ปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดขึ้นได้กับผู้ชายในทุกช่วงวัย แต่ก็มักจะพบมากขึ้นตามอายุทิ่เพิ่มขึ้น โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายเกิดขึ้นได้จาก ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ หรือ สภาวะที่มีผลกระทบต่อสมอง เช่น อาการซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท การใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาระงับประสาท ยาต้านการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด และแอลกอฮอล์ วิธีการรักษาเริ่มด้วยการที่ต้องรักษาโรคประจำตัว เช่น ควบคุมน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด และความดันโลหิต งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการลดน้ำหนัก ขณะที่ในผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายสามารถรักษาโดยการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน รวมถึงปรึกษาจิตแพทย์ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางภาวะจิตใจ ติดตามความรู้จาก นพ.วิชญะ ปริพัฒนานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ รพ.จุฬาภรณ์
นวดขิดเส้น ภูมิปัญญาการจับเส้นศาสตร์ที่มีประวัติและเรื่องราวสืบทอดกันมาช้านาน มีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการใช้นิ้วหัวแม่มือกดบนเส้นด้านหนึ่ง แล้วใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง กดรับอีกด้านหนึ่งเพื่อเขี่ยตวัดตามแนวเส้น ทำให้เส้นคลายอ่อนตัว รู้สึกสบาย หายปวด ติดตามความรู้จาก รสธร ตราชู ไชยะกุล เจ้าของสปา จ.ขอนแก่น
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Liveปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดขึ้นได้กับผู้ชายในทุกช่วงวัย แต่ก็มักจะพบมากขึ้นตามอายุทิ่เพิ่มขึ้น โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายเกิดขึ้นได้จาก ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ หรือ สภาวะที่มีผลกระทบต่อสมอง เช่น อาการซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท การใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาระงับประสาท ยาต้านการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด และแอลกอฮอล์ วิธีการรักษาเริ่มด้วยการที่ต้องรักษาโรคประจำตัว เช่น ควบคุมน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด และความดันโลหิต งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการลดน้ำหนัก ขณะที่ในผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายสามารถรักษาโดยการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน รวมถึงปรึกษาจิตแพทย์ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางภาวะจิตใจ ติดตามความรู้จาก นพ.วิชญะ ปริพัฒนานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ รพ.จุฬาภรณ์
นวดขิดเส้น ภูมิปัญญาการจับเส้นศาสตร์ที่มีประวัติและเรื่องราวสืบทอดกันมาช้านาน มีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการใช้นิ้วหัวแม่มือกดบนเส้นด้านหนึ่ง แล้วใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง กดรับอีกด้านหนึ่งเพื่อเขี่ยตวัดตามแนวเส้น ทำให้เส้นคลายอ่อนตัว รู้สึกสบาย หายปวด ติดตามความรู้จาก รสธร ตราชู ไชยะกุล เจ้าของสปา จ.ขอนแก่น
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live