ขนตาปลอมความสวยงามที่มาพร้อมกับความเสี่ยงโรคตากุ้งยิง เนื่องจากเมื่อมีการติดขนตาปลอม หรือการต่อขนตาสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะทำให้บริเวณเปลือกตาถูกรบกวน หากเราทำความสะอาดไม่ดีจะส่งผลให้เกิดการอุดตันบริเวณต่อมไขมัน หรือติดเชื้อแบคทีเรียได้ ซึ่งหากมีอาการตากุ้งยิงที่ไม่ติดเชื้อแบคทีเรียเป็นแค่ต่อมไขมันอุดตัน สามารถลดอาการและหายเองได้ด้วยการประคบอุ่น แต่ถ้าไม่รีบรักษาปล่อยทิ้งไว้ระยะยาวจนเกิดเป็นตากุ้งยิงมีก้อนแข็ง อาจเสี่ยงให้เปลือกตามีขนาดไม่เท่ากัน ติดตามความรู้จาก พญ.ศศิ ใหญ่สว่าง จักษุเฉพาะทางกระจกตาและการแก้ไขสายตา
จุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายเรารวมกันแล้วมากกว่า 100 ล้านล้านเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ระบบทางเดินอาหารรวมไปถึงอวัยวะสืบพันธุ์ จุลินทรีย์จึงมีบทบาทสำคัญมากกับร่างกายโดยเฉพาะสมดุลจุลินทรีย์ที่ลำไส้ ซึ่งจุลินทรีย์ที่ดีอย่างโพรไบโอติกส์ยิ่งมีมากเท่ากับว่าสมดุลจุลินทรีย์ที่ลำไส้เรายังดีอยู่ แต่หากสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่ดีอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเรามีเชื้อก่อโรค เช่น ไวรัส เชื้อรา ยีสต์บางชนิด นอกจากนี้สมดุลจุลินทรีย์ไม่ดีเกี่ยวเนื่องไปถึงการเกิดนิ่วได้ เมื่อไรก็ตามที่โพรไบติกส์น้อยแต่เชื้ออีโคไล (E.coli) เยอะ เชื้อตัวนี้จะเปลี่ยนจากวิตามินซีที่เรากินเข้าไปโดยเฉพาะอาหารเสริม มันจะทำหน้าที่สลายวิตามินซีทำให้เกิดกรดออกซาเลต (Oxalate) ที่จะไปจับกับแคลเซียมทำให้ตกตะกอนก่อเกิดนิ่วขึ้น สิ่งสำคัญในการป้องกันคือการเลือกรับประทานอาหาร ติดตามความรู้จาก ผศ. ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ขนตาปลอมความสวยงามที่มาพร้อมกับความเสี่ยงโรคตากุ้งยิง เนื่องจากเมื่อมีการติดขนตาปลอม หรือการต่อขนตาสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะทำให้บริเวณเปลือกตาถูกรบกวน หากเราทำความสะอาดไม่ดีจะส่งผลให้เกิดการอุดตันบริเวณต่อมไขมัน หรือติดเชื้อแบคทีเรียได้ ซึ่งหากมีอาการตากุ้งยิงที่ไม่ติดเชื้อแบคทีเรียเป็นแค่ต่อมไขมันอุดตัน สามารถลดอาการและหายเองได้ด้วยการประคบอุ่น แต่ถ้าไม่รีบรักษาปล่อยทิ้งไว้ระยะยาวจนเกิดเป็นตากุ้งยิงมีก้อนแข็ง อาจเสี่ยงให้เปลือกตามีขนาดไม่เท่ากัน ติดตามความรู้จาก พญ.ศศิ ใหญ่สว่าง จักษุเฉพาะทางกระจกตาและการแก้ไขสายตา
จุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายเรารวมกันแล้วมากกว่า 100 ล้านล้านเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ระบบทางเดินอาหารรวมไปถึงอวัยวะสืบพันธุ์ จุลินทรีย์จึงมีบทบาทสำคัญมากกับร่างกายโดยเฉพาะสมดุลจุลินทรีย์ที่ลำไส้ ซึ่งจุลินทรีย์ที่ดีอย่างโพรไบโอติกส์ยิ่งมีมากเท่ากับว่าสมดุลจุลินทรีย์ที่ลำไส้เรายังดีอยู่ แต่หากสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่ดีอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเรามีเชื้อก่อโรค เช่น ไวรัส เชื้อรา ยีสต์บางชนิด นอกจากนี้สมดุลจุลินทรีย์ไม่ดีเกี่ยวเนื่องไปถึงการเกิดนิ่วได้ เมื่อไรก็ตามที่โพรไบติกส์น้อยแต่เชื้ออีโคไล (E.coli) เยอะ เชื้อตัวนี้จะเปลี่ยนจากวิตามินซีที่เรากินเข้าไปโดยเฉพาะอาหารเสริม มันจะทำหน้าที่สลายวิตามินซีทำให้เกิดกรดออกซาเลต (Oxalate) ที่จะไปจับกับแคลเซียมทำให้ตกตะกอนก่อเกิดนิ่วขึ้น สิ่งสำคัญในการป้องกันคือการเลือกรับประทานอาหาร ติดตามความรู้จาก ผศ. ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live