อาการไอเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นภาวะภูมิแพ้ กรดไหลย้อน ภาวะน้ำมูกไหลลงคอ หรือการรับประทานยาลดความดันโลหิต อาการไอเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจอาการไอที่ควรรีบพบแพทย์ คือ ไอนานเกินไป ไอมีเลือดปน ไอแล้วมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ เหนื่อยหอบ ติดตามความรู้ในการสังเกตอาการของตัวเองพร้อมกับการเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการไอจาก นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย
มาฝึก 5 ท่าบริหารแก้อาการปวดคอสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางนาน ๆ ไม่ว่าจะเดินทางโดยเครื่องบิน รถยนต์ รถโดยสาร เมื่อมีการเดินทางที่ใช้เวลานานคนส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นเรื่องของการนอนซึ่งมักหลับในลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นสาเหตุให้ปวดเมื่อยบริเวณคอ บางคนมีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่บริเวณคอ บ่า ไหล่ ร้าวไปถึงหลัง เนื่องจากกล้ามเนื้อคอเชื่อมโยงไปถึงกระดูกสะบัก บ่า ไหล่ ฐานศีรษะ เสี่ยงปวดหัว ปวดเบ้าตา เราสามารถป้องกันได้โดยการสร้างความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก่อนออกเดินทาง ติดตามความรู้จาก อ. กภ.ธนยศ สกุลกรุณา คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
อาการไอเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นภาวะภูมิแพ้ กรดไหลย้อน ภาวะน้ำมูกไหลลงคอ หรือการรับประทานยาลดความดันโลหิต อาการไอเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจอาการไอที่ควรรีบพบแพทย์ คือ ไอนานเกินไป ไอมีเลือดปน ไอแล้วมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ เหนื่อยหอบ ติดตามความรู้ในการสังเกตอาการของตัวเองพร้อมกับการเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการไอจาก นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย
มาฝึก 5 ท่าบริหารแก้อาการปวดคอสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางนาน ๆ ไม่ว่าจะเดินทางโดยเครื่องบิน รถยนต์ รถโดยสาร เมื่อมีการเดินทางที่ใช้เวลานานคนส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นเรื่องของการนอนซึ่งมักหลับในลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นสาเหตุให้ปวดเมื่อยบริเวณคอ บางคนมีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่บริเวณคอ บ่า ไหล่ ร้าวไปถึงหลัง เนื่องจากกล้ามเนื้อคอเชื่อมโยงไปถึงกระดูกสะบัก บ่า ไหล่ ฐานศีรษะ เสี่ยงปวดหัว ปวดเบ้าตา เราสามารถป้องกันได้โดยการสร้างความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก่อนออกเดินทาง ติดตามความรู้จาก อ. กภ.ธนยศ สกุลกรุณา คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live