลลุกลามได้ ติดตามความรู้จาก พญ.พรทิพย์ ธีระวิทย์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
อาการยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง ที่มักจะเกิดอาการปวดหลัง โดยสาเหตุอาจจะเกิดมาจากการนั่งไม่ถูกต้อง หรือนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานจนกล้ามเนื้อเกิดความตึงตัว และอาจตามมาด้วยอาการปวดคอ บ่า หรือปวดขาได้ มาฝึกท่าบริหารปรับป้องกันอาการปวดหลังหรือปวดกล้ามเนื้อ กับ ชไมพร ชารี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
การนอนหลับที่ได้คุณภาพหรือการนอนหลับที่ดี คือ จำนวนเวลานอนควรสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการนอน คนเราควรนอนอย่างน้อย 7 ชั่วโมง ต้องหลับสนิทไม่มีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ท่านอนที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายนอนหลับได้เต็มอิ่ม และหลับสนิทตลอดคืนมากขึ้น เพราะร่างกายอยู่ในท่าที่ถูกต้อง ไม่มีการกดทับส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป ทั้งนี้ การนอนหลับที่เต็มอิ่มและมีคุณภาพยังช่วยให้ร่างกายมีเวลาซ่อมแซมตัวเองและปรับฮอร์โมนให้สมดุลอีกด้วย ร่วมเรียนรู้การปรับท่านอนเพื่อการนอนหลับให้สบาย ติดตามความรู้จาก กภ.สรไกร คุณานุสรณ์ชัย นักกายภาพบำบัด
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live